ไม่พบผลการค้นหา
การขนแร่ครั้งที่ 2 ของบริษัทเอกชนออกจากเหมืองทองคำจังหวัดเลยเกือบเดือด นักปกป้องสิทธิกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด 6 หมู่บ้าน จ.เลย พึ่งได้รับแจ้งว่าสินแร่เกินจากน้ำหนักเดิม 272.25 ตัน มาอีก 20 ตัน ชาวบ้านยืนยันไม่ให้ขนหากชี้แจงน้ำหนักที่เพิ่มมาไม่ได้ ขณะที่อุตสาหกรรมป้องเอกชนเกินมาไม่ถึง 10% สามารถขนย้ายได้ ก่อนทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับชาวบ้านเป็นลายลักษ์อักษรถึงน้ำหนักที่เกิน และบริษัทจะจ่ายค่าภาคหลวงเพิ่ม 7 หมื่นกว่าบาทให้กับรัฐ

ที่แยกกำแพงใจ หมู่บ้านนาหนองบง ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลยวันนี้ (19 ม.ค.64) นักปกป้องสิทธิมนุษยชนกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด 6 หมู่บ้านจังหวัดเลย ได้จัดประชุมร่วมกับ มานิตย์ นวลพลับ หัวหน้ากลุ่มอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเมืองแร่ อุตสาหกรรมจังหวัดเลย ประยูร อรัญรุท นายอำเภอวังสะพุง สายพิรุณ วัฒนวงศ์สันติ ผู้อำนวยการสำนักบังคับคดีจังหวัดเลย และ ทองแดง ทองไหม ตัวแทนจาก ห้างหุ้นส่วนจำกัดไขนภา สตีล ปราจีนบุรี

ซึ่งการประชุมหลักในวันนี้ (9 ม.ค.) คือการเจรจาหาข้อตกลงร่วมในการขนย้ายสินแร่รอบที่ 2 ที่บริษัทไขนภา ทำการประมูลได้จำนวน 190 ถุง การหารือเป็นไปด้วยความตึงเครียด โดย รจนา กองแสน ตัวแทนกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด 6 หมู่บ้านจังหวัดเลย พึ่งได้รับการจากแจ้งอุตสาหกรรมจังหวัดว่า แร่ที่จะทำการขนในวันนี้น้ำหนักเพิ่มจำนวน 20 ตัน นักปกป้องสิทธิฯระบุเดิมบริษัทต้องทำการขนทั้งหมด 184 ตัน จากที่ขนก่อนหน้านี้ไปแล้ว 88 ตัน แต่แร่เพิ่มมาได้อย่างไร 20 ตัน ซึ่งหากหาข้อสรุปในเรื่องแร่ที่เพิ่มขึ้นมาไม่ได้ชาวบ้านจะไม่ให้มีการขนแร่ในวันนี้

ทองแดง ชี้แจงกับชาวบ้านว่า แร่ที่เกินนั้นอาจจะเกินจากความชื้นจากการเก็บแร่และน้ำหนักของกระสอบที่นำมาใช้ขน บริษัทไม่ได้มีการยักย้ายถ่ายเทแร่แต่อย่างไร

ขณะที่ รจนา และตัวแทนชาวบ้านแย้งว่า ก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่ได้ระบุในหนังสือชัดเจนว่าน้ำหนักของแร่ทั้งหมด 190 ถุงมีจำนวนน้ำหนัก 272.25 ตัน ดังนั้นเจ้าหน้าที่อย่างกระทรวงอุตสาหกรรมและกรมบังคับคดีจะต้องหาทางออกในเรื่องนี้ให้ได้

ขณะที่ มานิตย์ ระบุว่า จำนวนแร่ที่เกินมานั้นถือว่าเกินมา 10% ซึ่งตามหลักของอุตสาหกรรมจังหวัดถือว่าเป็นการเกินขึ้นมาด้วยสัดส่วนที่ไม่มาก จึงได้เสนอจะเก็บค่าภาคหลวงจากสินแร่ที่เกินขึ้นมาจำนวน 70,000 กว่าบาท กับบริษัทเอกชน

ขณะที่กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดแย้งว่า หากมีการเก็บค่าภาคหลวงก็จะต้องมีการจ่ายค่าประมูลในส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นมาด้วยเพราะหากจ่ายแค่ค่าภาคหลวงอย่างเดียวเงินที่ได้ก็จะไม่ตกถึงชาวบ้านและเจ้าหนี้รายอื่นๆ ที่เป็นผู้เสียหายอย่างแท้จริง ซึ่งตัวแทนเมื่อได้ยินข้อเสนอของชาวบ้านตัวแทนบริษัทเอกชนแสดงอาการไม่พอใจพร้อมทั้งระบุจะจ่ายแต่ภาคหลวงเพียงอย่างเดียว จะไม่ยอมจ่ายค่าประมูลเพิ่มแต่อย่างใดเพราะได้ทำการประมูลเหมาเป็นจำนวน 190 ถุง ไม่ได้ประมูลเป็นน้ำหนักของสินแร่

ขณะที่ สายพิรุณ วัฒนวงศ์สันติ ผู้อำนวยการสำนักบังคับคดีจังหวัดเลย ได้นำเอกสารมาอ่านให้ชาวบ้านฟังถึงข้อกำหนดที่เขียนไว้ในเอกสารประมูลว่าเป็นการประมูลแบบเหมาถุง 190 ถุงไม่ได้มีการะบุน้ำหนักของแร่ในแต่ละถุง ซึ่งทางกรมบังคับคดีไม่ได้สนใจน้ำหนักที่อยู่ในถุง แต่สนใจจำนวนถุงที่ขายเหมาให้กับบริษัทเอกชนไปจำนวน 190 ถุง

ทั้งนี้การประชุมเป็นไปอย่างเคร่งเครียดมีการประทะคารมระหว่างชาวบ้านและบริษัทเอกชนอยู่เป็นระยะๆ โดยนักปกป้องสิทธิฯต้องร้องขอให้หน่วยงานรัฐช่วยหาแนวทางในการเจรจาหลังจากที่นิ่งเฉยและปล่อยให้การเจรจานั้นเป็นแค่การเผชิญหน้าระหว่างนักปกป้องสิทธินและเอกชนแค่สองฝ่ายจนได้ข้อสรุปร่วมกัน ด้วยการร่างบันทึกข้อตกลงร่วมกัน ว่า จำนวนแร่ที่เกิดมาจากของเดิม 272.25 ตัน ไปอีก 20 ตัว และจำนวนที่เกินมานั้นบริษัทจะจ่ายเป็นค่าภาคหลวง 71,447.35 บาท และไม่จ่ายค่าประมูลเพิ่มตามที่ชาวบ้านร้องขอ

ต่อมากลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดได้ขอให้มีการตรวจน้ำหนักของสินแร่ที่จะทำการขนทีละถุง สร้างความไม่พอใจให้กับบริษัทและตะโกนใส่กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดฯ ด้วยความโมโห ก่อนที่จะเจรจาให้ทำการชั่งน้ำหนักแบบสุ่มตรวจได้ และให้ทำการขนย้ายอุปกรณ์และนำคนงานออกจากเหมืองทันทีหลังทำการขนสินแร่เสร็จ ซึ่งบริษัทยินดีดำเนินการขอเรียกร้องของชาวบ้านก่อนที่บริษัทจะเริ่มทำการขนแร่อย่างเป็นทางการเมื่อเวลา 11.00 น.

ทั้งนี้เย็นวันนี้ (19 ม.ค.) กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดจะจัดเวทีเสวนารอบกองไฟรอบที่ 2 ในหัวข้อ เส้นทางต่อไปสู้การฟื้นฟูเหมืองแร่เมืองเลย พร้อมกับจัดเวทีวัฒนธรรมขับกล่อมบทเพลงที่บอกเล่าเรื่องราวการต่อสู้ของกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด ตั้งแต่เวลา 18.30 น.เป็นต้นไปด้วย

บรรยากาศในการขนแร่2.jpgตัวแทนจากกระทรวงอุตอ่านบันทึกข้อตกลงให้ชาวบ้านฟัง.JPGเจ้าหน้าที่ยืนติดตามการขนแร่กับบริษัทเอกชน.jpg