ไม่พบผลการค้นหา
กรมทางหลวง พร้อมก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เฟสแรก 3.5 กม. พร้อมจัดตั้งคณะทำงานพิเศษเฉพาะกิจ 100 คน ตั้งเป้าแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน

นายธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยถึงการเตรียมความพร้อมของกรมทางหลวงในการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงความร่วมมือไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ตอนที่ 1 (ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา) ที่จะเริ่มก่อนในช่วงสถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม.ว่า ได้จัดตั้ง คณะทำงาน 4 ชุด เพื่อจัดตั้งเป็นคณะทำงานพิเศษเฉพาะกิจ โดยรวบรวมบุคลากร 100 คนมาก่อสร้างคณะทำงานที่ 1 ดูข้อกำหนดการก่อสร้าง ซึ่งจะต้องถอดแบบรายละเอียดโครงการตามที่จีนออกแบบ คณะทำงานที่ 2 สำรวจพื้นที่ เพื่อดูเส้นทางการขนส่งวัสดุก่อสร้าง เช่น ดินลูกรัง คอนกรีต หรือวัสดุต่างๆคณะทำงานที่ 3 เป็นชุดควบคุมการก่อสร้างทั้งหมด และคณะทำงานที่ 4 เป็นคณะทำงานการก่อสร้าง

ซึ่งบุคลากรกรมทางหลวงคัดมาจากศูนย์สร้างทางของกรมทางหลวงทั่วประเทศ และเครื่องจักรกลมาดำเนินการ โดยรูปแบบการก่อสร้าง จะเป็นลักษณะเดียวกับงานก่อสร้างถนนที่กรมทางหลวงดำเนินการ เนื่องจากยังเป็นงานระยะแรก จะเป็นงานถมคันดินสูงประมาณ 4 เมตร กว้าง 12 เมตร หรือเท่ากับถนนขนาด 3 ช่องจราจร ตลอดระยะทาง 3.5 กม.ซึ่งกรมจะเร่งงานก่อสร้าง เพื่อให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน 

แผนที่โครงการรถไฟ-1.jpg


อธิบดีกรมทางหลวง กล่าวว่า โครงการก่อสร้างดังกล่าวจะเป็นมาตรฐาน และให้เป็นแบบอย่างสำหรับงานอีก 3 เฟสที่เหลือที่สำคัญที่สุดกรมทางหลวงได้วัสดุต่างๆในการดำเนินการเกือบทั้งหมดเป็นวัสดุภายในประเทศมีเพียงบางชนิดต้องใช้ของประเทศจีน นอกจากนี้ยังเป็นการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างวิศวกรชาวไทยและจีน

ทั้งนี้ ในวันที่ 21 ธันวาคม 2560 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีเริ่มการก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพ-หนองคาย (ระยะที่1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) ณ มอหลักหินรัชกาลที่ 5 ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

แบบรถไฟโครงการรถไฟ-1.jpg