ไม่พบผลการค้นหา
หลบกระแสการเมืองร้อนนอกรัฐสภา หลังเสร็จสิ้นการประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญเพื่อหาทางออกให้กับม็อบร้อนนอกรัฐสภา ในวันที่ 28 ต.ค. 2563 มีเหตุการณ์สำคัญที่ต้องจับตาไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ เพราะจะมีการชี้ชะตาสถานะ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลและฝ่ายค้าน จำนวน 64 คน แบ่งเป็น รัฐบาล 32 ส.ส. ฝ่ายค้าน 32 ส.ส.

พลันที่ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเผยแพร่เอกสารข่าว เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2563 ระบุว่า ศาลรัฐธรรมนูญได้ประชุมพิจารณาคำร้องที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 ว่า สมาชิกภาพของ ส.ส. พรรคร่วมรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน จำนวน 64 คน ถือครองหุ้นสื่อเข้าข่ายสมาชิกภาพสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) หรือไม่ 

โดยศาลได้อภิปรายเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยแล้วเห็นว่า คดีมีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ จึงยุติการไต่สวนและกำหนดนัดแถลงด้วยวาจา ปรึกษาหารือและลงมติ และอ่านคำวินิจฉัยให้คู่กรณีฟังในวันพุธที่ 28 ต.ค. เวลา 15.00 น. และ เวลา 16.00 น. 

เมื่อดูบทบัญญัติมาตรา 101 ตามความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ที่จัดทำโดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ปี 2560 ระบุว่าเป็นการกำหนดเหตุแห่งการสิ้นสดความเป็นสมาชิกภาพของ ส.ส. ซึ่งความส่วนใหญ่ในมาตรานี้ เป็นไปเช่นรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ โดย มาตรา 101 (6) เป็นการกำหนดเหตุแห่งการสิ้นสุดความเป็นสมาชิกภาพ ส.ส. กรณีมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 98

เมื่อดูมาตรา 98 เป็นบทบัญญัติที่ระบุถึงบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เป็น ส.ส. อาทิ ติดยาเสพติดให้โทษ เป็นบคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำการอันเป็นการทุจริตในการเลือกตั้ง เป็นต้น

การที่ต้องกำหนดลักษณะต้องห้ามของบุคคลเพื่อมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ไว้ในรัฐธรรมนูญ เนื่องจากบุคคลที่จะเป็น ส.ส.เป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติในฐานะที่เป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยึงต้องได้รับการกลั่นกรองคุณสมบัติเบื้องต้น เพื่อเป็นหลักประกันว่าบุคคลนั้นๆ จะปฏิบัติหน้าที่อย่างซื่อสัตย์สุจริต มีความประพฤติและคุณสมบัติเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือของสาธารณชน โดยมีการบัญญัติเป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2492 ต่อมามีการปรับปรุงแก้ไขลักษณะต้องห้ามบางประการเพื่อให้เหมาะสมและเป็นไปตามสภาพสังคมในยุคนั้นๆ เรื่อยมา

ทั้งนี้ 64 ส.ส.ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องไว้วินิจฉัย เป็นการตีความตามมาตรา 98 (3) เป็นลักษณะต้องห้ามเป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ 

ตรวจสอบรายชื่อ ส.ส.ที่ยังคงอยู่ในปัจจุบัน มี ส.ส.ที่พ้นจากสมาชิกภาพความเป็น ส.ส.แล้ว ประกอบด้วย ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์  ชำนาญ จันทร์เรือง พล.ท.พงศกร รอดชมภู สุรชัย ศรีสารคาม

ทำให้มี ส.ส.ที่จะถูกวินิจฉัยในซีกรัฐบาล จำนวน 31 คน ฝ่ายค้าน จำนวน 28 คน (กวินนาถ ตาคีย์ ส.ส.ชลบุรี ปัจจุบันสังกัดพรรคพลังท้องถิ่นไท) 

ศาลรัฐธรรมนูญตุลาการ ยุบพรรค อนาคตใหม่  318163_200121_0001.jpg

แม้ในอดีต ศาลรัฐธรรมนูญจะเคยมีคำวินิจฉัยที่ 12-14/2553 เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2553 เรื่อง ส.ว.และส.ส.กระทำการต้องห้ามอันเป็นเหตุให้สมาชิกภาพสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 หรือไม่

ครั้งนั้น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้วินิจฉัยสั่งการให้ส่งเรื่องไปยังประธานวุฒิสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ส.ว. และ ส.ส. รวม 45 คน แบ่งเป็น ส.ว. 16 คน และ ส.ส.รวม 29 คน กระทำการอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 เป็นเหตุให้สมาชิกภาพของ ส.ว. และ ส.ส.ดังกล่าวสิ้นสุดลงตามมาตรา 91 วรรคสาม มาตรา 119 (5) และมาตรา 106 (6) ประกอบมาตรา 265 วรรคหนึ่ง (2) (4) และมาตรา 48 

มาตรา 265 เป็นการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ โดย (2) ไม่รับหรือแทรกแซงหรือก้าวก่ายการเข้ารับสัมปทานจากรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจอันมีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน หรือเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัที่รับสัมปทานหรือเข้าคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว ทั้งนี้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม

(4) ไม่กระทำการต้องห้ามตามมาตรา 48 กล่าวคือ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการ หนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือโทรคมนาคมมิได้ ไม่ว่าในนามของตนเองหรือให้้ผู้อื่นเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นแทน หรือจะดำเนินการโดยวิธีการอื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมที่สามารถบริหารกิจการดังกล่าวได้ในทำนองเดียวกับการเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการดังกล่าว

ครั้งนั้น ศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติ 6 ต่อ 2 เสียงว่าการกระทำอันเป็นการต้องห้ามมาตรา 265 วรรคหนึ่ง (2) (4) และวรรคสาม ประกอบมาตรา 48 ไม่รวมถึงการถือหุ้นที่มีมาก่อนวันเลือกตั้งหรือวันที่ กกต.ประกาศผลการสรรหา ส.ว.

"รัฐธรรมนูญห้ามการเข้าถือหุ้นในบริษัทที่ต้องห้าม โดยไม่ได้ระบุว่า จะต้องถือหุ้นจำนวนเท่าใด และไม่ได้ระบุว่า จะต้องมีอำนาจบริหารงานหรือครอบงำกิจการหรือไม่ ฉะนั้น การถือหุ้เพียงหุ้นเดียวก็ย่อมเป็นการถือหุ้นตามความหมายในรัฐธรรมนูญแล้ว แม้ผู้ถือหุ้นจะไม่มีอำนาจบริหารหรือครอบงำกิจการก็ตาม การที่รัฐธรรมนูญบัญญัติห้ามการถือหุ้นไว้ชัดเจน ก็เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมทั้ง ส.ส. และ ส.ว.มีช่องทางที่จะใช้หรือถูกใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบในทางใดทางหนึ่ง"

ครั้งนั้น ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยโดยยกคำร้อง ส.ส. และ ส.ว. 38 คน แต่ชี้ว่า 6 ส.ส.ต้องพ้นสมาชิกภาพจากกรณีถือครองหุ้นในกิจการสื่อ และบริษัทที่เป็นคู่สัมปทานของรัฐ ประกอบด้วย สมเกียรติ ฉันทวานิช ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช ส.ส.ขอนแก่น พรรคเพื่อไทย มลิวัลย์ ธัญญสกุลกิจ ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อแผ่นดิน ม.ร.ว.กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อแผ่นดิน เกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร ส.ส.พระนครศรีอยุธยา พรรคชาติไทยพัฒนา และ บุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา พรรคภูมิใจไทย ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญมองว่าเป็นการถือหุ้นต้องห้ามภายหลังมีสถานะ ส.ส.

ก้าวไกล อมรัตน์ เท่าพิภพ -5DDA-45B4-9513-306CC988C6A3.jpeg

การตีความสถานะ ส.ส.ในปัจจุบัน จำนวน 59 ราย (ไม่รวม อดีต ส.ส.ที่พ้นไปแล้ว) เป็นการตีความเกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.เกี่ยวกับการเป็นเจ้าของหรือผูู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ ซึึ่งไม่ใช่การตีความการกระทำอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยเมื่อปี 2553

ซึ่งวันที่ 28 ต.ค.นี้ ศาลรัฐธรรมนูญจะต้องวินิจฉัยในมาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560

หากผลการวินิจฉัยออกมาในทางที่ ส.ส.ทั้งหมดต้องพ้นสถานะ ส.ส.

ย่อมนำไปสู่การจัดการเลือกตั้งซ่อมใหม่ เพียงแต่จะต้องจัดการเลือกตั้งในเขตที่มีเหตุให้ ส.ส.ในตำแหน่งนั้นว่างลง ซี่งจะต้องมีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 45 วัน โดยจะต้องจัดการเลือกตั้ง ซ่อมทั้งหมด 34 เขตเลือกตั้ง ซึ่งเป็นไปได้ว่า กกต.จะต้องกำหนดให้เป็นวันเดียวกันใน 34 เขตเลือกตั้ง

ขณะที่ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ที่พ้นจากตำแหน่งไป ก็มีผลให้ ส.ส.ในลำดับถัดไปเลื่อนขึ้นมาแทน มีเพียง พรรคก้าวไกลเท่านั้นที่ไม่มี ส.ส.บัญชีรายชื่อ ซึ่งหากต้องพ้นจาก ส.ส.ไปก็ไม่ต้องมี ส.ส.ขึ้นมาแทนที่แต่อย่างใด

ปัจจุบันรัฐบาล มี ส.ส.ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ 276 เสียง พรรคฝ่ายค้านมี 212 เสียง (สภาผู้แทนราษฎรเท่าที่มีอยู่ 488 คน) 

หากยึดบรรทัดฐานเดียวกันทั้งหมด จำนวน 59 ราย ในกรณีที่ตีความออกมาว่า ส.ส.ทั้งหมดที่ถือหุ้นที่เข้าลักษณะต้องห้าม

แม้จะมีผลให้ต้องพ้นจาก ส.ส. ก็ไม่ทำให้ เสียงของ ส.ส.พรรครัฐบาลต้องสั่นคลอน เพราะต่างฝ่ายต้องถูกสอยพ้น ส.ส.ในตัวเลขใกล้เคียงกัน

อีกทั้ง จำนวนเสียง ส.ส.ในซีกรัฐบาลก็ยังมีมากกว่ารัฐบาล จึงไม่มีปัญหาในเรื่ององค์ประชุมและการลงมติเหมือนปี 2562 จากผลพวงรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ที่เปิดช่องให้มี ส.ส.งูเห่าได้ตลอดเวลา

การตีความของศาลรัฐธรรมนูญยังต้องจำแนกและดูทีละบริษัทด้วยว่า บริษัทที่บรรดา ส.ส.เหล่านี้ถือครองหุ้นอยู่นั้นเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับกิจการสื่อมวลชนด้วยหรือไม่

  • 32 ส.ส.กรณีถือครองหุ้นสื่อมวลชน

1.พรรคพลังประชารัฐ 21 คน

ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 18 คน

กษิดิ์เดช ชุติมันต์ ส.ส.กทม. เขต 8 ถือหุ้นบริษัท โอ ที ซุปเปอร์เซอร์วิส จำกัด 

ชาญวิทย์ วิภูศิริ ส.ส.กทม. เขต 15 ถือหุ้นบริษัท ภัทรเฮ้าส์ แอนด์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) 

สิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม. เขต 9 ถือหุ้นบริษัท บ้านทรงไทยแจ้งวัฒนะ จำกัด

ภาดา วรกานนท์ ส.ส.กทม. เขต 6 ถือหุ้นบริษัท ทาโร่ทาเลนท์ จำกัด

ฐานิสร์ เทียนทอง ส.ส.สระแก้ว เขต 1 ถือหุ้นบริษัท สระแก้ว เวลธี กรุ๊ป จำกัด

ฐาปกรณ์ กุลเจริญ ส.ส.สมุทรปราการ เขต 6 ถือหุ้นบริษัท เค.โอ.พี.เวลท์ตี้ จำกัด

ตรีนุช เทียนทอง ส.ส.สระแก้ว เขต 2 ถือหุ้นบริษัท สระแก้ว เวลธี กรุ๊ป จำกัด

ทวิรัฐ รัตนเศรษฐ ส.ส.นครราชสีมา เขต 4 ถือหุ้นบริษัท ดราฟท์ อพาร์ทเม้นท์ จำกัด บริษัท คลัง พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด

บุญยิ่ง นิติกาญจนา ส.ส.ราชบุรี เขต 2 ถือหุ้นบริษัท กาญจนาอาหารสัตว์ จำกัด 

กุลวลี นพอมรบดี ส.ส.ราชบุรี เขต 1 ถือหุ้นบริษัท มาลัยดอกรัก จำกัด

ภิญโญ นิโรจน์ ส.ส.นครสวรรค์ เขต 1 ถือหุ้นบริษัท นครสวรรค์ สปอร์ต คลับ จำกัด

วีระกร คำประกอบ ส.ส.นครสวรรค์ เขต 2 ถือหุ้นบริษัท เบสท์ พริ้นท์ เลเบล จำกัด

พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ ส.ส.กำแพงเพชร เขต 2 ถือหุ้น หจก.กิมไล้ทรายทอง (พ้น ส.ส.แล้ว)

สมเกียรติ วอนเพียร ส.ส.กาญจนบุรี เขต 2 ถือหุ้นบริษัท ศรีเจริญสุข เอส โอ จำกัด

สัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ ส.ส.นราธิวาส เขต 2 ถือหุ้น หจก.หะยีมะดาโอ๊ะ (สุไหงโก-ลก)

สุชาติ ชมกลิ่น ส.ส.ชลบุรี เขต 1 ถือหุ้นบริษัท อรินสิริ แลนด์ จำกัด (มหาชน) 

อนุชา น้อยวงศ์ ส.ส.พิษณุโลก เขต 3 ถือหุ้น หจก.สันติธรรมฟาร์ม บริษัท อมาณัติ จำกัด

ปฐมพงศ์ สูญจันทร์ ส.ส.นครปฐม เขต 4 ถือหุ้น หจก.โรงสีไฟปฐมวิวัฒน์

ส.ส.บัญชีรายชื่อ 3 คน

อรรถกร ศิริลัทธยากร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ถือหุ้นบริษัท ที.ดี.อี.พัฒนาแลนด์ จำกัด บริษัท ธุรกิจพัฒนาแลนด์ จำกัด

พิชชารัตน์ เลาหพงศ์ชนะ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ถือหุ้นบริษัท ธรี สุขุมวิท โฮลดิ้ง จำกัด

ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ถือหุ้นบริษัท แปซิฟิค เอ็กซ์คลูซิฟ ซิตี้ คลับ 

2.พรรคประชาธิปัตย์ 7 คน

ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 5 คน

สาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง เขต 1 ถือหุ้นบริษัท พี.ที.รุ่งเรืองคอนกรีต จำกัด

ภานุ ศรีบุศยกาญจน์ ส.ส.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ถือหุ้นบริษัท ศรีบุศยกาญจน์ จำกัด

วชิราภรณ์ กาญจนะ ส.ส.สุราษฎร์ธานี เขต 3 ถือหุ้นบริษัท เวียงสระศิลา จำกัด

สมชาติ ประดิษฐพร ส.ส.สุราษฎร์ธานี เขต 4 ถือหุ้นบริษัท สุราษฎร์สรรพกิจ จำกัด 

กันตวรรณ ตันเถียร กุลจรรยาวิวัฒน์ ส.ส.พังงา เขต 1 ถือหุ้นบริษัท เทพวนา จำกัด

ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 2 คน

อัศวิน วิภูศิริ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ถือหุ้นบริษัท ภัทรเฮ้าส์ แอนด์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด

จิตรภัสร์ ตั๊น กฤดากร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ถือหุ้นบริษัท ซี.บี.โฮลดิ้ง จำกัด

3.พรรคภูมิใจไทย 1 คน

ปกรณ์ มุ่งเจริญพร ส.ส.สุรินทร์ เขต 1 ถือหุ้นบริษัท สุรินทร์ ซิตี้ จำกัด

4.พรรครวมพลังประชาชาติไทย 1 คน 

ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ ถือหุ้นบริษัท เจ.ซี.ฟู๊ด คอร์ทส จำกัด (ลาออก ส.ส.)

5.พรรคชาติพัฒนา 1คน 

เทวัญ ลิปตพัลลภ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ถือหุ้นบริษัท เอส.ซี.เค.แลนด์ จำกัด

6.พรรคประชาภิวัฒน์ 1คน 

สมเกียรติ ศรลัมพ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ถือหุ้นบริษัท เออีซี ดาต้า ออนไลน์ จำกัด

7.พรรคพลังท้องถิ่นไท

กวินนาถ ตาคีย์ ส.ส.ชลบุรี (เดิมพรรคอนาคตใหม่ ปัจจุบันสังกัดพรรคพลังท้องถิ่นไท)

ส.ส.พรรคฝ่ายค้าน 32 ราย

พรรคอนาคตใหม่ (พรรคก้าวไกล) 20 คน

1.พล.ท.พงศกร รอดชมภู (พ้น ส.ส.แล้ว) 2.ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ 3.พิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ 4.สุรชัย ศรีสารคาม (พ้น ส.ส.) 5.ชำนาญ จันทร์เรือง (พ้น ส.ส.) 6.วินท์ สุธีรชัย 7.ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ 8.คารม พลพรกลาง 9.วาโย อัศวรุ่งเรือง 10.อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล 11.ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล 12.วรภพ วิริยะโรจน์ 13.เบญจา แสงจันทร์ 14.สมเกียรติ ไชยวิสุทธิกุล ซึ่งเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อทั้งหมด 

15.ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ส.ส.กทม. 16.สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา ส.ส.นครปฐม 17.จิรัฎฐ์ ทองสุวรรณ์ ส.ส.ฉะเชิงเทรา 18. ปดิพัทธ์ สันติภาดา ส.ส.พิษณุโลก และ 19.วรรณวรี ตะล่อมสิน ส.ส.กทม. 

พรรคเพื่อไทย 4 คน ได้แก่ 1.วิสาร เตชะธีราวัฒน์ ส.ส.เชียงราย 2.นิยม ช่างพินิจ ส.ส.พิษณุโลก 3.จักรพล ตั้งสุทธิธรรม ส.ส.เชียงใหม่ และ 4.ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ ส.ส.อุตรดิตถ์ 

พรรคเพื่อชาติ 4 คน เป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อทั้งหมด ได้แก่ 1.สงคราม กิจเลิศไพโรจน์ 2.ลินดา เชิดชัย 3.ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช และ 4.เพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล 

พรรคเสรีรวมไทย จำนวน 3 คน เป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อทั้งหมด ได้แก่ 1.พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส 2.ธนพร โสมทองแดง และ 3.นภาพร เพ็ชรจินดา อีก 1 รายคือ กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง