ปรากฎการณ์ชอปปิงออนไลน์หรืออีคอมเมิร์ซในประเทศไทยที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คือสัญญาณบวกของเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่นักวิเคราะห์มองว่าจะสามารถโตได้อีกมาก
เว็บไซต์ Straitstimes ได้อ้างอิงข้อมูลจากสำนักข่าว Bloomberg ว่าอุตสาหกรรมค้าปลีกในปัจจุบันปรับตัวตามพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางการซื้อสินค้ามากขึ้นแบบทวีคูณ ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยที่ระดับการซื้อขายของแบบออนไลน์นั้นโตขึ้นมากกว่า 100% ทิ้งห่างรูปแบบการซื้อของแบบดั้งเดิมที่ผลสำรวจล่าสุดชี้ว่าการขายปลีกแบบออฟไลน์หรือมีหน้าร้านนั้นโตเพียงแค่ 10% เท่านั้น
เว็บไซต์ Straitstimes ได้อ้างอิงข้อมูลจากสำนักข่าว Bloomberg ว่าอุตสาหกรรมค้าปลีกในปัจจุบันปรับตัวตามพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาใช้อินเทอร์เน็ต��ป็นช่องทางการซื้อสินค้ามากขึ้นแบบทวีคูณ ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยที่ระดับการซื้อขายของแบบออนไลน์นั้นโตขึ้นมากกว่า 100% ทิ้งห่างรูปแบบการซื้อของแบบดั้งเดิมที่ผลสำรวจล่าสุดชี้ว่าการขายปลีกแบบออฟไลน์หรือมีหน้าร้านนั้นโตเพียงแค่ 10% เท่านั้น
โดยจากการเปิดเผยข้อมูลขอบริษัท Total Access Communication หรือ DTAC ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์รายใหญ่เป็นอันดับ 3 ในไทยชี้ว่าคนไทยใช้เวลาในแต่ละวันบนโซเชียลมีเดียเฉลี่ยแล้วคนละ 6 ชั่วโมงต่อวัน โดยเฉพาะบนแพลทฟอร์มของเฟซบุ๊กและยูทูป
ธนาคารเมย์แบงค์ ของมาเลเซียระบุว่า ไทยคือประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการแยกข้อมูลการค้าปลีกที่มีการซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ตออกมาเป็นข้อมูลค้าปลีกประเภทออนไลน์อย่างชัดเจน ซึ่งส่งผลดีอย่างมากสำหรับทุกฝ่ายที่จะประเมินว่าทิศทางการเติบโตของอีคอมเมิร์ซนั้นกำลังเติบโตไปในทิศทางใด อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบอัตราการเติบโตของการค้าปลีกออนไลน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับชาติอื่นๆ ในเอเชียยังถือว่าน้อยกว่าอยู่มาก เนื่องจากการค้าปลีกออนไลน์ในจีนและเกาหลีใต้โตอย่างน้อย 16% และ 18% ตามลำดับ ในขณะที่อัตราการโตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โตเพียงไม่ถึง 4% เท่านั้นเมื่อเทียบกับการค้าปลีกทุกรูปแบบ แสดงให้เห็นว่าภายในระยะเวลาประมาณ 5 ปีข้างหน้า การค้าปลีกออนไลน์ในภูมิภาคจะสามารถโตได้ราว 5-10%
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์จากธนาคารเมย์แบงค์มองว่า ตัวเลขที่เห็นอาจน้อยกว่าศักยภาพที่แท้จริงของตลาด ซึ่งหากทุกประเทศสามารถที่จะแยกข้อมูลการค้าปลีกที่มีการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตออกมาเป็นข้อมูลค้าปลีกประเภทออนไลน์อย่างชัดเจน ก็จะช่วยให้นักการตลาดและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถประเมินสถานการณ์ทางการตลาดได้อย่างถูกต้องและแม่นยำขึ้น