แต่ก็เป็นสิ่งที่พรรคฝ่ายค้านร่วมกันผลักดันอย่างต่อเนื่อง การผลักดันแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ของพรรคร่วมฝ่ายค้าน นำโดยพรรคเพื่อไทย เพื่อฟื้นคืนระบอบประชาธิปไตยในสังคมไทย เกือบ 4 ปีที่ผ่านมา แม้เป็นโจทย์ยากจากสารพัดเงื่อนไขที่ถูกวางไว้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เสียง ส.ว. 1 ใน 3 การเปิดช่องให้ยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความ ตลอดจนการทำประชามติ แต่ก็เป็นสิ่งที่ 7 พรรคฝ่ายค้านร่วมกันผลักดันอย่างต่อเนื่อง
'วอยซ์' ย้อนข้อมูลที่น่าทึ่ง เนื่องจากพรรคร่วมฝ่ายค้านและภาคประชาชนที่ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย พยามยามใช้กลไกที่แม้จะเสียเปรียบผลักดันให้เกิดการแก้ไขกฎหมายสูงสุดเพื่อจัดสรรความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันทางการเมือง และทรัพยากรอย่างเท่าเทียมแก่ประชาชนเกิดขึ้นทั้งสิ้น 19 ครั้ง
มีเพียงครั้งเดียวที่ประสบความสำเร็จในการผลักดันร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติม รายมาตราประเด็นกติกาการเลือกตั้ง ส.ส. จากบัตรใบเดียวให้กลับมาเป็นบัตร 2 ใบแบบรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2540 พร้อมปรับสัดส่วนเป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต 400 คน และบัญชีรายชื่อ 100 คน ซึ่งชัยชนะดังกล่าวอาจไม่ใช่เรื่องน่ายินดี
เนื่องจากเสียงสนับสนุนจากบรรดาพรรคร่วมรัฐบาล ตลอดจนสัญญาณของผู้มีอำนาจประเมินเช่นกันว่า สูตรเลือกตั้งแบบเก่าไม่อาจฝืนกระแสต้านจากประชาชนได้
เมื่อย้อนมองกลับไปจะพบได้ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคร่วมฝ่ายค้าน คือ ยุทธศาสตร์สำคัญในการทวงคืนระบอบประชาธิปไตย ภายหลังจัดตั้งรัฐบาล พรรคร่วมฝ่ายค้านเปิดฉากเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญสุดเพดานทันทีคือ การตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) พร้อมด้วยแก้ไขรายมาตราโดยพุ่งเป้าที่การเช็คบิลเครือข่าย "ระบอบประยุทธ์" ที่ฝังไว้ในบทเฉพาะกาลทันที
ระหว่างวันที่ 23-24 ก.ย. 2563 รวม จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256และเพิ่มหมวด 15/1) - ประเด็นหมวดการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (ยกเลิกมาตรา 270 และมาตรา 271) - ประเด็น สว บทเฉพาะกาล
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 159และยกเลิกมาตรา 272) - ประเด็น สว บทเฉพาะกาล เลือกนายกรัฐมนตรี
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (ยกเลิกมาตรา 279) - ประเด็นนิรโทษกรรมคณะรัฐประหาร
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 91 มาตรา 92 และมาตรา 94 และยกเลิกมาตรา 93 มาตรา 101 (4) และมาตรา 105 วรรคสาม) - ยกเลิกบัตรใบเดียว/ใช้ระบบเลือกตั้งบัตร 2 ใบ แบบรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540
ปี 2564 พรรคร่วมฝ่ายค้านมีการปรับท่าทีการยื่นร่างแก้ไขพุ่งเป้าที่การแก้ไขรายมาตราแทนที่การรื้อทั้งฉบับ เนื่องจาก 250 ส.ว.ลากตั้ง แสดงตนชัดพร้อมขัดขวางทุกรณี จึงมุ่งเน้นที่ประเด็นการแก้ไขโดยพุ่งเป้าในเรื่องการเสริมสิทธิ เสรีภาพของประชาชน หนทางการจัดการใช้อำนาจของกองทัพ รวมถึงการรื้อถอนสถาบันการเมืองที่ไม่ยึดโยงกับประชาชนและการตรวจสอบฝ่ายตุลาการที่เป็นอิสระจากรัฐสภา อีก 4 ฉบับ ได้แก่
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 25 มาตรา 29 มาตรา 29/1 มาตรา 34 มาตรา 45 มาตรา 47 มาตรา 49/1 และมาตรา129) - ประเด็นการเพิ่มสิทธิ เสรีภาพตามหลักสากล สิทธิกระบวนการยุติธรรม สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ การต่อต้านรัฐประหารอย่างสันติวิธี เพิ่มอำนาจกรรมาธิการ เรียกผู้พิพากษา/ตุลาการให้ถูกตรวจสอบโดยรัฐสภา
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 83มาตรา 85 มาตรา 86 มาตรา 90 มาตรา 91 มาตรา 92 และยกเลิกมาตรา93 และมาตรา 94) - ประเด็นระบบเลือกตั้งส.ส.แบบแบ่งเขต 400 คน และบัญชีรายชื่อ 100 คน ด้วยบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 159 และยกเลิกมาตรา 272) - ประเด็น การปิดสวิตช์ ส.ว. ลากตั้งลงมติเลือกนายกฯ
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 6 ยกเลิกมาตรา65 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 142 มาตรา 162 และยกเลิกมาตรา 270 มาตรา 271 มาตรา 275 และมาตรา 279) - ประเด็นการเลิกยุทธศาสตร์ชาติ
ล่วงถึงปี 2565 การผลักดันแก้ไขรัฐธรรมนูญยังมีความพยายามอย่างต่อเนื่อง โดยยังพุ่งเป้าที่ประเด็นการส่งเสริมสิทธิชุมชน กระบวนการยุติธรรม และความเป็นประชาธิปไตยจากระบอบการเมือง อีก 3 ฉบับ ได้แก่
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 43) - ประเด็นสิทธิชุมชน
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พุทธศักราช ....(เพิ่มมาตรา 25 วรรคห้า แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 29 เพิ่มมาตรา 29/1 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 34 มาตรา 44 มาตรา 45 มาตรา 47 และมาตรา 48) - ประเด็นสิทธิในกระบวนการยุติธรรม
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 159 วรรคหนึ่งและมาตรา 170 วรรคสอง) - ประเด็นการกำหนดให้นายกฯต้องมาจาก ส.ส.
อีกทั้ง ประชาชนที่ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยและคุณค่าหลักสิทธิมนุษยชนสากลยังทำแคมเปญล่าชื่อรณรงค์ประชาชนขั้นต่ำ 50,000 ชื่อ เผื่อผลักดันร่างแก้ไขฉบับประชาชนเข้าสู่การพิจารณา อีก 4 ฉบับ รวมกว่า370,000 รายชื่อ ได้แก่
[17 - 18 พย. 2563]
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (ยกเลิกมาตรา 65 มาตรา 88 มาตรา 203 มาตรา 217 มาตรา 270 มาตรา 272มาตรา 274 และมาตรา 279 ยกเลิกหมวด 16 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 142 มาตรา 159 วรรคแรก มาตรา 162 วรรคแรก มาตรา 252 วรรคสอง มาตรา 256 และมาตรา 269 และเพิ่มหมวด 17) จอน อึ๊งภากรณ์ กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 98,041 คน เป็นผู้เสนอ (ประเด็น ปิดช่องนายกฯคนนอก-เลิกยุทธศาสตร์ชาติ-เลิกปฏิรูป-เลิกนิรโทษกรรม-ที่มาองค์กรอิสระ-แก้ไขรัฐธรรมนูญให้ง่ายขึ้น-มีสสรจากการเลือกตั้ง)
[17 พ.ย. 2564]
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (ยกเลิกมาตรา 65แก้ไขเพิ่มเติมหมวด๗ มาตรา 159 วรรคแรก เพิ่มมาตรา 193/1 มาตรา 193/2 แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 11 หมวด 12 มาตรา 256 หมวด 16 ยกเลิกมาตรา 269 มาตรา 270 มาตรา 271มาตรา 272 และมาตรา 279 ) (พริษฐ์ วัชรสินธุ กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 135,247 คน เป็นผู้เสนอ) - ประเด็น เลิกยุทธศาสตร์ชาติ เลิกสว เหลือสภาเดียว ผู้ตรวจกองทัพ นายกฯต้องเป็น ส.ส. ตรวจสอบถอดถอนผู้พิพากษา รื้อที่มา/แนวตรวจสอบ องค์กรอิสระ เลิกปฏิรูปประเทศ ลบล้างผลพวงรัฐประหาร เลิกนิรโทษกรรม คสช.
[16 มิ.ย. 2565]
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พุทธศักราช ....(แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 272) (รองศาสตราจารย์สมชัย ศรีสุทธิยากร กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 64,151 คน เป็นผู้เสนอ) - ประเด็น ปิดสวิตช์ ส.ว. เลือกนายกฯ
[29 พ.ย. 2565]
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช ....แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 14 ที่ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 76,591 คน เป็นผู้เสนอในประเด็นแก้ไข หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น เลือกตั้งทุกส่วน
นอกจากนี้ พรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกล และเครือข่ายคณะก้าวหน้า ยังผลักดันเสนอญัตติให้มีการจัดทำประชามติแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญอีก 2 ครั้ง
โดยครั้งแรกเสนอในการประชุมเมื่อวันที่ 15 ก.ย. 2565 แต่องค์ประชุมล่ม ก่อนผลักดันอีกครั้งวันที่ 3 พ.ย. 2565 ได้รับเสียงสนับสนุนเป็นเอกฉันท์ในสภาล่าง
ทว่าวุฒิสภากลับใช้เทคนิคทางกฎหมายถ่วงเวลาไว้ 30 วัน
ขณะเดียวกันก็ล่ารายชื่อทะลุ 50,000 รายชื่อ เตรียมเสนอตรงต่อ ครม. https://www.resetthailand.org อีกทางหนึ่งเช่นกัน
แม้ผลในทางกฎหมายยังไม่เกิดขึ้น แต่ผลทางการเมืองในแง่การต่อสู้ทางความคิด ปลูกจิตสำนึก กระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพ จากการอภิปรายในเวทีสภา การลงพื้นที่รณรรงค์ได้เกิดขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ จากการตีแผ่ข้อมูลข้อเท็จจริงเปิดประจานตัวตนของฝ่ายปรปักษ์ประชาธิปไตยต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งอย่างแจ่มชัด
แล้วผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมจะเกิดขึ้นผ่านผลการเลือกตั้งปี 2566 มุ่งหน้าสู่การสถาปนารัฐธรรมนูญฉบับประชาชน