วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 12.00 น .ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จังหวัดขอนแก่นได้มีตัวแทนคณะกรรมการประชาชนคัดค้านโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล (คปน.) 7 จังหวัดภาคอีสาน เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภาคอีสานรวมตัวกันอ่านแถลงการณ์คัดค้านโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล
เพื่อยืนยันหลักการในการมีส่วนร่วมของประชาชนตามหลักประชาธิปไตย แต่เนื่องจากมีการลักไก่ให้ผ่านอีไอเอซึ่งไม่ผ่านความเห็นของประชาชนโดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงมีรวมตัวกันอ่านแถลงการณ์คัดค้านโดยก่อนการเริ่มแถลงการณ์ได้มีตัวแทนเจรจากับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และไดัพูดคุยทำความเข้าใจกันเรียบร้อยก่อนเริ่มแถลงการณ์
โดยมี ภานุพงศ์ ศรีธนานุวัฒน์ อายุ 28 ปี คณะกรรมการคัดค้านโรนงงานน้ำตาลและโรงงานไฟฟ้าชีวมล ภาคอีสาน เป็นตัวแทนอ่านแถลงการณ์ ซึ่งในเนื้อหาแถลงการณ์มีดังนี้ แถลงการณ์ ยกเลิกอีไอเอ โรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล จังหวัดชัยภูมิ ที่ สผ.ลักไก่ ให้ผ่าน จากกรณีการดำเนินโครงการโรงงานน้ำตาลขนาด 20,000ตันอ้อย/วัน และโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาด 32 เมกกะวัตต์ของบริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด บนพื้นที่ขนาด 1,000 กว่าไร่ ในพื้นที่อำเภอเกษตรสมบูรณ์-หนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ
โดยได้มีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชนครั้งที่ 1 ในวันที่ 18-20 มกราคม 2565 และครั้งที่ 2 ในรูปแบบประชุมทางไกลผ่านระบบออนไลน์วันที่ 16-18 มิถุนายน 2565 เพื่อประกอบการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (Environmental impact assessment : EIA.)ของโรงงานน้ำตาล และรายงานการประผลกระทบทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (Environmental and health impact assessment : EHIA.)ของโรงไฟฟ้าชีวมวล เพื่อยื่นให้กับทางสำนักงานนโยบายแลแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ในการอนุมัติให้รายงานผ่านเพื่อนำไปประกอบการขออนุญาตการก่อสร้างโรงงานต่อไป
แต่ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นนั้น มีพื้นที่หมู่บ้านหลายหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ติดกับเขตของโรงงาน และประชาชนในพื้นที่ถูกปกปิดข้อมูลข่าวสารของโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลอย่างครบทุกด้าน และถูกกีดกันการมีส่วนร่วมในเวทีรับฟังความเห็นของประชาชนทั้งสองครั้ง โดยจากการเก็บข้อมูลในพื้นที่พบว่า กว่า 90% ของประชาชนในพื้นที่ ไม่ได้มีส่วนร่วมกับโครงการโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้นกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยมีประชาชนในพื้นที่ได้รวมตัวกันในนาม “กลุ่มคัดค้านโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล เกษตรสมบูรณ์-หนองบัวแดง”
เพื่อที่จะคัดค้านการสร้างโรงงานเหล่านี้ในพื้นที่ ด้วยเหตุที่พื้นที่ในการก่อสร้างโรงงานนั้นตั้งห่างจากเขตหมู่บ้านไม่ถึง 1 เมตรที่จะนำมาซึ่งผลกระทบอันมหาศาลกับคนในชุมชน อีกทั้งประชาชนในพื้นที่ไม่เคยได้มีส่วนร่วมในการกกำหนดโครงการการพัฒนาที่มาจากความต้องการของคนในชุมชนอย่างแท้จริง ซึ่งกลุ่มของประชาชนในพื้นที่นั้นมีการยื่นหนังสือต่อหน่วยงานราชการมากมาย เพื่อขอให้หน่วยงานภาครัฐได้เปิดเผยข้อมูล และตั้งคณะกรรมการการศึกษาศักยภาพของพื้นที่ว่าเหมาะสมกับโครงการพัฒนาในรูปแบบใดที่จะเป็นประโยชน์กับประชาชนในพื้นที่อย่างสูงสุด
แต่ในปัจจุบันท่ามกลางกระแสการเคลื่อนไหวคัดค้านของ “กลุ่มคัดค้านโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล เกษตรสมบูรณ์-หนองบัวแดง” สำนักงานนโยบายแลแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กลับทรยศหักหลังประชาชนในพื้นที่ ลักไก่อนุมัติรายงานEIA และEHIA ของบริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด โดยที่ประชาชนในพื้นที่ไม่รู้ถึงกระบวนการการอนุมัติครั้งนี้แต่อย่างใด พวกเราคณะกรรมการประชาชนคัดค้านโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล (คปน.) ภาคอีสาน จึงขอประกาศเจตนารมณ์ต่อเหตุการอันฉ้อฉลครั้งนี้
ดังนี้ 1.ยกเลิกการอนุมัติรายงานEIA และEHIA ของบริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด ในพื้นที่อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ 2.ให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์(SEA) แต่ละจังหวัด เพื่อหาทางเลือกในการพัฒนาชุมชนที่เหมาะสมกับพื้นที่และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม 3.ยกเลิกโครงการโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล ภาคอีสาน คณะกรรมการประชาชนคัดค้านโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล (คปน.) 7 จังหวัดภาคอีสาน เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภาคอีสาน 8 กุมภาพันธ์ 2566 ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จังหวัดขอนแก่น
ด้านสิริศักดิ์ สะดวก อายุ 43 ปี ผู้ประสานงานคณะกรรมการคัดค้านโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล ภาคอีสาน กล่าวว่า หลังจากอีไอเอผ่านแล้ว ทางบริษัทที่ยื่นเรื่องต้องไปขอใบประกอบโรงงาน ที่กระทรวงอุตสาหกรรม ส่วนโรงไฟฟ้าชีวมวลต้องไปขอที่ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ขั้นตอนการต่อสู้ของประชาชนคือการต่อสู้คัดค้าน ไปที่หน่วยงานรับผิดชอบ ซึ่งกลุ่มคัดค้านโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล ในพื้นที่ภาคอีสาน จะเคลื่อนไหวคัดค้านโครงการ
โดยเบื้องต้นคาดว่าชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจะเคลื่อนไหวเข้ากรุงเทพมหานคร เพื่อยืนหนังสือคัดค้าน และพูดคุยกับผู้รับผิดชอบ ในประเด็นที่มาของอีไอเอว่าเป็นการอนุมัติโดยไม่ชอบธรรม “สำหรับพื้นที่ที่มีชาวบ้านได้รับผลกระทบจากโรงงานน้ำตาลแล้ว คือ ที่ จ.อำนาจเจริญ และรัศมีใกล้เคียง 5 กิโลเมตร คือ จ.ยโสธรที่ได้รับผลกระทบด้วย หลังจากมีการดำเนินการมากว่า 4 ปี พบว่ามีปัญหาด้านมลพิษทางเสียง และการสัญจร ซึ่งบทเรียนในการได้รับความเดือดร้อนนี้ นำไปสู่การต่อสู้ของประชาชนที่ได้รับชัยชนะที่ จ.ศรีสะเกษ โดยโรงงานน้ำตาลและโรงงานไฟฟ้าชีวมวลถอนหมุดออก จนทำให้ประชาชนมีแนวทางพัฒนาของตัวเอง”