วันที่ 21 ธ.ค. คณะรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ทวิดา กมลเวชช ,วิศณุ ทรัพย์สมพล ,จักกพันธุ์ ผิวงาม ,ศานนท์ หวังสร้างบุญ แถลงผลการทำงานในรอบครึ่งปี (6 เดือนที่ผ่านมา) หลังเข้ารับตำแหน่ง รวมถึงความคืบหน้าและทิศการการดำเนินงานในปี 2566 ของ กทม.เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมย์ "กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่"
วิศณุ รองผู้ว่าฯดูแลงานด้านโครงสร้างพื้นฐาน กล่าวถึงปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ กทม.ช่วงที่ผ่านมา ว่า ปริมาณน้ำฝนตกปีนี้เยอะขึ้น กทม.มักมีจุดน้ำท่วมประจำประมาณ 661 จุด ดังนั้นทำงานของ กทม.ตั้งแต่เข้ามา ต้องปรับเปลี่ยนพัฒนา อาทิ การลอกท่อ-ขุดลอกคูคลอง 159 กิโลเมตร รวมถึงปรับปรุงสถานีสูบน้ำและอุโมงค์ระบายน้ำจุดต่างๆ ซึ่งคาดว่าจากที่ดำเนินการมาสถานการณ์การระบายน้ำใน กทม.จะดีขึ้น
ส่วนการปรับปรุงทางเท้าจากนโยบายตั้งเป้าหมาย 1,000 กิโลเมตร 6 เดือนที่ผ่านมาทำไปแล้ว 150 กิโลฯ ปีหน้าคาดว่าจะทำอีก 250 กิโลฯ ส่วนการปรับปรุงทางเท้าหรับวิ่งเป้าหมายคือ 500 กิโลฯ โดย 6 เดือนทำไปแล้ว 2 เส้นระยะทางกว่า 20 กิโลฯ และปี 66 จะเพิ่มอีก 10 เส้นทางรวมระยะทาง 100 กิโลฯ
ขณะที่การจัดระเบียบสายสื่อสารลงดิน ปี 65 จัดเก็บไปแล้ว 161.56 กิโลฯ ใน 32 เส้นทาง โดยปี 66 จะดำเนินการให้ถึง 442.62 กิโลฯ
ส่วนเรื่องแก้ปัญหารถติดที่ถือเป็นปัญหาของคนกรุงเทพซ้ำซาก จากที่ได้ดำเนินการวิเคราะห์ด้วยเทคโนโลยีและข้อมูลของสำนักงานเขตต่างๆ จะนำมาดำเนินการแก้ไข อาทิ กวดขันวินัยจราจร แก้ตามหลักวิศวกรและนำเทคโนโลยีมาร่วมด้วย ควบคู่ไปกับการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งจะดำเนินการในขั้นต่อไป
ส่วนการป้องกันแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นของ กทม. นั้น รองผู้ว่าฯวิศณุ เชื่อว่า เมื่อการดำเนินโครงการต่างๆ มีขั้นตอนการจัดซื้อจ้างที่เข้มงวด ประกอบกับระบบการทำงานเน้นทำในระบบออนไลน์ก็จะช่วยทำให้การทุจริตคอรัปชั่นลดลง
ขณะที่การทำงานของบริษัท กรุงเทพธนาคมฯ 6 เดือนที่ผ่านมา วิศณุ กล่าวว่า ที่ผ่านมาการเข้าถึงข้อมูลอาจเข้าถึงยาก แต่การทำงานของผู้บริหารชุดนี้ที่ผ่านมาที่ได้มีการดำเนินการบันทึกบัญชีแบบมหาชนจึงทำให้มีความโปร่งใสมากขึ้น เพราะเราต้องเปิดเผยข้อมูลให้อยู่ในระบบมาตราฐาน ส่วนเรื่องการจะซื้อจะจ้างก็ต้องมีการออกระเบียบให้โปร่งใสและชัดเจนขึ้น ส่วนเรื่องค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนขยาย กรุงเทพธนาคมฯ ยังไม่ได้รับมอบจากกระทรวงคมนาคม แต่อย่างไรระหว่างนี้เราก็กำลังดำเนินการศึกษาในเรื่องนี้อยู่เพื่อให้มีความเหมาะสม
ขณะที่ จักกพันธุ์ รองผู้ว่าฯ ดูแลงานจัดระเบียบและฝุ่นละออง กล่าวว่า ปัญหาฝุ่นเป็นอีกนโยบายหลักของผู้ว่าฯชัชชาติ ซึ่งหลังจากที่เข้ามาทำงานได้มีการวาง 16 มาตรการ โดยที่ผ่านมามีการตรวจสาเหตุและพบว่าในพื้นที่ กทม.มีโรงงานและไซต์งานก่อสร้างกว่า 1,900 แห่ง รวมถึงมีรถสาธารณะและรถบรรทุกวิ่งกว่า 58,711 คัน ดังนั้นจึงดำเนินการตรวจสอบแก้ไขโดยสั่งห้ามใช้ที่ไม่ได้มาตรฐานไป 1,020 คัน และสั่งให้โรงงาน ไซด์งานก่อสร้างกว่า 41 แห่งดำเนินการปรับปรุงเพื่อแก้ปัญหาเรื่องฝุ่น กทม. ทั้งนี้การดำเนินการต่างๆ กทม.ไม่สามารถดำเนินการได้เพียงหน่วยงานเดียว แต่ต้องร่วมมือกับอีกหลายหน่วยงานเพื่อให้ค่าฝุ่น PM.2.5 ใน กทม.ไม่เกินค่ามาตรฐานที่ 50 ไมโครกรัม
ขณะที่การดำเนินการปรับปรุงสวนสาธารณะ 6 เดือนที่ผ่านมา ดำเนินการแล้ว 13 แห่ง ส่วนหาบเร่แผงลอยในพื้นที่ทั้ง 50 เขต กทม.มีจุดผ่อนผัน 95 จุดมีผู้ค่ากว่า 4 พันราย และยังมีอยู่นอกจุดผ่อนผันอีก 618 จุด ผู้ค่าเกือบ 1.4 หมื่นราย ดังนั้นการจัดระเบียบผู้ค้าหาบเร่แผงลอย กทม.จะพยายามพยามเข้าไปดูแลร่วมกับผู้ค้าในพื้นที่ ซึ่งที่ผ่านมาก็สามารถดำเนินการจัดระเบียบได้ดีขึ้น
