นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยถึงความคืบหน้าแนวทางการจัดเก็บภาษีเบียร์แอลกอฮอล์ 0% ��่า ในช่วงสิ้นเดือนพ.ค.นี้ เตรียมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุข และภาคเอกชน เพื่อกำหนดแนวว่าจะต้องจัดต้องจัดเก็บภาษีดังกล่าวหรือไม่ และอัตราการจัดเก็บจะอยู่ในเรทใด ซึ่งในส่วนของกรมสรรพสามิต ยืนยันในหลักการเดิม คือ ให้มีการจัดเก็บ เพราะในต่างประเทศมีการใช้ชื่อเรียกและทำการตลาดในกลุ่มเบียร์เช่นเดียวกับเบียร์ปกติ ซึ่งเป็นช่องทางที่อาจทำให้กลุ่มนักดื่มหน้าใหม่เข้ามาบริโภคเบียร์มากขึ้น
ทั้งนี้ อัตราการจัดเก็บภาษีสรรพพสามิตเบียร์ในปัจจุบัน ได้จัดเก็บตามสัดส่วนของแอลกอร์ฮอล์ แต่เบียร์ 0% นั้น อาจต้องปรับหลักการเสียภาษีใหม่ที่คำนึงถึงผลกระทบสุขภาพของผู้ดื่ม โดยเบื้องต้นคาดว่าอัตราภาษีจะสูงกว่าภาษีน้ำผลไม้ แต่จะต่ำกว่าภาษีเครื่องดื่มเบียร์ ซึ่งทั้งหมดไม่จำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายใหม่ เพราะกฎหมายในปัจจุบันเปิดช่องให้ดำเนินการได้ อย่างไรก็ตามจะต้องสรุปเรื่องนี้ให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน
เริ่มวันนี้ รีดภาษียาเส้น สูงสุด 3 บาทต่อซอง
ส่วนกรณีการเก็บภาษียาเส้นเพิ่ม นายณัฐกร อุเทนสุต ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี กรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการปรับอัตราภาษีสรรพสามิตยาสูบใหม่ เพิ่มการจัดเก็บภาษียาเส้นอีก 20 เท่า หรือ 2-3 บาทต่อซอง จากเดิมที่มีการจัดเก็บอยู่ที่ 0.005 บาทต่อกรัม เพิ่มเป็น 0.10 บาทต่อกรัม หรือเดิม 10 กรัมจัดเก็บ 5 สตางค์ เพิ่มเป็น 10 กรัม 1 บาท ซึ่งจะส่งผลให้ราคาขายปลีกยาเส้นซองเล็กราคาปรับเพิ่มขึ้นทันทีอีก 2 บาท จากเดิม 5 บาทเพิ่มเป็น 7 บาท ส่วนซองใหญ่ขนาด 20-30 กรัม จากเดิม 10 บาท เพิ่มเป็นซองละ 13 บาท โดยเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่นี้เป็นต้นไป(8พ.ค.62)
โดยนายณัฐกร ระบุว่า การปรับขึ้นภาษียาเส้นครั้งนี้เพื่อลดช่องว่างส่วนต่างทางภาษีของบุหรี่ซิกาแรตและราคายาเส้นให้มีความใกล้เคียงกันมากขึ้น และต้องการให้คนลดการบริโภคยาเส้นลง เนื่องจากกระบวนการในการผลิตยังไม่ได้มาตรฐาน หลังการปรับอัตราภาษียาสูบตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพาสามิต พ.ศ. 2560 ส่งผลให้ราคาขายปลีกบุหรี่ซิกกาแรตสูงขึ้น ทำให้การบริโภคลดลง ทั้งนี้ได้มีการขยายเวลาในการบังคับใช้อัตราภาษีตามมูลค่าร้อยละ 20 และร้อยละ 40 ออกไป อีก 1 ปี เพื่อให้อุตสาหกรรมมีระยะเวลาในการปรับตัว
นอกจากนี้กรมสรรสามิตอยู่ระหว่างการรอลงพระราชกิจจาณุเบกษาเพื่อมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม ปี 2563 ในการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถจักรยานยนต์ จากการจัดเก็บภาษีจัดเก็บภาษีตามความจุของกระบอกสูบ เป็นการจัดเก็บภาษีตามปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุดร้อยละ 18 ขณะที่รถมอเตอร์ไซต์ ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า หรือ EV จะเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 1 ของราคาขายปลีก จากปัจจุบันที่ไม่ได้จัดเก็บ ส่วนมอเตอร์ไซด์ต้นแบบเพื่อการวิจัยจะไม่เสียภาษี
ทั้งนี้ปัจจุบันกรมสรรพสามิตจัดเก็บภาษีมอเตอร์ไซด์ได้ปีละกว่า 2,000 ล้านบาท หากจัดเก็บภาษีใหม่ จะทำให้กรมจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 30-40 หรือ 600- 800 ล้านต่อปี
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง