ไม่พบผลการค้นหา
การเมืองในแบบเรียนประวัติศาสตร์ไทย ตอน 2
พื้นที่ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ตอนจบ
วัยรุ่นในภาพยนตร์ไทย
พื้นที่ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
'หมุนกงล้อประวัติศาสตร์ 14 + 6 ตุลา' สู่อนาคตการเมืองไทย
กำเนิดวันชาติ
วิกฤตแห่งการอ่านในสังคมไทย
คำถาม?... หลังจากน้ำลด
ประวัติศาสตร์ว่าด้วย..ของต้องห้าม!! ในสังคมไทย
วรรณกรรมต้องห้ามในร้านหนังสือ
ประวัติศาสตร์ว่าด้วย..ของต้องห้าม!! ในสังคมไทย ตอน 2
ความขาว การเมือง เชื้อโรค
สถาปนิกแห่งความเป็นไทย
ความเป็นไทย...ใน Lonely Planet
ประวัติและผลงาน ก้าวย่างที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงของพรรคประชาธิปัตย์ ตอนที่ 2
จักรพรรดิกับประชาธิปไตย
ปืนใหญ่พญาตานี กับหนทางสู่ 'สันติภาพ' ตอน 2
40 ปีความเป็นเพื่อน
คุณค่าของอุดมการณ์เสรีนิยมในประเทศอังกฤษกับกรณีภาพเปลือยของเจ้าชาย "แฮรี"
ทาสคือใคร ใครคือทาส? ตอนที่ 2
การเมืองในแบบเรียนประวัติศาสตร์ไทย
Oct 20, 2012 07:44

รายการ คิดเล่นเห็นต่าง กับ คำผกา ประจำวันที่ 20 ตุลาคม 2555

 
เมื่อเดือนตุลาคมเวียนมาบรรจบอีกครั้งหนึ่ง ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานสักกี่ปี แต่คนไทยและทั่วโลกก็คงยังไม่เคยลืมเลือนเหตุการณ์ประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้ที่นักศึกษาและประชาชนในประเทไทยมากกว่า 5 แสนคน ที่ได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลซึ่งในสมัยนั้นคือรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร จนทำให้มีผู้เสียชีวิตและสูญหายไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งสาเหตุของเหตุการณ์เริ่มมาจากการที่จอมพลถนอม กิตติขจร ทำการรัฐประหารตัวเองในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 โดยนักศึกษาและประชาชนมองว่าเป็นการสืบทอดอำนาจตนเองจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งในขณะนั้นจอมพลถนอมจะต้องเกษียณอายุราชการเนื่องจากอายุครบ 60 ปี อีกทั้งจอมพลประภาส จารุเสถียร บุคคลสำคัญในรัฐบาล ก็มิได้รับการยอมรับเหมือนจอมพลถนอม แต่กลับต่ออายุราชการให้ตนเอง ประกอบกับข่าวคราวเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่นในวงราชการต่าง ๆ สร้างความไม่พอใจแก่ประชาชนอย่างมาก เกิดการเดินขบวนครั้งใหญ่จึงเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2516 ออกไปตามถนนราชดำเนิน สู่ลานพระบรมรูปทรงม้า โดยมีแกนนำเป็นนักศึกษาและมีประชาชนเข้าร่วมด้วยจำนวนมากแกนนำนักศึกษาได้เข้าพบเจรจากับรัฐบาลและบางส่วนได้เข้าเฝ้า ฯ จนได้ข้อยุติเพียงพอที่จะสลายตัว แต่กลับมีอุปสรรคทางการสื่อสารทำให้ไม่สามารถควบคุมมวลชนจำนวนมหาศาลนั้นได้ จนนำไปสู่การนองเลือดในเช้าตรู่ของวันที่ 14 จนถึงในช่วงค่ำของวันที่ 15ได้มีประกาศว่า จอมพลถนอม จอมพลประภาส และ พ.อ.ณรงค์ ได้เดินทางออกนอกประเทศแล้ว เหตุการณ์จึงค่อยสงบลง


สำหรับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519เป็นการปราบปรามนักศึกษาและผู้ประท้วงในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตท่าพระจันทร์ และที่สนามหลวง ขณะนั้น นักศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัยกำลังเดินขบวนประท้วงการเดินทางกลับประเทศไทยของจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี สถิติอย่างเป็นทางการบ่งว่า มีผู้เสียชีวิต 46 คนในเหตุการณ์ ซึ่งมีทั้งถูกยิง ถูกทุบตี หรือถูกทำให้พิการ


ทั้งสองเหตุการณ์นี้ได้ถูกบรรจุเหตุการณ์ไว้ในหนังสือ "แบบเรียน 14 ตุลา 16" โดยผู้แต่งหนังสือเล่มนี้คือ คุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ในปีที่หนังสือเล่มนี้ออกมานั้น ได้เกิดการ debate กันของคุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กับ อ.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ต่อเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 แต่ก่อนที่คุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์จะได้เป็นผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ เคยมีนักเขียนท่านหนึ่งซึ่งเป็นผู้ที่ร่วมอยู่ในเหตุการณ์เดือนตุลาจะรับหน้าที่เป็นคนเขียนเอง แต่สุดท้ายก็ต้องเปลี่ยนใจเพราะ "ไม่ประสงค์จะยอมจำนนกับวัฒนธรรมประนีประนอมอย่างราชการ  ซึ่งยังคงมีความกลัว ระแวดระวังไม่กล้าขัดแย้งจนเกินไป ไม่กล้าที่จะเข้ามาชำระประวัติศาสตร์


เมื่อเกิดเป็นหนังสือ 14 ตุลา 16 ขึ้นโดยมีกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้นอยู่เบื้องหลังนั่นหมายความว่าหนังสือเล่มนี้จะมีความอ่อนด้อยทางความจริงของประวัติศาสตร์จริงที่เกิดขึ้น แต่ถ้าคนเขียนยืนยันว่าต้องการจะเขียนประวัติศาสตร์ในแบบเรียนโดยที่ไม่ต้องกลัวว่า กระทรวงศึกษาธิการจะมาเซ็นเซ่อร์ข้อมูลและไม่ยอมสั่งพิมพ์รึเปล่านั้น ความจริงแล้ว หากเรายังยืนยันว่าจะพิมพ์ต่อ หนังสือเล่มนี้จะกลายเป็นอีกหนึ่งเวอร์ชั่นที่กระทรวงศึกษาธิการไม่มี และคิดว่าเป็นการมีคนเขียนประวัติศาสตร์ขึ้นมาหลายๆเล่ม หลายๆมุมมองของแต่ละบุคคลดีกว่าที่จะให้มีประวัติศาสตร์เพียงแค่เล่มเดียวแล้วระบุว่าถูกพิมพ์โดยใครเพียงแค่ฝ่ายเดียว

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog