ไม่พบผลการค้นหา
2 ศิลปินคนเดือนตุลา...จาก 14 ตุลา-สงครามสีเสื้อ
'หมุนกงล้อประวัติศาสตร์ 14 + 6 ตุลา' สู่อนาคตการเมืองไทย
'ประชาธิปไตยสมบูรณ์' อยู่ตรงไหน
35 ปี 6 ตุลา ในสายตา 'คนรุ่นใหม่'
หนุน-ต้านเยียวยาเหยื่อชุมนุม คำตอบอยู่ที่"เจตจำนงทางการเมืองของรัฐบาล"
ประเมินการเมืองไทยหลังน้ำลด
ทำความเข้าใจวิถีมุสลิม - สำรวจตลาดค้าขายวันศุกร์ที่ยะลา
บ้านเลขที่111 "กลับมาเพื่อปรองดองและยุติธรรม"
จากรัฐประหาร 19 กันยา 49 – พฤษภา 53
จากพฤษภา 35 ถึง 53
เปิดวิสัยทัศน์ 'ดับไฟใต้' ของเลขาธิการอาเซียน
ย้อนทางแยกคนตุลา
เปิดใจคณะผู้สร้างภาพยนตร์ "นวมทอง" สีไหนๆก็ดูได้
ม. 112 ภาพสะท้อนวิกฤติอัตลักษณ์ "ความเป็นไทย"
“โซเชียลเน็ตเวิร์ค” สงครามน้ำลายในวิกฤติน้ำท่วม
วิเคราะห์ปรากฎการณ์ "นิติราษฏร์" ผ่านมุมมองนักสิทธิมนุษยชน - สื่อ
“ชีวิต ความคิด อิสรภาพ”…ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
“ครก. 112 VS สยามประชาภิวัฒน์” ว่าด้วยการแก้ - ไม่แก้ ม. 112
'ซูม' อนาคตวงการภาพยนตร์ไทย
มองการเมืองไทย ปี 2555...ปรองดองหรือนองเลือด ?
เสียงสะท้อนครอบครัวเหยื่อชุมนุม "เท่ากัน" ไม่ได้หมายถึง "เท่าเทียม" ?
Jan 21, 2012 10:13

รายการ  Intelligence  ประจำวันที่  21 ม.ค. 2555 

 

หลังจากคณะรัฐมนรีออกมติเรื่องการชดเชยเยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองระหว่างปี 2548-2553  โดยเฉพาะการจ่ายเงินเยียวยาให้ผู้เสียชีวิต รายละ 7.75 ล้านบาท  แบ่งเป็น เงินชดเชยเยียวยาด้านจิตใจ 3 ล้านบาท และเงินชดเชยการเสียชีวิต 4.5 ล้านบาท เกณฑ์การเยียวยาลดหลั่นกันไป  แล้วแต่กรณี เช่น ทุพพลภาพ  บาดเจ็บสาหัส และถูกดำเนินคดี   จากเหตุชุมนุมทางการเมือง โดยจะมีคณะกรรมการเยียวยาทางแพ่ง  ที่นายธงทอง จันทรางศุ เป็นประธานกลั่นกรองอีกครั้ง

 

       

รายการ Intelligence  พูดคุยกับ 2 ครอบครัวที่สูญเสีย "ลูก" จากเหตุการณ์รุนแรงทางการเมือง พค. 53  ครอบครัวอัคฮาดสูญเสีย  นางสาวกมลเกด อัคฮาด   พยาบาลอาสาที่ถูกยิงเสียชีวิตในวัดปทุมวนาราม เมื่อวันที่ 19 พค. 53  และครอบครัว "ศรีเทพ"ที่สูญเสีย  นายสมาพันธ์ ศรีเทพ หรือ น้องเฌอ วัยเพียง 17 ปี เมื่อวันที่ 15 พค. 53

       

 พันธ์ศักดิ์  ศรีเทพ  พ่อของน้องเฌอ  มีความเห็นต่อมติ ครม.ในหลายแง่มุมที่น่าสนใจ  เช่น หลักเกณฑฺ์การเยียวยา อยู่บน "ความเท่ากัน"  แต่จะสร้างปัญหาเรื่อง "ความเท่าเทียม" เพราะตามหลักสิทธิมนุษยชน ความเท่ากัน ไม่ใช่ความเท่าเทียม คนที่ด้อยโอกาสกว่าต้องได้รับการช่วยเหลือมากกว่า    การนำเหตุการณ์คนละเหตุการณ์ คนละบริบทมาเปรียบเทียบ  เช่น เหตุการณ์ ปี 2516  2519   2535   และ เหยื่อจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้  ควรแยกประเด็นออกจากกันเพื่อให้มีการช่วยเหลือแต่ละกรณีอย่างเหมาะสม

 

     

  พะเยาว์  อัคฮาด  หรือที่รู้กันดีในชื่อ "แม่น้องเกด"   ระบุว่า ตัวเลข ไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่สิ่งสำคัญที่การทวงคืน "ความยุติธรรม" ในช่วงหลังเทศกาลปีใหม่ เธอเดินทางไปมอบของขวัญปีใหม่ เป็นรูป ลูกสาวของเธอ ถ่ายคู่กับพลตรีขัตติยะ สวัสดิผล หรือเสธ.แดง  ทั้งที่  กองทัพบก   ปปช.  พรรคประชาธิปัตย์    ร.ต.อ.เฉลิม  โดยมีจุดประสงค์เพื่อย้ำเตือนว่าคดี 91 ศพ ยังไม่คืบหน้า เธอต้องการให้กองทัพ  ดำเนินการสอบสวนทางวินัยกับทหาร และต้องการให้ดีเอสไอส่งสำนวนผู้เสียชีวิตที่ยังค้างอยู่ในมือ ไปยังชั้นอัยการโดยเร็ว

   

 สิ่งที่ครอบครัวผู้สูญเสียทั้ง 2  เห็นตรงกัน คือ  สำหรับผู้เสียชีวต  บาดเจ็บ สูญเสียบ้านเรือน ทรัพย์  หนทางเยียวยาที่ทำได้ง่ายและทันที คือ  ภารหน้าที่ของรัฐบาลที่จะประกาศต่อสังคม ถึงกำหนดระยะเวลา กรอบการทำงานหาข้อเท็จจริง  เป็นหนทางที่ดีกว่ารอให้ครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบออกมาเรียกร้องกดดันด้วยตัวเองอย่างทุกวันนี้

 

Produced by VoiceTV

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog