สูญเสียไปเท่าไรกับปัญหารถติดในกรุงเทพฯ? เสียเงินค่าพลังงานปีละ 6,000 ล้านบาทต่อปี และเสียโอกาสด้านเวลา 11,000 ล้านบาทต่อปี
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การจราจรติดขัดในกรุงเทพฯ จะก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือวิธีการเดินทางของคนกรุงเทพฯ (Reallocation) ทำให้เกิดการบิดเบือนค่าใช้จ่ายจากธุรกิจหนึ่งไปสู่อีกธุรกิจหนึ่ง, การบริโภคเชื้อเพลิงพลังงานที่เพิ่มขึ้น คิดเป็นเม็ดเงินประมาณ 6,000 ล้านบาทต่อปี และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ เพื่อแก้ปัญหาด้านการจราจร
และยังพบว่า คนกรุงเทพฯ ใช้เวลาเดินทางนานขึ้น 35 นาทีต่อการเดินทาง เมื่อนำมาคำนวณเป็นค่าเสียโอกาสทางด้านเวลาที่คนกรุงเทพฯ ต้องรถติดอยู่บนถนน ลดทอนเวลาสร้างรายได้ หรือกิจกรรมทางเศรษฐกิจ คิดเป็นเม็ดเงินมูลค่าประมาณ 11,000 ล้านบาทต่อปี หรือเฉลี่ยประมาณ 60 ล้านบาทต่อวัน
ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เวลาที่คนกรุงเทพฯ ใช้เดินทางเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 35 นาทีต่อการเดินทาง นำมาซึ่งการสูญเสียทางเศรษฐกิจที่หายไปโดยไม่สามารถเรียกคืนกลับมาได้ (Unrecoverable Loss) เป็นความสูญเสียต่อเศรษฐกิจในแง่ประสิทธิภาพในการสร้างผลผลิตของประเทศ แต่ก็เป็นต้นทุนที่ประชากรยอมจ่าย เพื่อแลกกับการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจกรุงเทพฯ
Source:
https://www.economist.com/blogs/economist-explains/2014/11/economist-explains-1
https://news.voicetv.co.th/business/410007.html
https://www.kasikornresearch.com/TH/K-EconAnalysis/Pages/ViewSummary.aspx?docid=35675
http://www.thansettakij.com/content/96083