ไม่พบผลการค้นหา
2 บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของโลกร่วมมือสร้างแอปพลิเคชันแจ้งเตือนระยะประชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ฟากผู้เชี่ยวชายกังวลประเด็นความปลอดภัยไซเบอร์

บริษัทยักษ์ใหญ่ทางเทคโนโลยีอย่าง 'กูเกิล' และ 'แอปเปิล' ประกาศความร่วมมือช่วยเหลือประชาชนทั่วโลก ผ่านการพัฒนาระบบติดตามและแจ้งเตือนผู้คนเมื่ออยู่ในสถานที่เสี่ยงหรือใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อ 

ตัวระบบดังกล่าวสร้างขึ้นบนพื้นฐานความสมัครใจของผู้ใช้งาน คือเมื่อผู้ใช้งานดาวน์โหลดแอปพลิเคชันดังกล่าวมาจะสามารถกรอกข้อมูลได้ว่าตนเองถูกวินิจฉัยว่าติดเชื้อโควิด-19 หรือไม่ เมื่อแชร์ข้อมูลให้ระบบแล้ว ข้อมูลนั้นจะถูกใช้งานทั้งจากฝั่งองค์กรสาธารณสุขรวมไปถึงแอปพลิเคชันจะคอยเตือนผู้ใช้งายรายอื่นๆ ที่ไม่ได้ติดเชื้อเมื่อเข้าใกล้ผู้มีประวัติติดเชื้อด้วย โดยการสื่อสารข้อมูลนี้จะใช้ระบบบลูทูธ  

ตามกำหนดการทั้ง 2 บริษัทจะพัฒนาระบบ APIs (Application Programming Interface) ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่ทำให้โปรแกรมประยุกต์เชื่อมต่อกับโปรแกรมประยุกต์อื่นเบื้องต้นบนไอโอเอสและแอนดรอยส์ประมาณกลางเดือน พ.ค.ที่จะถึงนี้ ก่อนที่คาดว่าจะใช้เวลาอีกสักสองถึงสามเดือนในการพัฒนาจนสามารถใช้งานได้เต็มรูปแบบ คือผู้ใช้โทรศัพท์สามารถใช้แอปฯ ดังกล่าวได้โดยไม่ต้องดาวน์โหลดเข้ามาในเครื่อง

ในทวิตเตอร์อย่างเป็นทางการของ 'ทิม คุก' และ 'ซุนดา พิชัย' เขียนถึงการร่วมมือกันของทั้งสองบริษัท

  • "การย้อนรอยการติดต่อสามารถช่วยลดการระบาดของโควิด-19 ได้ และจะไม่บั่นทอนความเป็นส่วนตัวข้องผู้ใช้งาน เรากำลังทำงานร่วมกับซันดาร์ พิชัยและกูเกิล เพื่อช่วยบุคลากรทางสาธารณสุขใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีบลูทูธในรูปแบบที่โปร่งใสและได้รับการยินยอม" ทิม คุก ทวีต


  • "เพื่อช่วยบุคลากรทางการแพทย์ลดการแพร่ระบาดของโควิด-19 กูเกิบแบะแอปเปิบกำลังทำงานร่วมกันในการออกแบบเครื่องมือเข้าถึงการย้อนรายการติดต่อที่มาพร้อมกับการควบคุมแบะป้องกันความเป็นส่วนตัวอย่างเข้มข้น ทิมคุกและผมมุ่งมั่นที่จะทำงานด้วยกันเพื่อสิ่งนี้" ซุนดา พิชัย ทวีต

ความสามารถในการบ่งชี้ว่าประชาชนได้เคยไปสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ รวมถึงป้องกันไม่ให้ผู้ติดเชื้อไปแพร่ไวรัสให้กับคนอื่นเป็นหนทางที่สำคัญมาก สำหรับการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในทุกประเทศทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม การเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวขนาดนี้ยังสร้างความกังวลใจไม่น้อยถึงประเด็นคววามปลอดภัยทางไซเบอร์

ล่าสุด 'สหภาพเสรีภาพพลเมืองอเมริกัน' ออกมาเรียกร้องให้มีการกำหนดขอบเขตการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของประชาชนที่จะเข้ามาใช้แอปพลิเคชันดังกล่าว อีกทั้ง 'เจนิเฟอร์ กรานิค' ทนายความด้วยความปลอดภัยทางไซเบอร์และการตรวจสอบควบคุมดูแล จากสหภาพฯ ยังชี้ว่า "เราต้องมองตามความเป็นจริงว่าระบบย้อนรอยการติดต่อนี้ยังไม่นับรวมสมาชิกที่เปราะบางของสังคมอีกมากที่เข้าไม่ถึงเทคโนโลยีและได้รับผลกระทบอย่างไม่ได้สัดได้ส่วนจากการแพร่ระบาดนี้"

ทั้งกูเกิลและแอปเปิลชี้อย่างชัดเจนในประเด็นเรื่องความปลอดภัยว่า การใช้ระบบปฏิบัติการที่อยู่บนสัญญาณบลูทูธระยะสั้นและไม่ใช้อย่างอื่น เช่น ข้อมูลจีพีเอส จะช่วยให้ระบบไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลการเดินทางของผู้ใช้งานได้ แต่ระบบจะแจ้งเตือนความเสี่ยงก็ต่อเมื่อตัวระบบจับสัญญาณบลูทูธในระยะใกล้ตัวผู้ใช้งานได้เท่านั้น นอกจากนี้ ระบบยังมีการป้องกันหลายชั้นเพื่อไม่ให้สามารถระบุตัวผู้ใช้งานได้

ทั้งนี้ ระบบดังกล่าวก็ยังมีข้อด้อยอยู่บ้าง อาทิ ในกรณีที่อยู่ในพื้นที่แออัดมาก ระบบอาจส่งสัญญาณเตือนออกมาได้ ซึ่งทำให้เกิดความกังวลโดยไม่จำเป็น หรือระบบเองก็ไม่สามารถระบุระยะเวลาที่ผู้ใช้งานอยู่ใกล้กับผู้ติดเชื้อได้ นอกจากนี้ ในพื้นที่ที่สัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่ดีก็อาจมีการส่งข้อมูลเตือนล่าช้าและส่งผลให้เกิดการตีความพลาดได้เช่นเดียวกัน 

อ้างอิง; Bloomberg, The Verge, Fortune, Apple

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :