ไม่พบผลการค้นหา
เครื่องแบบนักเรียนควรผ่อนปรน ยกเลิกหรือไม่
นิยายติดเรท บทอัศจรรย์ของยุคสมัยใหม่
การเมืองในแบบเรียนประวัติศาสตร์ไทย
การเมืองในแบบเรียนประวัติศาสตร์ไทย ตอน 2
การข่มขืนและความรุนแรงทางเพศในสังคมไทย
การพักผ่อนหย่อนใจ และ ลำดับชั้นทางสังคม
"New Year Resolutions"
พื้นที่ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
ความหมายและหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์ (ตอนจบ)
ฟุตบอลกับการเมือง ตอนจบ
วรรณกรรมต้องห้ามในร้านหนังสือ
คุกและการลงทัณฑ์
คุณค่าของอุดมการณ์เสรีนิยมในประเทศอังกฤษกับกรณีภาพเปลือยของเจ้าชาย "แฮรี"
ทาสคือใคร ใครคือทาส?
พื้นที่ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ตอนจบ
ยุทธศาสตร์เปลี่ยน 'วัฒนธรรม' เป็น 'สินค้า' บทเรียนจากญี่ปุ่น
กำเนิดวันชาติ
คำถาม?... หลังจากน้ำลด
ทาสคือใคร ใครคือทาส? ตอนที่ 2
โรงอาบน้ำสาธารณะคืออะไร...และอย่างไร?
วิกฤตแห่งการอ่านในสังคมไทย
Oct 28, 2012 12:45

 

รายการคิดเล่นเห็นต่าง กับ คำผกา ประจำวันที่ 28 ตุลาคม 2555

 

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ได้ลงข่าวถึงสถิติการอ่านของเด็กไทยว่ามีอัตราการอ่านหนังสือลดลง2-5 เล่มต่อ ถือเป็นอัตราที่ลดลงเรื่อยๆ จากแต่ละปีสถิติถอยหลังที่น่าหดหูใจยิ่งห่อเหี่ยวใจเข้าไปอีก เมื่อนำตัวเลขของไทยมาวางเทียบกับสมาชิกอาเซียนพบว่า "การอ่านของคนไทยอยู่ในระดับวิกฤต แต่สิงคโปร์เฉลี่ยการอ่านหนังสือแล้วอยู่ที่คนละ 50-60 เล่มต่อปี และที่น่าตกใจยิ่งกว่านั้นคือ เวียดนามมีอัตราการอ่าน 60 เล่มต่อปี"

                ทำไมคนไทยจึงมีสถิติต่อการอ่านหนังสือลดลงเรื่อยๆ นั่นอาจจะเป็นเพราะสังคมไทย มีช่องว่างของการอ่านซึ่งสัมพันธ์กับชนชั้นของไทย โดยที่เราไม่สามารถสร้างชนชั้นกลางที่มีนิสัยรักการอ่านได้ เพราะนิสัยรักการอ่านเป็นพฤติกรรมที่เดิดขึ้นมาพร้อมๆกับชนชั้นกลางที่มีความหวังที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเองด้วยการแสวงหาความรู้จากการอ่านหนังสือ และหนึ่งในเครื่องมือแห่งการแสวงหาความรู้ นอกจากการเข้าโรงเรียนแล้วนั้นก็คือการอ่าน แต่ก็มีสิ่งที่เรียกว่าเป็นอุปสรรคต่อการอ่านของคนไทยอยู่มากไม่ว่าจะเป็นจำนวนของห้องสมุดที่ไม่ได้กระจายออกไปอย่างทั่วถึง การทำหนังสือสาธารณะ และราคาหนังสือที่ค่อนข้างแพงเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับราคาหนังสือของประเทศอื่นๆ

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog