ตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) ประจำเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ปรับขึ้นมาอยู่ในระดับ 80.0 ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 หลังรัฐบาลประกาศผ่อนปรนนโยบายล็อกดาวน์ระยะที่ 3 และ 4 รวมไปถึงยกเลิกคำสั่งห้ามออกนอกเคหะสภาน (เคอร์ฟิวส์) และการทยอยเปิดการค้าชายแดน แม้จะเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าอย่างมีนัยสำคัญ ที่เคยอยู่ในระดับ 94.5
นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ชี้ว่า เมื่อมองอนาคตอีก 3 เดือนข้างหน้า ยังมีความกังวลอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากผลการสำรวจความเห็นผู้ประกอบการ 1,205 ราย ครอบคลุม 45 กลุ่มอุตสาหกรรม พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 90.1 ลดลงจากการสำรวจในเดือน พ.ค.ที่อยู่ระดับ 91.5
โดยมีปัจจัยบั่นทอนหลายประการ อาทิ สถานการณ์เศรษฐกิจโลก การเมืองภายในประเทศ อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินบาทที่แม้จะอ่อนค่าลงมา แต่ก็ยังถือว่าแข็งค่าอยู่เมื่อเทียบกับสกุลเงินประเทศคู่แข่งทางการค้ารวมไปถึงราคาน้ำมัน
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยชี้ว่า ตัวเลขอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ณ เดือน มิ.ย.อยู่ที่ระดับ 31 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งยังเป็นระดับที่ไม่ผ่อนคลายมากนักสำหรับผู้ส่งออก และสอท.มองว่าระดับที่จะสร้างความสามารถในการแข่งขันทางการค้าได้ควรอยู่ที่ราว 32 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ
ขณะที่ นายมนตรี เสริมถึงประเด็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ยังเผชิญปัญหาเข้าถึงแหล่งเงินทุนช่วยเหลือจากรัฐผ่านโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำหรือซอฟต์โลน ซึ่งที่ผ่านมาเพิ่งมีการปล่อยสินเชื่อไปได้ราว 100,000 ล้านบาท จากวงเงินรวมถึง 500,000 ล้านบาท เท่านั้น
ประเด็นดังกล่าว ยังสะท้อนไปในตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นฯ ที่แบ่งตามขนาดอุตสาหกรรม ซึ่งชี้ว่า ในฝั่งอุตสาหกรรมขนาดย่อม ดัชนีประจำเดือน มิ.ย.อยู่ที่เพียง 54.9 ซึ่งนอกจากจะต่ำที่สุดจากทั้ง 3 ขนาดอุตสาหกรรม ยังเป็นระดับที่ต่ำลงจากเดือนก่อนหน้าด้วย ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ ปรับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 83.7 และ 101. ตามลำดับ
นายมนตรี เสนอว่า เพื่อช่วยเหลือให้ภาคอุตสาหกรรมของประเทศกลับมาเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป ภาครัฐควรมีมาตรการเพิ่มเติม 3 ประการ ได้แก่