ส่วนการป้องกันแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นของ กทม. นั้น จักกพันธุ์ ระบุว่า จากที่นโยบายต่างๆของผู้ว่าชัชชาติ มีความเข้มงวดมากขึ้น จึงเชื่อว่าเมื่อหัวหน้าไม่ทำ จึงทำให้ระดับรองจากนี้ก็คงไม่มี
ทวิดา รองผู้ว่าฯ ดูแลงานด้านคุณภาพชีวิต กล่าวว่า ความต่างของแผนพัฒนาของยุคผู้ว่าฯชัชชัชาติ ต่างกับแผนพัฒนาในอดีตประมาณ 60-70 % สำหรับการดูแลคนพิการ กทม.สนับสนุนงานคนพิการแล้ว 323 คน และภายในปี 66 จะเพิ่มอีก ขณะที่การเปิดศูนย์วันสต็อปเซอร์วิสในโรงพยาบาลสังกัด กทม.ดำเนินการแล้ว 9 แห่ง ปีหน้าจะเปิดอีก 2 แห่งเพื่อให้ครบ 11 แห่ง ซึ่งจะช่วยให้การรักษาพยาบาลประชาชนมีความรวดเร็วประหยัดเวลามากขึ้น เป็นต้น
ด้าน ศานนท์ รองผู้ว่าฯ ดูแลงานด้านคุณภาพชีวิตประชาชน กล่าวว่า 6 เดือนที่ผ่านมาเราเปลี่ยนทำงานโดยสิ้นเชิงโดยให้หน่วยที่ทำงานลักษณะเดียวให้มาบูรณาการงานกัน โดยเรื่องสวัสดิการขั้นพื้นฐานเมืองน่าอยู่ เราได้ลดกำแพงเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงได้ และในดูแลกลุ่มเด็กเล็ก มีการเพิ่มสวัสดิการค่าอาหาร ค่าอุปกรณ์ในศูนย์เด็กเล็ก ส่วนคนไร้บ้านได้ดำเนินการลงทะเบียนจ้างงานและเข้าไปดูแลเรื่องสุขอนามัยรวมถึงสวัสดิการต่างๆ เช่น อาหาร ที่พัก
ขณะที่การจัดกิจกรรมของ กทม. ตลอด 6 เดือน มีมากกว่า 200 ครั้ง มีผู้เข้ารวมกว่า 500,000 คน
ศานนท์ ระบุอีกว่า หลายคนอาจจะมองว่า กทม.มีกิจกรรมเยอะ แต่ยอมรับว่าภายใต้ภูเขาน้ำแข็งนั้น ก็มีผลพลังงานอย่างมหาศาลซึ่งเป็นหัวใจของหลายเทศกาลต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะเรามีคณะทำงานที่เข้าใจปัญหาจริงๆ ส่วนทิศทางการทำงารปีหน้า 66 ของตน จะมีงานพัฒนาที่อยู่อาศัย สภาเมืองคนรุ่นใหม่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเมืองให้เป็นเม็ดอินแบงค์คอก การพัฒนาหลักสูตรฝึกอาชีพต่างๆ เป็นต้น
ทั้งนี้ อํานาจในการสั่งที่ได้รับมองหมายของรองผู้ว่าฯ กทม. ทั้ง 4 คน ดังนี้
ทวิดา ดูแลการปฏิบัติงานของ สํานักการแพทย์ สํานักอนามัย สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล สํานักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช สํานักงานเขตในส่วนที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
วิศณุ ดูแลการปฏิบัติงานของ สํานักการโยธาสํานักการระบายน้ำ สํานักการจราจรและขนส่ง สํานักการวางผังและพัฒนาเมือง บริษัท กรุงเทพธนาคม จํากัด สํานักงานเขตในส่วนที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายโยธา
จักกพันธุ์ ดูแลการปฏิบัติงานของ สํานักงบประมาณกรุงเทพมหานคร สํานักการคลัง สํานักเทศกิจ สํานักสิ่งแวดล้อม สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร สํานักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สํานักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร สํานักงานเขตในส่วนที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายการคลัง ฝ่ายรายได้ ฝ่ายเทศกิจ ฝ่ายปกครอง ฝ่ายทะเบียน และฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
ศานนท์ ดูแลการปฏิบัติงานของ สํานักการศึกษาสํานักพัฒนาสังคม สํานักวัฒนธรรมกีฬาและการท่องเที่ยว การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร สํานักงานเขตในส่วนที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายการศึกษาและโรงเรียนในสังกัด กรุงเทพมหานคร และฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม