ไม่พบผลการค้นหา
'คณะมนตรีสิทธิมนุษยชน' ชี้ การวิจารณ์บุคลสาธารณะเป็นเรื่องที่ประชาชนสามารถทำได้ตามมาตฐานสิทธิมนุษยชนสากล

คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติแสดงความกังวัลอย่างรุนแรงต่อสถานการณ์การใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เพื่อปราบปรามการวิจารณ์สถาบันกษัตริย์ในประเทศกับประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังคณะมนตรีฯ ได้ทราบข่าวคำตัดสินจำคุกอดีตข้าราชการหญิงนานถึง 43 ปี 

คณะมนตรีฯ ชี้ว่า "ศาลาอาญาควรพิจารณาคำตัดสินใหม่อีกครั้ง พร้อมให้คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานและพักการตัดสินด้วยโทษสถานหนัก(จากกฎหมายดังกล่าว)"

"เราตอกย้ำเสมอว่า ก.ม.หมิ่นสถาบันฯ ไม่ควรมีอยู่ในประเทศที่เป็นประชาธิปไตย"

แถลงจากคณะมนตรีระบุว่า กฎหมายดังกล่าวเป็นการลิดรอนเสรีภาพในการแสดงออกขั้นพื้นฐานของประชากรไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะหลัง ที่กลุ่มนักเคลื่อนไหวผู้สนับสนุนประชาธิปไตยหันมาใช้ช่องทางออนไลน์ในการแสดงออกทางการเมืองมากขึ้นจากเงื่อนไขภาวะโรคระบาดโควิด-19 แต่ฝั่งผู้มีอำนาจยังตามมาใช้กฎหมายดังกล่าวในแพลตฟอร์มเหล่านั้น "ทั้งยังออกหมายจับแม้แต่กับเยาวชน"

เท่านั้นยังไม่พอ ยูเอ็นระบุเพิ่มว่า ภายใต้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ การวิพากษ์วิจารณ์บุคลสาธารณะเป็นสิ่งที่ประชาชนสามารถกระทำได้ ผู้มีอำนาจทางการเมืองสูงสุดในประเทศ อาทิ ผู้นำประเทศ ก็คือบุคคลสาธารณะที่ถูกวิจารณ์ได้ 

"การที่เสียงวิจารณ์เหล่านั้นถูกมองว่าไปละเมิดบุคคลสาธารณะผู้นั้นหรือทำให้ขวัญเสีย ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะทำให้การลงโทษสถานหนักเป็นเรื่องถูกต้อง"

แถลงของสหประชาชาติปิดท้ายว่าคณะมนตรีฯ เรียกร้องผู้มีอำนาจในไทยให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นสถาบันกษัตริย์ ยุติการดำเนินคดีกับประชาชนทั้งหมดภายใต้คดีดังกล่าว รวมถึงการปล่อยตัวผู้ต้องหาที่ถูกจำคุกทั้งหมดตามแนวทางสิทธิมนุษยชนในเรื่องเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างสันติ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง;