ไม่พบผลการค้นหา
พื้นที่ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ตอนจบ
สถาปนิกแห่งความเป็นไทย
ประวัติและผลงาน ก้าวย่างที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงของพรรคประชาธิปัตย์
รักแท้ ช็อกโกแลตและวันวาเลนไทน์
อนุสรณ์สถานที่ถูกลืม
พื้นที่ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
ไปรู้จักกลุ่ม FEMEN
มหาวิทยาลัยไม่ใช่คำตอบ
บทเรียนของเทย์เลอร์รีพอร์ตเปรียบกับรายงานคอป.
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนกับความเป็นไปได้
นางสาวสยาม สตรีผู้เป็นศรีสง่าแห่งรัฐธรรมนูญ
บัญญัติ 10 ประการที่จะนำพรรคประชาธิปัตย์กลับมาสู่ความรุ่งโรจน์
รัฐไทยไม่เคยแทรกแซงตลาดการค้าข้าวจริง?
นิยายติดเรท บทอัศจรรย์ของยุคสมัยใหม่
รถไฟความเร็วสูงกับอนาคตของประเทศไทย
แนวความคิดอนุรักษ์ มาจากไหน?
ความสัมพันธ์ของสถานีโทรทัศน์กับรัฐประหาร ตอนที่ 2
ทำไมคุณภาพของการศึกษาไทยจึงต่ำติดอันดับโลก
มนุษย์ไม่ได้เกิดมาเพื่อที่จะรักเดียวใจเดียว
การขุดค้นหาตัณหาของผู้หญิง
'ความสัมพันธ์ของสถานีโทรทัศน์ไทยกับรัฐประหาร'
Apr 13, 2013 06:07

รายการคิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา ประจำวันเสาร์ที่  13 เมษายน 2556

 

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี 2475 ได้มีการริเริ่มตั้งสถานีโทรทัศน์ขึ้นมา  โดยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม  และได้จัดตั้ง บริษัทไทยโทรทัศน์จำกัด ตั้งสถานีโทรทัศน์ช่อง ๔ บางขุนพรหม  ด้วยทุนจดทะเบียน 20  ล้านบาท ออกอากาศครั้งแรกในวันชาติที่  24  มิถุนายน 2498 รายการช่วงแรก เป็นข่าว ละครร้อง ละครรำ และภาพยนตร์จากต่างประเทศ 
 
 
 
พอในปี 2500 จอมพล ป.ใช้โทรทัศน์รณรงค์ให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้งและหาเสียง พรรคเสรีมนังคศิลา ใช้โทรทัศน์หาเสียงพรรคเดียว พรรคอื่นไม่มีสิทธิใช้โทรทัศน์ ต่อมาพลเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกาศยึดอำนาจทางช่อง  4 และในปีนั้นช่อง  4 เสนอรายชื่อสมาชิกสภาประเภทที่ 2 ก่อนมีประกาศเป็นทางการ หัวหน้าข่าวถูกรัฐบาลเล่นงาน
 
 
ปี  2501 กองทัพบกตั้งสถานีโทรทัศน์ ช่อง  7 ที่สนามเป้า ออกอากาศ 25 มกราคม 2501 และวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2517 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง  5(ททบ.5)
 
 
ปี 2505 กรมประชาสัมพันธ์ ก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 ขอนแก่น ช่อง  8 ลำปางและช่อง 10 สงขลา
 
 
ปี 2510 บ.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ ตั้งสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ได้รับสัมปทาน  15 ปี  (2510-2525)
 
 
ปี  2512 กรมประชาสัมพันธ์ก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ช่อง 12 สุราษฏร์ธานี และปีนั้นมีการถ่ายทอดสดยานอพอลโลและมนุษย์อวกาศอเมริกันลงสู่พื้นพระจันทร์ผ่านดาวเทียมอินเทลแซท
 
 
ปี  2513 บ.บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัดก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ช่อง 3  เพื่อการค้า
 
 
 ปี 2516 โทรทัศน์บิดเบือนข่าวการเคลื่อนไหวของนิสิต นักศึกษา หลังเหตุการณ์  14 ตุลาคม  
 
 
มีความพยายามปรับปรุงโทรทัศน์ให้มีสาระเพื่อประชาชนแต่ไม่เป็นผล   
 
 
ปี  2518 รัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ให้มี  กบว.ควบคุมเนื้อหาการออกอากาศ ให้วิทยุมีโฆษณาได้ 8 นาที/ชม.   โทรทัศน์โฆษณาได้ 10 นาที /ชม.
 
 
ปี  2518  ห้ามเพลงเพื่อชีวิตออกอากาศ
 
 
ปี2519 คณะปฎิรูปฯ ออก ปร.17 ควบคุมการเสนอข่าวทางโทรทัศน์ และ ออก ปร.42 คุมหนังสือพิมพ์ และประกาศรายชื่อหนังสือต้องห้าม 100 เล่ม หนังสือพิมพ์ไร้เสรีภาพ
 
 
ปี  2532 มีสถานีเคเบิลไอบีซี  ซึ่งอยู่ในเครือบริษัท ชินวัตร ในปี 2534 มีไทยสกายทีวี ของกลุ่มธนายง
 
 
ปี  2535 เกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ  ประชาชนถูกปิดกั้นข่าวสาร
 
 
ปี 2539  สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ระบบยูเอชเอฟ ของกลุ่มบริษัท สยามทีวีแอนด์คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด  เริ่มแพร่ภาพออกอากาศ วันที่ 1 กรกฎาคม 
 
 
ปี 2550 สถานีโทรทัศน์ไอทีวีถูกปิดลงหลังการทำรัฐประหารในปี 2549 และให้กรมประชาสัมพันธ์เข้ามาดูแล ภายในชื่อสถานีทีไอทีวี และวันที่ 14 มกราคม 2551  เกิดจอมืด เมื่อมีการเปลี่ยนถ่ายไปเป็นทีวีสาธารณะไทยทีบีเอสในปัจจุบัน
Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog