ไม่พบผลการค้นหา
ก่อน ‘ชวน หลีกภัย’ ประธานรัฐสภา จะคลอด 11 กรรมการสมานฉันท์ มีเรื่องวุ่นๆเกิดขึ้นมากมายในพรรคร่วมรัฐบาล ในเฉพาะ พปชร.และ ปชป. เพราะก่อนหน้านี้มีแนวคิดจะใช้โมเดลดึงอดีตนายกรัฐมนตรีเข้าร่วมวงสลายความแตกแยก

การตั้งกรรมการสมานฉันท์ เพื่อสร้างความปรองดอง แก้ไขปัญหาความขัดแย้ง เป็นความตั้งใจอันแน่วแน่ของ ชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร

แม้ใครหลายคนจะคัดค้าน ทัดทาน สบประมาทว่าไร้ประโยชน์ แต่ทว่า ‘ชวน’ ก็ยังเดินหน้าไม่สนเสียงท้วงที่จะตั้งขึ้น กระทั่งคลอดกรรมสมานฉันท์ 11 คน จากกรอบโครงสร้างที่วางไว้ 21 คน ปราศจากฝ่ายค้าน และไม่มีตัวแทนของผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลร่วมด้วย

ชวน หลีกภัย  wwww1228.jpg

11 กรรมการสมานฉันท์ ที่ชวน หลีกภัย จรดปลายปากกา เซ็นต์ตั้งขึ้นประกอบด้วย ตัวแทนจากคณะรัฐมนตรี 2 คน 1) พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล รมช.กลาโหม 2) เทอดพงษ์ ไชยนันทน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์

พรรคร่วมรัฐบาล 2 คน 1) นิโรธ สุนทรเลขา ส.ส.นครสวรรค์ พรรคพลังประชารัฐ 4) สรอรรถ กลิ่นประทุม ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคภูมิใจไทย

ตัวแทน ส.ว. 2 คน 1) วัลลภ ตังคณานุรักษ์ ส.ว. 2)ฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร ส.ว.

ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน 1) สุริชัย หวันแก้ว ผอ.ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2) วันชัย วัฒนศัพท์ อดีต ผอ.สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า 3) สมศักดิ์ รุ่งเรือง อธิการบดี วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก 4) นิรุต ถึงนาค อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 5) วิโรจน์ ลิ้มไขแสง อธิการบดีมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

อย่างไรก็ตาม ก่อนการตั้งกรรมการปรองดองขึ้นมาอย่างเป็นทางการ มีเรื่องวุ่นๆ เกิดขึ้นเยอะแยะมากมาย จนถึงขั้นชุลมุน วุ่นวายอยู่อพสมควร

หากยังจำกันได้เมื่อกลางเดือน ธ.ค. 2563 รัฐบาลมีความคิดที่จะส่ง “แรมโบ้สุภรณ์ อัตถาวงศ์ ผู้ช่วย รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี และ “แด๊ก” ธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการ รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี สองหัวหมู่ทะลวงฟันแนวหน้าของรัฐบาลเข้าร่วมกรรมการสมานฉันท์ในนามผู้แทนของรัฐบาล

โดยเป็นการตัดสินใจของแกนนำพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) ชงไอเดียสุดบรรเจิดไปให้ “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรค พปชร.พิจารณา

จากนั้น “บิ๊กป้อม” ก็เห็นงามตามท้องเรื่อง เพราะไม่ได้ใส่ใจอยู่แล้วว่ากระบวนการปรองดองนี้จะเป็นอย่างไร มีความสำคัญมากน้อยเพียงใด

ประยุทธ์ ประวิตร อนุทิน วิษณุ คณะรัฐมนตรีสัญจร ภูเก็ต 03102428000000.jpg

แต่เรื่องดังกล่าวกลับสร้างความไม่พอใจให้กับ 'ชวน หลักภัย' เป็นอย่างมาก เพราะโดยภาพลักษณ์ของ “แรมโบ้” และ “ธนกร” ล้วนสวนทางกับความพยายามปรองดอง

'ชวน' จึงมองว่า การเสนอคนทั้งคู่มาร่วมทีมปรองดอง ดูจะเป็นการไม่ให้เกียรติกันเลย

เช่นเดียวกับหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ก็ไม่พอใจตัวละครของพรรคพลัง พปชร. และที่สำคัญ พปชร.เตรียมเสนอชื่อโดยไม่ร่วมหารือกับพรรคร่วมรัฐบาลแม้แต่น้อย

นั่นจึงดูเหมือนกลับกลายเป็นว่า ความพยายามในการสร้างความปรองดองของ “ชวน หลีกภัย” ไม่ได้รับการเอาใจใส่จากพรรคร่วมรัฐบาลเลย โดยเฉพาะจากพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ซึ่งเป็นแก่นของปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองครั้งใหม่นี้

