ไม่พบผลการค้นหา
เหลือเวลาไม่ถึง 1 เดือนการประชุมรัฐสภา สมัยสามัญประจำปี ปีที่ 2 สมัยที่ 1 ก็จะเปิดฉากขึ้น มีความเป็นไปได้สูงที่ข้อเรียกร้องของฝ่ายค้านจะไม่ได้รับการตอบสนองจากรัฐบาลหรือแม้แต่ได้เสียงจาก ส.ส.ในรัฐบาลหรือ ส.ว.มาร่วมสนับสนุนให้เปิดประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ

นั่นจะทำให้ตารางการประชุมรัฐสภาจะต้องเป็นไปตามเดิม คือ เปิดในวันที่ 22 พ.ค.2563 โดยมีคิวจะต้องเร่งรับทราบ พ.ร.ก.ที่เกี่ยวกับการกู้เงิน เพื่อบรรเทาผลกระทบโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19

และในปลายเดือน พ.ค. ก็จะถึงคิวที่คณะรัฐมนตรีจะเสนอร่าง พ.ร.บ.โอนงบประมาณรายจ่ายปี 2653 และร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร

จากข้อมูลในมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 เม.ย.ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบการปรับปรุงเม็ดเงินงบประมาณของ 12 หน่วยงาน

หลังนายเดชาภิวัฒน์ ณ สงขลา ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณได้ทำหนังสือด่วนที่สุด ที่ นร 0727/490 ลงวันที่ 21 เม.ย. 2563 ถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เรื่องการปรับปรุงงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 เพื่อรองรับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของสำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานศาลปกครอง องค์รอิสระ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาโดยมีรายละเอียดการเสนอขอปรับปรุงทั้ง 12 หน่วยงานที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบ ประกอบด้วย 

1.สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้รับจัดสรรวงเงิน 7,966.89 ล้านบาท ขอเสนอปรับปรุง 298.51 ล้านบาท คงเหลือวงเงินทั้งสิ้น 7,668,347,300 บาท

2.สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้รับจัดสรรวงเงิน 2,531.4 ล้านบาท ขอเสนอปรับปรุง 166.72 ล้านบาท คงเหลือวงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 2,364,771,800 บาท

3.สำนักงานศาลยุติธรรม ได้รับจัดสรรวงเงิน 20,052.5 ล้านบาท ขอเสนอปรับปรุง 157.86 ล้านบาท คงเหลือวงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 19,894,650,100 บาท

4.สำนักงานอัยการสูงสุด ได้รับการจัดสรรกรอบวงเงิน 1.08 หมื่นล้านบาท ขอเสนอปรับปรุง 141.7 ล้านบาท คงเหลืองบประมาณทั้งสิ้น 10,690,224,800 บาท

5.สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ได้รับการจัดสรรกรอบวงเงิน 2.557 พันล้านบาท ขอเสนอปรับปรุง 70.2 ล้านบาท คงเหลืองบฯ ทั้งสิ้น 2,487,522,600 บาท

6.สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้รับจัดสรรวงเงิน 1,992.37 ล้านบาท ขอเสนอปรับปรุง 60.27 ล้านบาท คงเหลือวงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 1,932,100,800 บาท

7.สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้รับจัดสรรกรอบวงเงิน 414.4 ล้านบาท ขอเสนอปรับปรุง 40.65 ล้านบาท คงเหลือวงเงินทั้งสิ้น 373,771,300 บาท

8.สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้รับจัดสรรวงเงิน 1,804 ล้านบาท ขอเสนอปรับปรุง 33.8 ล้านบาท คงเหลือวงเงินทั้งสิ้น 1,770,706,300 บาท

9.สำนักงานศาลปกครอง ได้รับจัดสรร 2.483พันล้านบาท ขอเสนอปรับปรุง 28.7 ล้านบาท คงเหลือวงเงินทั้งสิ้น 2,454,712,000 บาท

10.สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้รับจัดสรรกรอบวงเงิน 3.39 ร้อยล้านบาท ขอเสนอปรับปรุง 23 ล้านบาท คงเหลือวงเงินทั้งสิ้น 316,170,600 บาท

11.สถาบันพระปกเกล้า ได้รับจัดสรรวงเงิน 238.4 ล้านบาท ขอเสนอปรับปรุง 20.9 ล้านบาท คงเหลือวงเงินทั้งสิ้น 217,526,637 บาท

12.สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้รับจัดสรรวงเงิน 224.8 ล้านบาท ขอเสนอปรับปรุง 10.55 ล้านบาท คงเหลือวงเงินทั้งสิ้น 214,245,000 บาท

โดย 12 หน่วยงานดังกล่าว รวมวงเงินที่เสนอปรับปรุงในงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 แล้วมีเม็ดเงินขอปรับปรุงกว่า 1,053 ล้านบาท

AFP-บริจาคสู้โควิด ไวรัสโคโรนา วินมอเตอร์ไซค์ อาสาสมัคร.jpg

โดยการปรับปรุงงบประมาณดังกล่าวนี้เป็นการดำเนินการตามมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พงศ.2561 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ พ.ร.บ.ของแต่ละหน่วยงาน ตามแนวทางการปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 และตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 เม.ย. 2563 โดยให้หน่วยงานรับงบประมาณเสนอปรับปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณต่อคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี รองนายกฯ หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัดให้ความเห็นชอบ แล้วแต่กรณี จึงเห็นสมควรที่คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการปรับปรุงงบประมาณฯ ตามที่หน่วยงานเสนอ พร้อมขอให้ส่งผลการพิจารณาข้อเสนอการปรับปรุงดังกล่าวให้สำนักงบประมาณพิจารณาตามแนวทาการจัดทำงบประมาณฯตามขั้นตอนต่อไป

ทั้งนี้ ที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 15 เม.ย. 2563 ได้เห็นชอบตามที่สำนักงบประมาณเสนอการปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อรองรับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ดังนี้

1. รายจ่ายประจำ ในทุกงบรายจ่ายที่ไม่มีข้อผูกพันหรือสามารถชะลอข้อผูกพันได้ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายในการสัมมนา การฝึกอบรม การประชาสัมพันธ์ การจ้างที่ปรึกษา และค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างประเทศ รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องต่าง ๆ อาทิ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก และค่าพาหนะ และการดำเนินกิจกรรม (Event) ที่มีการจ้างผู้จัดกิจกรรม (Organizer) หรือดำเนินการเอง ให้พิจารณาทบทวนวงเงินงบประมาณลง ร้อยละ 25

2. รายจ่ายลงทุน ในทุกงบรายจ่ายที่ไม่มีข้อผูกพัน (รายการปีเดียว) ที่เป็นครุภัณฑ์ทดแทนหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานที่สามารถชะลอการดำเนินงานได้ ให้พิจารณาทบทวนวงเงินงบประมาณลง ร้อยละ 50

3. รายการและงบประมาณที่หน่วยรับงบประมาณพิจารณาแล้วเห็นว่าสามารถชะลอการดำเนินการได้ โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อราชการตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการบรรเทาหรือแก้ไขผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ศาลฎีกา

เมื่อเทียบเม็ดเงินงบประมาณในปี 2563 ของหน่วยงานศาล อัยการสูงสุด และองค์กรอิสระ หลังปรับปรุงงบประมาณในปี 2564 ใน 8 หน่วยงาน มีดังนี้

1.สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้งบประมาณปี 2563 จำนวน 6992.8 ล้านบาท เมื่อปรับปรุงงบประมาณในปี 2564 จำนวน 7,668,347,300 บาท ทำให้มีงบประมาณเพิ่มขึ้น 676 ล้านบาท

2.สำนักงานคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับงบประมาณเมื่อปี 2563 จำนวน 2,368.9 ล้านบาท เมื่อปรับปรุงงบประมาณในปี 2564 จำนวน 2,364,771,800 บาท ทำให้มีงบประมาณลดลงกว่า 4 ล้านบาท

3.สำนักงานศาลยุติธรรม ได้รับงบประมาณเมื่อปี 2563 จำนวน 18,336.6 ล้านบาท มีการปรับปรุงงบประมาณในปี 2564 ทั้งสิ้น 19,894,650,100 บาท ทำให้มีงบประมาณเพิ่มขึ้นกว่า 1,558 ล้านบาท

4.สำนักงานอัยการสูงสุด ปี 2563 ได้รับจัดสรรวงเงิน 10,166 ล้านบาท โดยมีวงเงินคงเหลือจากการปรับปรุงในปี 2564 จำนวน 10,690,224,800 บาท ทำให้มีวงเงินงบประมาณเพิ่มขึ้น 524 ล้านบาท

อนาคตใหม่ สภา อภิปรายไม่ไว้วางใจ

5.สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ได้รับงบประมาณเมื่อปี 2563 จำนวน 2,331.8 ล้านบาท ได้รับการปรับปรุงงบประมาณในปี 2564 จำนวน 2,487,522,600 บาท ทำให้มีงบประมาณเพิ่มขึ้น 156 ล้านบาท

6.สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้รับการจัดสรรงบประมาณปี 2563 จำนวน 2,030.9 ล้านบาท ปรับปรุงงบประมาณในปี 2564 จำนวน 1,932,100,800 บาท ทำให้มีงบประมาณลดลง 98 ล้านบาท

7.สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้รับจัดสรรงบประมาณเมื่อปี 2563 จำนวน 296.6 ล้านบาท มีการปรับปรุงงบประมาณปี 2564 จำนวน 373,771,300 บาท ทำให้ได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้นจากปี 2563 จำนวนกว่า 77 ล้านบาท

8.สำนักงาน กกต. ปี 2563 ได้รับงบประมาณ 1,780.1 ล้านบาท เมื่อรวมกับวงเงิน 1,770,706,300 บาท ที่การปรับปรุงในปี 2564 ทำให้มีงบประมาณลดลงกว่า 10 ล้านบาท

ใน 8 หน่วยงานจะมีเพียง 3 หน่วยงานที่ยอดเงินงบประมาณลดลงจากปีที่ผ่านมา ส่วนอีก 5 หน่วยงานแม้จะมีการปรับปรุงงบประมาณลดลงจากเดิมก็ยังมีเม็ดเงินที่เพิ่มขึ้นจากปี 2563 

โดยปฏิทินการจัดทำร่างพ.ร.บ.งปบระมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 วงเงิน 3 ล้านล้านบาท วันที่ 22 เม.ย. - 5 พ.ค. 2563 สำนักงบประมาณจัดพิมพ์ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ และเอกสารประกอบงบประมาณให้แล้วเสร็จ จากนั้น วันที่ 12 พ.ค. 2563 ครม.เห็นชอบร่างพ.ร.บ.งบฯ และเอกสารประกอบเสนอสภาผู้แทนราษฎร

ระหว่างวันที่ 27-28 พ.ค. 2563 สภาผู้แทนราษฎร จะพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ วาระที่ 1 เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนการประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง