รายการ คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา ประจำวันที่ 1 ธันวาคม 2555
การออกแบบภูมิทัศน์ของเมืองโลก
การเปลี่ยนผ่านประเทศที่กำลังพัฒนาไปเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ทำให้เห็นความความแตกต่าง คุณคำผกาได้มีโอกาสไปเยือนกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ พบว่า ที่นั่นไม่เห็นประชาชนใช้โทรศัพท์มือถือตลอดเวลา เหมือนประเทศไทยที่แต่ละคนที่มีสมาร์ทโฟน จะก้มหน้าก้มตาเล่นโทรศัพท์ และยังพบว่าทุกอย่างเวลาซื้อ-ขาย จะใช้บัตรเครดิต รถเมล์วิ่งเลนกลาง เพื่อให้ไปเร็วที่สุด แต่ที่ประทับใจมากที่สุดคือ เกาหลีใต้จากเมืองอุตสาหกรรมมาเป็นเมืองที่น่าอยู่และ Eco Friendly จนได้รางวัลระดับโลก และที่สำคัญที่สุดคือ "การฟื้นฟูคลองซองกเยซอน"
คลองซองกเยซอน (Cheonggyecheon) เป็นคลอง ในสมัยราชวงศ์ โซซอน อายุกว่า 600 ปี มีความยาวประมาณ 8.4กิโลเมตร ไหลผ่านย่านใจกลางกรุงโซล แต่ในช่วง ปี พ.ศ. 2500-2520 ได้มีการพัฒนาประเทศอย่างก้าวกระโดด ทำให้คลองถูกถมลงเป็นถนนและทางด่วน เกิดตึกสูงมากมาย ทำให้คลองซองกเยซอน เริ่มเน่าเสียและตื้นเขิน เต็มไปด้วยชุมชน
ต่อมาในปีพ.ศ.2545 นายลี มยอง บัก (Lee Myung –bak) เป็นผู้ว่าการกรุงโซล(ปัจจุบันเป็นประธานาธิบดีเกาหลีใต้) ได้มีการฟื้นฟูคลองซองกเยซอนขึ้น ซึ่งตอนแรกมีการคัดค้าน ต่อมามีการร่วมมือร่วมใจกัน จนเริ่มโครงการขึ้นได้ ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2546 มีการทุบทางด่วน และรื้อถนนโดยรอบ จนแล้วเสร็จในปี 2548 มีการฟื้นฟูคลองทั้งสองฝั่ง มีร้านกาแฟ สถานที่พักผ่อน มีการสร้างน้ำพุตลอดแนว ไล่น้ำเสียออก สูบน้ำจากแม่น้ำฮัน(Han River) เข้ามา 120,000ตัน
โครงการบูรณะปฏิสังขรณ์ ซองกเยซอน ทำให้ในปี 2550 นายลีได้รับเลือกให้เป็น "ฮีโร่แห่งสิ่งแวดล้อม" จาก นิตยสาร ไทมส์ พร้อมกับอดีตรองประธานาธิบดีของสหรัฐ อเมริกา อัล กอร์ มีการสร้างป่าแห่งกรุงโซลคือการสร้างพื้นที่สีเขียวให้กับประชาชน พื้นที่ในส่วนของโซล ซิตี้ ฮอลล์ มีการเปิดพื้นที่ในการแสดงวัฒนธรรมที่เรียกว่า โซล พลาซา ขึ้นเพื่อให้เป็นที่พักผ่อนและแสดงผลงานทางวัฒนธรรมได้ และยังมีการอนุรักษ์ของเก่าอยู่
นี่เป็นรอยต่อขบวนการต่อเศรษฐกิจ ที่ยังมีเรื่องประท้วงของแรงงาน มีอาคารออฟฟิศที่ทันสมัย แต่การพัฒนาเมืองให้น่าอยู่หรือไม่ให้ดูที่"ฟุตบาท"ว่ามีขนาดกว้างมากน้อยแค่ไหน