ราษฎร เพนกวิน ม็อบ พริษฐ์ ภาณุพงศ์ ปนัสยา ชินวัตร  112.jpg

ด้วยสัญญาณความไม่พอใจจากชวน ทำให้ต่อมา กรรมการสมานฉันท์ ในส่วนของรัฐบาล หรือ ครม. จึงประกอบด้วย 1) พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล รมช.กลาโหม 2) เทอดพงษ์ ไชยนันทน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์

ส่วนพรรคร่วมรัฐบาล 2 คน คือ นิโรธ สุนทรเลขา ส.ส.นครสวรรค์ พรรคพลังประชารัฐ และเพิ่มสัดส่วนของพรรคภูมิใจไทยเข้าไป คือ สรอรรถ กลิ่นประทุม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย

ทำให้รายชื่อของกรรมการเกิดความลงตัว โดยมีทั้งนายทหารที่ทั้ง “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ บิ๊กป้อม ไว้วางใจ มีทั้ง ส.ส.จากพรรคพลังประชารัฐ ประชาธิปัตย์ และภูมิใจไทย

อีกเรื่องวุ่นๆ หากยังจำกันได้ เกิดขึ้นเมื่อแรกเริ่มมีไอเดียตั้งกรรมการสมานฉันท์ หลังจากการชุมนุมประท้วงของนักศึกษา เริ่มก่อตัวขยายใหญ่ขึ้น และนับวันเริ่มจะเพิ่มอุณหภูมิร้อนทางการเมือง

'ชวน หลีกภัย' เสนอให้เทียบเชิญอดีตนายกรัฐมนตรี มาร่วมในกรรมการปรองดองนี้ด้วย แต่แนวคิดดังกล่าวกลับสร้างความไม่พอใจให้พรรค พปชร. พอสมควร

ด้วยว่าอดีตนายกฯ ไม่ว่าจะเป็น อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมชาย วงษ์สวัสดิ์ อานันท์ ปันยารชุน ต่างมีจุดยืนไม่เห็นด้วยกับการสืบทอดอำนาจของ พล.อ.ประยุทธ์ และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)

อดีตนายกฯหลายคน ต่างสนับสนุนให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญตัดอำนาจ ส.ว.ในการเลือกนายกรัฐมนตรี

นั่นทำให้ พปชร.ต้องส่งตัวจี๊ดอย่าง “สิระ เจนจาคะ” ส.ส.กทม.พรรค พปชร.ไปป่วน

สิระ ยั่วอารมณ์โมโหของชวน โดยกล่าวว่า "เด็กที่มาชุมนุมต้องการอนาคต แต่กลับเอาคนอายุ 80 - 90 ปี เดินไม่ไหว เก่าแก่เกินไป มาใช้ในยุคนี้ หากเอาไปดองเค็มผมจะเห็นด้วย วันนี้เรามีสภาควรให้ส.ส.เป็นคนออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นตัวกรรมการหรือจำนวน เพื่อหาทางออกประเทศ ไม่ใช่คนโบราณ เราต้องดูผู้ชุมนุมว่าเขาเรียกร้องอนาคตไม่ใช่เอาเรื่องอดีตมาคุยกัน ท่านประธานรัฐสภา ทำไมตัดสินคนเดียว ท่านต้องพิจารณาว่าคิดถูกหรือคิดผิด ผมอยากให้ตัดสินใจโดยผู้แทน ไม่ใช่บุคคลเพียงคนเดียวที่เสนอชื่อใครเป็นกรรมการก็ได้"

ขณะที่ ชวน ตวัดใบมีดโกนกลับตามสไตล์ว่า “คนจะผ่านชีวิตมา ถึงขั้นที่เปรียบเทียบว่า ดองเค็มได้นั้น ต้องระวัง คนพูดจะไปดองในฟอร์มาลิน ต้องระวังร่างกายด้วย

สิระ พลังประชารัฐ d44d4.jpgอภิสิทธิ์ ชวน 6.jpg

ทั้งนี้ เป็นเพราะ พปชร.ประเมินแล้ว มาได้มาซึ่งอดีตนายกฯร่วมทีมปรองดองนั้น ดูจะไม่เป็นผลดีต่อ พล.อ.ประยุทธ์ และพรรค พปชร.เอง จึงต้องส่งตัวจี๊ดไปเบรกเกมเสิร์ฟแต่เนิ่นๆ

และจนถึงปัจจุบัน แม้แนวคิดเชิญชวนอดีตนายกรัฐมนตรีร่วมคณะปรองดองของชวน จะยังไม่ถูกพับเก็บเข้าลิ้นชัก แต่ก็ยังมองไม่เห็นทิศทางว่าจะเดินต่อไปข้างหน้าอย่างไร

โดยว่ากันว่า ไอเดียดึงอดีตนายกรัฐมนตรีของ 'ชวน' นี่แหละ จะเป็นจะดั่ง “เชือกวิเศษ” ดึง “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” อดีตนายกฯลูกรักของชวน ให้กลับมามีบทบาทสำคัญทางการเมืองอีกครั้ง

หลังเงียบเข้ากลีบเมฆ นับตั้งแต่ลาออกจาก ส.ส.และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง