รายการคิดเล่นเห็นต่าง กับ คำผกา ประจำวันที่ 22 กรกฏาคม 2555
ถ้ามันถึงวันนั้น ระบบเศรษฐกิจของ
บุรีรัมย์จะขับเคลื่อนทุกอย่าง
ด้วยฟุตบอล ถึงจุดนั้นมันไม่ใช่แค่
ฟุตบอล มันเป็นเรื่องของชีวิต ชีวิตที่
มีเงินในกระเป๋าและมีดัชนีชี้วัดใน
เรื่องของความสุข
ในประวัติศาสตร์การกำเนิดของฟุตบอล เริ่มขึ้นเมื่อ3000กว่าปีมาแล้วโดยชนเผ่าอะบอริจินในนครวิคตอเรียของออสเตรเลียปัจจุบันซึ่งเรียกเกมที่ใช้เท้าเตะนี้ว่า "มาร์นกุค" (marn gook) ก่อนที่ผู้อพยพผิวขาวจะมาพบเห็น 206ปีก่อนคริสตกาลชาวจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่นเล่นลูกเตะ หรือ คูจู ปี800- 1400 เกมฟุตบอลกลายเป็นเกมศักดิ์สิทธิ์ของชาวมายา จึงมีความเชื่อได้ว่าเกมฟุตบอลนั้นเป็นเกมการเล่นของชนชั้นล่างจึงไม่มีกติกา และนั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้เล่นฟุตบอลในยุคสมัยนั้นถึงกับพิการหรือไม่ก็เสียชีวิตเลยทีเดียว
พัฒนาการของเกมฟุตบอลในปี1844-1855ในอเมริกาเริ่มมีการประดิษฐ์ลูกบอลที่เป็นทรงกลม ก่อนศตวรรษที่19กีฬาฟุตบอลได้ถูกเผยแพร่ในโรงเรียนเอกชนและมีการกำหนดกติกาอย่างไม่เป็นทางการขึ้นเพื่อฝึกวินัยของนักเรียน เมื่อเข้าสู่ยุควิคทอเรียนเกมฟุตบอลถูกกำหนดให้เป็นกีฬาประเภททีมถูกใช้ในการพัฒนาเยาวชนเพื่อเป็น "ผู้พิชิตและผู้ปกครองของจักรวรรดิอังกฤษ"และเพื่อ "ดึงพลังหนุ่มจากอัตกามกิจและรักร่วมเพศ" ปี1872 สมาคมฟุตบอลอังกฤษได้มีการกำหนดว่าลูกบอลต้องมีทรงกลมและมีขนาดตามมาตรฐาน และเริ่มมีการกำหนดกติกาฟุตบอลอย่างเป็นทางการขึ้น และเกิดFA Challenge Cup อย่างเป็นทางการ แต่ในบางประเทศอย่างIreland,Canada,Australia,New Zealand ที่ไม่ยอมรับฟุตบอลเพราะถือเป็นวัฒนธรรมตัวแทนเจ้าอาณานิคม ซึ่งแตกต่างกับประเทศแอฟริกาที่รับฟุตบอลไว้เพราะมองว่าชัยชนะของเกมเป็นการชนะเชิงสัญลักษณ์ นั่นก็คือการรู้สึกว่าได้มีชัยชนะเหนือเจ้าอาณานิคม นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ฟุตบอลได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองของแต่ละประเทศ
สำหรับประวัติศาสตร์ฟุตบอลในประเทศไทยสามารถแบ่งออกมาได้เป็น 3 ยุค คือยุคแห่งราชสำนักนั่นเริ่มในสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงปลายสมัยรัชกาลที่5 ยุคราชสำนักสู่สามัญชนเริ่มตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 5 จนถึง รัชกาลที่ 8 สุดท้ายยุคอุตสาหกรรมแห่งการสร้างผู้เล่นและผู้ชมคือตั้งรัชกาลที่9จนถึงปัจจุบัน การเมืองกับฟุตบอลในประเทศไทยได้เกิดขึ้นเมื่อมีการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานที่เริ่มมีมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2449 ซึ่งในขณะนั้นการปกครองภายในประเทศยังคงเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จึงได้ให้ความสำคัญกับถ้วยพระราชทานมาก แต่เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี2475โดยคณะราษฎร การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานจึงได้ถูกยกเลิกลงจนถึงปี2490 และในปี2491ถึงได้มีโอกาสกลับมาเตะอีกครั้ง
จนมาถึงในยุคปัจจุบันฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีกเกิดขึ้นพร้อมกับกระแสท้องถิ่นนิยมใหม่ โดยทีมสโมสรของฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีกกลายเป็นสโมสรที่ต้องเลี้ยงตัวเองให้ได้ ซึ่งจำนวนเงินรายได้และผู้ชมจะช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ สัญลักษณ์และผลิตภัณฑ์ของแต่ละทีมซึ่งจะเห็นได้จากทีมของบุรีรัมย์ยูไนเต็ดของ เนวิน ชิดชอบนั่นเอง ดังนั้นฟุตบอลไม่ได้เป็นเพียงแค่การเล่นกีฬาเป็นเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างธุรกิจและที่สำคัญนั่นคือการเมืองที่ถูกแฝงเข้ามาด้วยอย่างชัดเจน