เพราะได้รับเสียงโหวตให้เป็น ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (แก้ไขเพิ่มเติม) พ.ศ. (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1) รัฐสภา ด้วยเสียง 27 เสียง ชนะตัวแทนฝ่ายค้าน นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย (พท.) ได้คะแนนแค่ 12 เสียง
ส่วนตำแหน่งรองประธาน กมธ.ตกเป็นของฝ่าย มหรรณพ เดชวิทักษ์ ส.ว. เป็นรองประธานคนที่ 1 ยังเป็นของ ส.ว. ตามระเบียบส่วนฝ่ายค้านได้ตำแหน่งรองประธานคนที่ 2 คือ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย
ส่วนไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ เป็นรองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่ 3 สมชาย แสวงการ ส.ว. เป็นรองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่ 4 ตัวจี๊ดๆ เจ็บๆ ทั้งนั้น
นอกนั้นในตำแหน่งรองประธานคนอื่นๆ อีก 5 คน คือ ศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย เป็นรองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่ 5 ธีรัจชัย พันธุมาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เป็นรองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่ 6 ชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ เป็นรองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่ 7 วิเชียร ชวลิต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ เป็นรองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่ 8 วัชรา ณ วังขนาย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเสรีรวมไทย เป็นรองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่ 9
และเมื่อส่ององค์ประกอบในภาพรวม กมธ.มีจำนวน 45 คน ประกอบด้วย ฝั่ง ส.ส.30 คน และ ส.ว.15 คน
แบ่งตามกำลังเสียงโหวต ฝ่ายค้าน มีแค่ 13 คน เท่านั้น จากพรรคเพื่อไทย 8คน ได้แก่ ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน สมคิด เชื้อคง ส.ส.อุบลราชธานี สงวน พงษ์มณี ส.ส.ลำพูน โกศล ปัทมะ ส.ส.นครราชสีมา จิราพร สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด สงคราม กิจเลิศไพโรจน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อชาติ (อยู่ในโควตาพรรคเพื่อไทย)
พรรคก้าวไกล จำนวน 3 คน ได้แก่ ธีรัจชัย พันธุมาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อ จิรวัฒน์ อรัณยกานนท์ ส.ส.กทม. รังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ อีก 2 คน คือ วัชรา ณ วังขนาย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเสรีรวมไทย และ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ
ส่วนฟากรัฐบาลมีกำลังมือ มากกว่าเห็นๆ 17 คน แบ่งเป็น พรรคพลังประชารัฐ จำนวน 8 คน ได้แก่ วิรัช รัตนเศรษฐส.ส.บัญชีรายชื่อ วิเชียร ชวลิต ส.ส.บัญชีรายชื่อ ไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ รงค์ บุญสวยขวัญ ส.ส.นครศรีธรรมราช วีระกร คำประกอบ ส.ส.นครสวรรค์ บุญสิงห์ วรินทรรักษ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ สิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม. และกรณิศ งามสุคนธ์รัตนา ส.ส.กทม.
พรรคภูมิใจไทย จำนวน 4 คน ได้แก่ ศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ รังสิกร ธิมาตฤกะ ส.ส.บุรีรัมย์ เพชรดาว โต๊ะมีนา ส.ส.บัญชีรายชื่อ และฐิตินันท์ แสงนาค ส.ส.ขอนแก่น
พรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 3 คน ได้แก่ บัญญัติ บรรทัดฐาน ส.ส.บัญชีรายชื่อ สุทัศน์ เงินหมื่น ส.ส.บัญชีรายชื่อ และ ชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช
บวก 2 เสียงของ นิกร จำนง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา มนูญ สิวาภิรมย์รัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเศรษฐกิจใหม่
ส่วนสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) จำนวน 15 คน ประกอบด้วย กล้านรงค์ จันทิก กาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ จเด็จ อินสว่าง นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ดิเรก เจนครองธรรม คำนูณ สิทธิสมาน ถวิล เปลี่ยนศรี
มหรรณพ เดชวิทักษ์ พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ปิยฉัฏฐ์ วันเฉลิม สมชาย แสวงการ สุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ และเสรี สุวรรณภานนท์
หากตีความว่า กมธ.ฝ่ายรัฐบาล บวก กมธ.สัดส่วน ส.ว.เป็นเนื้อเดียวกัน ก็จะทำให้มีเสียงทั้งสิ้น 32 คน
เกมสำคัญในขั้น กมธ.วิสามัญ ครั้งนี้คือปรับแก้เนื้อหารายมาตรา โดยใช้ร่างของรัฐบาลเป็นหลัก จุดชี้ขาดอยู่ตรงที่โมเดลสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ว่าจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร รวมถึงขั้นตอนการร่างรัฐธรรมนูญต่างๆ ซึ่งเป็นรายละเอียดปลีกย่อย
ทว่าสำคัญที่สุดคือหน้าตาของ ส.ส.ร. ที่จะเป็นผู้ “ขึ้นโครงประเทศ” ใหม่
ว่ากันตามสูตรร่างของพรรครัฐบาล มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน 150 คน รัฐสภาเลือก 20 คน ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย 20 คน นักเรียน นิสิต นักศึกษาเลือกมา 10 คน รวม 200 คน
ขณะที่โมเดล ส.ส.ร.ของพรรคฝ่ายค้าน ส.ส.ร.มาจากการเลือกตั้ง 200 คน โดยใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง โดยให้คำนวนจำนวน ส.ส.ร.ที่แต่ละจังหวัด “พึงมี”
อย่างไรก็ตาม มีโมเดลที่ 3โผล่ขึ้นมาจากฝ่ายค้าน โยนความคิดว่า ส.ส.ร.มาจากการเลือกตั้งเขตจังหวัด 100 คนและระบบประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง 100 คน
แต่สิทธิขาดอยู่ที่เสียงข้างมาก ใน กมธ.ที่ฝ่ายรัฐบาล จับมือกับ ส.ว. มีกำลังมากกว่าฝ่ายค้านถึง 19 เสียง หากขั้วข้างรัฐบาลยืนตามระบบ ส.ว.อำนาจพิเศษ 150 มาจากการเลือกตั้ง และคัดเลือกอีก 50 คน
ขณะที่โรดแมปร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคร่วมรัฐบาล กำหนดระยะเวลาการยกร่างยาวนาน 8 เดือน หรือ 240 วัน
เมื่อรวมกับการพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ที่เริ่มกระบวนการแล้วในสภา กว่าร่างพระราชบัญญัติการออกเสียงประชามติ จะผ่านขั้นตอนในรัฐสภา และขั้นตอนทูลเกล้าฯ
เพื่อนำไปสู่การทำประชามติรอบแรก เนื่องจากมีการยกร่างใหม่เกือบทั้งฉบับ แม้จะยกเว้นหมวด 1 หมวด 2 แต่ก็ไปกระทบโครงสร้างอำนาจ – ที่มาขององค์กรอิสระต่างๆ ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 256 (8) ระบุว่าต้องทำประชามติ
การสรรหา ส.ส.ร.ใหม่ 200 คน อาจเริ่มต้นในเดือน มิ.ย. 2564 ที่จะต้องใช้เวลาในการเลือกตั้ง ส.ส.ร.ไปอีกอย่างน้อย 3 เดือน ดังนั้น ส.ส.ร.ใหม่อาจเกิดขึ้นในเดือน ต.ค. 2564 และระยะเวลาต่อจากนั้น 8 เดือน คือการร่างรัฐธรรมนูญใหม่
กว่า ส.ส.ร.จะร่างเสร็จก็ล่วงเข้าสู่กลางปี 2565 และต้องนำเสนอรัฐสภา นำไปสู่การทำประชามติอีกรอบหนึ่ง ช่วงปลายปี 2565 จึงจะได้ใช้รัฐธรรมนูญใหม่ และนำไปสู่การเลือกตั้ง
สอดคล้องกับที่ 'ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ' ประธานคณะก้าวหน้า ปล่อยกระแสข่าวทางการเมืองไว้อย่างน่าสนใจว่า หลังจากเลือกตั้งนายก อบจ.ในวันที่ 20 ธ.ค. นี้แล้ว หลังจากนั้น ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 (เม.ย.-มิ.ย.) มีแนวโน้มจะมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จากนั้นอีก 18 เดือน จะมีการเลือกตั้ง ส.ส.เป็นการทั่วไป
เป็นเส้นทางรัฐธรรมนูญ ฉบับมาราธอน ปี 2565
ข่าวที่เกี่ยวข้อง