ไม่พบผลการค้นหา
'แคร์' จัดเวทีเสวนา 'หลักนิติธรรม ข้อห่วงใยสังคมไทย' โดยอดีตผู้พิพากษาย้ำ รธน.ปัจจุบันเปิดทางให้รัฐหาวิธีป้องกันการแทรกแซงและคุ้มครอง จนท.รัฐในการทำหน้าที่กระบวนการยุติธรรม ชี้สื่อโซเชียลฯ แทรกแซงกดดันการทำงานได้ ด้านนักกฎหมาย ภาคธุรกิจ ชี้ไทยกำลังเสียโอกาสการลงทุน

เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2563 ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กลุ่มแคร์จัดเสวนาโต๊ะกลม หัวข้อ "หลักนิติธรรม (Rule of Law) : ข้อห่วงใยของสังคมไทย" โดย อานุภาพ ธีรณิศรานนท์ ผู้จัดรายการวิทยุ และที่ปรึกษากฎหมาย ระบุว่าเรื่องของกฎหมายไม่เป็นกฎหมายกับความไม่ยุติธรรม กฎหมายคือความเป็นธรรม เพื่อสร้างความเท่าเทียม ถ้าบังคับใช้อย่างเสมอภาคสังคมก็น่าอยู่ ถ้าสังคมเราเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง คดีของบอส วรยุทธ อยู่วิทยา ทายาทกระทิงแดง ก็คงไม่เกิด

อานุภาพ ระบุว่า หากตนเองขับรถชนคนตายคดีคงเร็ว และขณะนี้คงได้ออกจากคุกแล้ว แต่เราจะต้องสังคายนากระบวนการยุติธรรมอย่างจริงจัง ทุกระดับให้เท่าเทียม 

ด้าน มานิตย์ สุธาพร อดีตผู้พิพากษา และอดีตรองปลัดกระทรวงยุติธรรม ระบุว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันให้รัฐหาวิธีป้องกันการแทรกแซงและคุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่กระบวนการยุติธรรม โดยมีแนวคิดอยู่แล้วเมื่อกระบวนการยุติธรรมถูกแทรกแซงก็ไม่ต้องหวังความเป็นธรรมต่อบ้านเมือง แม้จะคาดหวังอะไรไม่ได้หากถูกแทรกแซง แต่กรณีการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมนั้น สามารถแทรกแซงได้จากภายนอกกระบวนการยุติธรรม คืออิทธิพลการเมือง แทรกแซงทำได้ด้วยความดีความชอบหรือสินบน การใช้กำลังรุนแรงข่มขู่ก็มี ก็ถือเป็นการแทรกแซง ทั้งนี้หลักความยุติธรรมควรให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย บางเรื่องศาลก็ยกฟ้องไม่จำเป็นต้องลงโทษจำเลยทุกคดี 

มานิตย์ ระบุ ส่วนการแทรกแซงที่น่าเป็นห่วงคือการแทรกแซงจากสื่อ โดยวันนี้มีสื่อมืออาชีพไม่เป็นห่วงเพราะมีขอบเขตว่าอะไรที่พูดได้หรือไม่ได้ แต่สื่อโซเชียลมีเดียที่หลากหลายในประเทศ คนใช้เป็นใครก็ได้ สื่อพวกนี้เวลาออกไปไม่มีขอบเขต และที่ออกไปเป็นการเติมแต่งแสดงความเห็นหลากหลายโดยเฉพาะคดีของทายาทกระทิงแดง เป็นการใส่ความเห็นคาดเดาเป็นการชี้ทางกลายๆ อิทธิพลเหล่านี้ทำให้คนทำงานเขวไปหมด เพราะสื่อไปกดดันการทำงาน เวลาสื่อจะให้ความเห็นในกระบวนการยุติธรรมต้องอยู่บนพื้นฐานกระบวนการยุติธรรม

เสวนา แคร์ มานิตย์ สุธาพร -9B02-90B4B5A09E72.jpeg

ขณะที่ ผศ.รณกรณ์ บุญมี รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมและผู้อำนวยการบัณฑิตศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุว่า หากความน่าเชื่อถือในกระบวนการยุติธรรมล้มเหลวใครก็สามารถทำผิดได้ เพราะกฎไหมายไม่สามารถบังคับใช้อย่างจริงจัง ส่วนตัวมองว่ากระบวนการยุติธรรมจะดีได้ต้องเป็นอิสระ แต่ไม่ใช่ว่าจะทำหรือตัดสินอย่างไรก็ได้ 

ผศ.รณกรณ์ ระบุว่ากรณี อานนท์ นำภา ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน และ ภาณุพงศ์ จาดนอก ประธานกลุ่มเยาวชนตะวันออกเพื่อประชาธิปไตย ถ้าไม่มีเงินจะทำอย่างไร ซึ่งสองคนนี้ยืนยันว่าไม่มีความผิดกรณีถูกออกหมายจับจะถูกนำตัวขึ้นศาลเพื่อขอฝากขัง เพราะเป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพตามกฎหมาย 

แคร์ 48975.jpg

ด้าน มานิดา ซินเมอร์แมน นักกฎหมายมืออาชีพ ภาคธุรกิจ ระบุว่า การที่นักลงทุนจะตัดสินใจลงทุนย่อมต้องการกำไรสูงสุดภายใต้กฎหมาย Rule of Law ทั้งนี้ ประเทศเรากำลังเสียโอกาสในการลงทุน ตอนนี้ประเทศจะแข่งกับเวียดนามแล้วจะไปไหนก่อน และมีโอกาสที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นหมุดหมายของนักลงทุน ไม่ใช่แค่มาท่องเที่ยวเท่านั้นแต่ต้องมาลงทุนได้ การมาถึงของเงินสิ่งที่ตามมาคือ นวัตกรรม ขณะที่รัฐบาลไทยยังไม่สามารถให้การรับประกันความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินทุกคนได้อีกแล้ว เพราะถ้าตราบใดที่จีดีพีไม่เพิ่ม ไม่มีนักลงทุนเข้ามา จะขยับจีดีพีอย่างไร ซึ่งจะกระทบกับชนชั้นกลางเต็มๆ

พรหมินทร์ แคร์-40CE-8448-406E9878E679.jpegแคร์ ภูมิธรรม ชูศักดิ์ 2442C-0A5B-4252-8C51-0479EF29729E.jpegแคร์ 97-4CF1-92D0-7AC3ADBB98DC.jpeg