เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) ภายใต้คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.) ได้นำเสนอในงานเสาวนาวิชาการหัวข้อ สู่รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2562 ณ ห้องประชุมริมน้ำ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์
ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 3,000 คน ซึ่งมีอายุระหว่าง 18 - 26 ปี โดยความคิดเห็นจากนักศึกษาจากกลุ่มสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์ ร้อยละ 75 และกลุ่มวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ร้อยละ 25 จากมหาวิทยาลัยทั้ง 5 ภูมิภาคทั่วประเทศไทย แบ่งเป็น กรุงเทพฯ ร้อยละ 12 ภาคกลาง ร้อยละ 22 ภาคอีสาน ร้อยละ 35 ภาคเหนือ ร้อยละ 13 ภาคใต้ ร้อยละ 18 โดยมีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยที่มีส่วนร่วมถึง 28 มหาวิทยาลัย ผลการสำรวจวิจัย พบว่านิสิตนักศึกษา เห็นว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ควรการแก้ไขถึงร้อยละ 95.1 และไม่ควรแก้ไข ร้อยละ 4.9
สาระสำคัญในความคิดเห็นของนิสิตนักศึกษาต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ที่ใช้ในปัจจุบัน จากผลการสำรวจวิจัย อาทิ มีการบิดเบือนเจตนารมณ์ของประชาชน คะแนนค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ 5 เรียงลำดับ การบิดเบือนมากไปน้อย 4 อันดับแรก พบว่า
- การทำหน้าที่ของกกต. ร้อยละ 4.56
- ที่มาของนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 4.44
- การคำนวณผลคะแนน ร้อยละ 4.41
- อำนาจหน้าที่ของสว. ร้อยละ 4.27
ความเห็นว่า ไม่สามาถสร้างความเชื่อมั่นว่าจะปราบโกงได้ พบว่า
- การคอรัปชั่นในวงราชการ ร้อยละ 87.80
- งบประมาณกลาโหม ร้อยละ 85.10
ความเห็น กรณี ความไม่มั่นใจต่อทิศทางการพัฒนาประเทศ พบว่า
- ความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมอาจเพิ่มสูงขึ้น ร้อยละ 86.70
- ไม่มั่นใจต่อการบริหารงบประมาณแผ่นดิน ร้อยละ 78.25
- ไม่มั่นใจกระบวนการยุติธรรมและการใช้อำนาจรัฐ ร้อยละ 78.00
- สถานะของรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดเป็นที่น่ากังวล เชื่อว่าการตีความบิดเบือนไม่ไปตามรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 67.00
การสำรวจ เป็นเทคนิคการวิจัยซึ่งรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มจากตัวอย่างของประชากรเป็นวิธีการที่ใช้มากในการรวบรวมมีข้อมูลขั้นพื้นฐานโดยใช้แบบสอบถามเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงประจักษ์ถือเป็นวิทยาศาสตร์ทางสังคมที่มีประโยชน์มาก (ไม่ใช้ความคิดเห็นหรือความเชื่อส่วนตัวเพียงอย่างเดียว)
nathan-dumlao-572047-unsplash.jpg