นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด กสทช. ในวันนี้ (9 ก.ค.) มีมติตามที่คณะอนุกรรมการกำหนดวิธีการและเงื่อนไขในการคืนใบอนุญาตทีวีดิจิทัล (อนุกรรมการเยียวยาฯ) เสนอ กรณีกรอบวงเงินชดเชยและวันยุติการออกอากาศของช่องวอยซ์ทีวี 21 พร้อมกับอนุมัติในหลักการกรณีการคืนใบอนุญาตของ MCOT Family ช่อง 14 รวมถึง 3 Family ช่อง 13 และ3 SD ช่อง 28 แต่ในกรณี 3 ช่องหลังนี้ ต้องรอการนำเข้าสู่ที่ประชุมในช่วงบ่ายวันนี้ด้วย
ทั้งนี้ บอร์ด กสทช. มีมติอนุมัติวงเงินชดเชยการคืนใบอนุญาตของช่องวอยซ์ทีวี 21 จำนวน 378.54 ล้านบาท และกำหนดวันยุติออกอากาศวันที่ 1 ก.ย. 2562 ตามกรอบวงเงินการชดเชยที่คณะอนุกรรมการเยียวยาฯ เสนอ
ส่วนช่อง MCOT Family ช่อง 14 ได้อนุมัติในหลักการให้ยุติการออกอากาศวันที่ 15 ก.ย. 2562 และมีวงเงินชดเชย 163.29 ล้านบาท โดยคำนวณจากมูลค่าเงินประมูลที่ 452 ล้านบาท มูลค่าใบอนุญาตที่ยังไม่ใช้งาน 289 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ คิดเป็นค่ามัค 28 ล้านบาท ค่าออกอากาศผ่านดาวเทียม (มัสแครี่) 34 ล้านบาท กำไรสุทธิไม่มี ผลประโยชน์รวมที่ได้จากรัฐประมาณ 63 ล้านบาท จึงมีเงินชดเชย 226.4 ล้านบาท แต่เนื่องจากบริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบการ MCOT Family ช่อง 14 ค้างชำระค่าธรรมเนียมงวดที่ 4 จำนวน 63 ล้านบาท จึงคงเหลือเงินที่จะได้รับการชดเชยเยียวยา 163.29 ล้านบาท
ช่อง 3 คืน 2 ใบอนุญาต รับเงินเยียวยาคืนกว่า 840 ล้านบาท
กรณี ช่อง 3 Family หรือ ช่อง 13 และช่อง 3 SD หรือ ช่อง 28 ซึ่งเพิ่งส่งแผนเยียวยาให้สำนักงาน กสทช. เมื่อวันที่ 8 ก.ค. จึงยังอยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดเสนออนุกรรมการเยียวยา อย่างไรก็ตาม เบื้องต้น ทั้ง 2 ช่อง จะยุติการออกอากาศวันที่ 30 ก.ย. 2562
สำหรับช่อง 3 Family มีเงินประมูลใบอนุญาต 455 ล้านบาท มีมูลค่าใบอนุญาตที่ยังไม่ได้ใช้งาน 290 ล้านบาท เงินสนับสนุนจากรัฐ ค่ามัค 28.8 ล้านบาท มัสแครี่ 34 ล้านบาท กำไรสุทธิไม่มี รวมผลประโยชน์ที่ได้รับ 64.3 ล้านบาท จึงมีค่าชดเชยถึงวันที่ 30 ก.ย. ที่มูลค่า 226 ล้านบาท แต่เนื่องจากได้ค่าชำระงวดที่ 4 จำนวน 63 ล้านบาท หักลบแล้วจึงเหลือเงินชดเชยประมาณ 162.54 ล้านบาท
ส่วนช่อง 3 SD มีมูลค่ารวมที่ชำระเงินมากแล้วทั้งหมด 4 งวดจำนวน 1,517 ล้านบาท ค่าธรรมเนียมคลื่นความถี่ที่ยังไม่ได้ใช้งาน 967 ล้านบาท ค่ามัค 28.8 ล้านบาท ค่ามัสแครี่ 35.4 ล้านบาท บริษัทไม่มีกำไรสุทธิ รวมผลประโยชน์ที่ได้รับ 64.22 ล้านบาท ค่าชดเชยที่ได้รับ 903 ล้านบาท แต่เมื่อหักค่าใช้จ่ายที่ได้จากรัฐ 223 ล้านบาท จึงเหลือเงินชดเชยประมาณ 680.83 ล้านบาท
"กรณีช่อง 3 SD และช่อง 3 Family ยังไม่สามารถเข้าสู่การพิจารณาของบอร์ด กสทช. ในวันนี้ (9 ก.ค.) และตัวเลขที่เสนอมาของทั้ง 2 ช่อง ยังต้องมีการตรวจสอบข้อมูลของ กสทช. ก่อนและจะนำเข้าสู่การประชุมบอร์ดสัปดาห์หน้า" นายฐากร กล่าว
พร้อมกับระบุว่า สำหรับช่องดิจิทัลที่ยุติการออกอากาศตามมติของบอร์ด กสทช.แล้ว ขอให้ในวันรุ่งขึ้นหลังการยุติการออกอากาศให้มาทำเรื่องขอเงินคืนจากสำนักงาน กสทช. ได้ทันที
ส่วนกรณีช่อง 3 บริษัทระบุว่า จะชดเชยให้กับพนักงานที่ถูกเลิกจ้างเพิ่มเติมจากที่กฎหมายแรงงานกำหนดตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่อง 3 (SD+Family) ได้แจ้งกับพนักงานถึงเงื่อนไขการจ่ายชดเชยจากการเลิกจ้าง ดังนี้
คืนครบ 7 ช่องดิจิทัล กสทช. เบิกเงินกองทุนจ่ายกว่า 2,900 ล้านบาท
หลังจากทั้ง 7 ช่องดิจิทัลยื่นแผนเยียวยาและได้รับการอนุมัติจากบอร์ด กสทช. เรียบร้อยแล้ว หลังจากนี้ สำนักงาน กสทช. จะเตรียมยืมเงินจากกองทุน กสทช. แล้วเป็นเงินค่าชดเชยที่ต้องจ่ายให้กับทีวีดิจิทัลทั้ง 7 ช่อง (3 Family ช่อง 13, MCOT Family ช่อง 14, สปริงนิวส์ช่อง 19, ไบรท์ทีวี ช่อง 20, วอยซ์ทีวี ช่อง 21, สปริง ช่อง 26 หรือชื่อเดิม NOW26X และ 3 SD ช่อง 28) ที่จำนวนเงิน 2,933.59 ล้านบาท ซึ่งอยู่ในวงเงินที่เคยประมาณการไว้ก่อนหน้านี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :