นิมิตร์ เทียนอุดม จากเครื่อข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ กล่าวถึง "เส้นทางการต่อสู้ประเด็นสวัสดิการในประเทศไทย" ในการเสวนา "รัฐไทยจะอยู่อย่างไร เมื่อมีรัฐสวัสดิการ" ที่ห้างสรรพสินค้าเดอะไบร์ท พระราม 2 จัดโดยคณะกรรมาธิการ การสวัสดิการสังคม หรือ กมธ. สวัสดิการสังคม ในสภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ
โดยยืนยันว่า ทางเครือข่ายฯ เห็นว่า จะผลักดันกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของประชาชนนั้น ต้องดำเนินการในช่วงที่บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย จึงยุติการผลักดันในยุคที่ คสช.ครองอำนาจ กระทั่งหลังการเลือกตั้งในเดือนต.ค. ปี 2562 ได้ยื่นรายชื่อประชาชนหมื่นกว่ารายชื่อ เสนอ ร่าง พ.ร.บ.บำนาญแห่งชาติ ที่จะสร้างหลักประกันทางรายได้ให้กับผู้สูงอายุ ภายใต้หลักการและคำขวัญ #เปลี่ยนเบี้ยยังชีพให้เป็นบำนาญทั่วหน้าหลักประกัน
แต่หลังมีรัฐบาลจากการเลือกตั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยังไม่ได้รับรอง ซึ่งภาคประชาชนเกรงว่า จะดองไว้เหมือนยุค "รัฐบาลอภิสิทธิ์" ที่หากมีการยุบสภาร่างกฎหมายก็จะตกไป ดังนั้น ภาคประชาชนจึงต้องทวงถามเรื่อยๆ ล่าสุดอยู่ในชั้นกรรมาธิการซึ่งจะต้องติดตามและต้นปีหน้า 2564 นี้ จะมีการชุมนุมและกิจกรรมต่างๆเพื่อกดดันให้มีหลักประกันรายได้ของประชาชนผ่านระบบบำนาญเเห่งชาตินี้ต่อไป
นิมิตร์ ย้ำถึงหลักการสำคัญของกฎหมายบํานาญแห่งชาติของภาคประชาชน ซึ่งจะนำสู่การต้องแก้ไข พ.ร.บ. ผู้สูงอายุ ให้สอดคล้อง โดยมี 3 หลักการ เปรียบเหมือน "ปิ่นโต 3 ชั้น" คือ
ชั้นที่ 1 รองรับความยากจน เป็นบำนาญพื้นฐานเดือนละ 3,000 หรือยึดโยงกับเส้นความยากจน ปรับตัวงงแก้ทุกๆ 3 ปี ให้สอดคล้อง
ชั้นที่ 2 คือ บำนาญที่เกิดจากการจ้างงาน ทั้งประกันสังคมและบำนาญข้าราชการ
ชั้นที่ 3 คือ การออมด้วยตนเอง หรือการซื้อกรมธรรม์ และเงินสมทบต่างๆ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :