ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - เรือสำราญไฮบริดลำแรกของโลกออกเดินทางแล้ว - Short Clip
World Trend - ผู้หญิงยิ่งทำงานน้อย ยิ่งลดความเสี่ยงเป็นเบาหวาน - Short Clip
World Trend - ศิลปินดังรับปริญญากิตติมศักดิ์สาขาดนตรี - Short Clip
World Trend - สื่อใหญ่ลั่น 'ผิดหวังอย่างยิ่ง' ไทยออกกม.ไซเบอร์ - Short Clip
World Trend - แคลิฟอร์เนียหนุนบ้านใหม่ให้ติดตั้งโซลาร์เซลล์ - Short Clip
World Trend - ถ่ายเซลฟี่แบบ 3D ด้วยมือถือในราคา 16,000 บาท - Short Clip
World Trend - ยูกันดาผ่านกม.โซเชียลฯ จำกัดการ 'นินทา' - Short Clip
World Trend - ‘ทวิตเตอร์’ ได้กำไรเป็นครั้งแรก - Short Clip
World Trend - ฝรั่งเศสเตรียมใช้ ‘รถไฟไร้คนขับ’ ภายใน 5 ปี - Short Clip
World Trend - อินสตาแกรมทดสอบฟีเจอร์ 'ชุมชนนักศึกษา' - Short Clip
World Trend - EU จ่อปรับเว็บไซต์ที่ไม่ลบข้อความฝ่ายหัวรุนแรงใน 1 ชม. - Short Clip
World Trend - เกาหลีใต้เริ่มแบนถุงพลาสติกในซูเปอร์มาร์เก็ต - Short Clip
World Trend - อูเบอร์เพิ่มบริการขายของในรถ - Short Clip
World Trend - Tag Heuer เปิดตัวสมาร์ตวอตช์สำหรับตีกอล์ฟ - Short Clip
World Trend - 'รองเท้าผ้าใบ' เทรนด์สุขภาพมนุษย์เงินเดือน - Short Clip
World Trend - ดื่มน้ำผลไม้มากเกินเสี่ยงตายไวเท่าน้ำอัดลม - Short Clip
World Trend - โมโตโรลา เปิดตัวสมาร์ตโฟน 'แอนดรอยด์โก' รุ่นแรก - Short Clip
World Trend - 'สปอติฟาย' กับการก้าวให้ทันบริษัทเทคโนโลยีแถวหน้า - Short Clip
World Trend - Viking จัดทริปล่องเรือ 59 ประเทศใน 245 วัน - Short Clip
World Trend - ยูทูบ เตรียมเพิ่มฟีเจอร์ไม่ระบุตัวตนเข้าใช้งาน - Short Clip
World Trend - คลินิกบำบัดอาการติดโซเชียล คืนละ 50,000 บาท - Short Clip
Feb 26, 2018 10:50

ปัจจุบันการติดโซเชียลมีเดีย ถือเป็นปัญหาใหญ่ของคนในยุคปัจจุบัน หลังจากที่อินเทอร์เน็ตและสมาร์ตโฟนเข้ามามีบทบาทในชีวิตมากขึ้น ซึ่งในขณะที่หลายคนยอมควักกระเป๋าซื้อสมาร์ตโฟนรุ่นใหม่ แต่ก็มีคนอเมริกันจำนวนไม่น้อย ที่ยอมจ่ายเงินราว 3 แสนบาท เพียงเพื่อให้คนที่รักเลิกเล่นโทรศัพท์มือถือ

ตั้งแต่ปี 2013 ได้มีคลินิกที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อบำบัดอาการเสพติดอุปกรณ์ดิจิทัล เกิดขึ้นกว่า 10 แห่งในซิลิคอนวัลเลย์ รัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่บริษัทเทคโนโลยีหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น แอปเปิล, เฟซบุ๊ก ,ทวิตเตอร์ และกูเกิล ซึ่งคลินิกเหล่านี้มีไว้เพื่อบำบัดเยาวชนที่เอาแต่จ้องจอสมาร์ตโฟนมากกว่า 20 ชั่วโมงต่อวัน

หนึ่งในนั้นคือคลินิกที่ชื่อว่า 'Paradigm' ซึ่งมีสวนรายล้อมและติดกล้องวงจรปิดทั่วบริเวณ โดยตั้งอยู่บนยอดเขาซึ่งห่างจากใจกลางเมืองซานฟรานซิสโก 30 กิโลเมตร โดยรับเด็กอายุ 12 ถึง 18 ปี ที่ผู้ปกครองกังวลว่าพวกเขาจะเสพติดอินเทอร์เน็ต ซึ่งคลินิกนี้รับผู้บำบัดได้ครั้งละ 8 คน และใช้เวลาในการบำบัดอย่างน้อย 45 วัน หรืออาจเพิ่มเป็น 60 วัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ภาวะซึมเศร้า, ภาวะวิตกกังวล และความก้าวร้าวของคนไข้ 

สำหรับอัตราค่าบริการของคลินิกแห่งนี้ค่อนข้างสูง อยู่ที่ราว 1,633 บาทต่อคืน หรือประมาณ 51,000 บาท แต่บริการนั้นเทียบเท่าโรงแรมหรู โดยมีอ่างจากุซซี่ที่เห็นวิวอ่าวซานฟรานซิสโก ซึ่งผู้ที่เข้ารับการบำบัดทุกคนจะต้องงดใช้โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต และจำกัดเวลาให้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาเท่านั้น พร้อมห้ามผู้บำบัดใช้โซเชียลมีเดีย ส่งข้อความ หรือเข้าเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาลามกอนาจาร โดยแต่ละวัน ผู้รับการบำบัดจะทำกิจกรรมที่ถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจน ตั้งแต่ตื่นนอน เรียนหนังสือ กินข้าว และเข้าร่วมบำบัดทั้งเดี่ยวและกลุ่ม 

ทางคลินิกระบุว่า การบำบัดของที่นี่จะเน้นปรับโปรแกรมในตัวเด็ก ให้แต่ละคนได้กลับไปเชื่อมความสัมพันธ์กับครอบครัว เพื่อน การเรียน และทำกิจกรรมที่ไม่ต้องพึ่งอินเทอร์เน็ตอีกครั้ง พร้อมสร้างความสัมพันธ์รูปแบบใหม่กับเทคโนโลยี

แดเนียล โคแว็ค ผู้อำนวยการของ Paradigm ให้ข้อมูลว่าสัญญาณเริ่มต้นของการเสพติดอินเทอร์เน็ตคือ อารมณ์แปรปรวน ชอบโกหก และชอบอยู่โดดเดี่ยว ซึ่งการจำกัดเวลาการเล่นเครื่องมือสื่อสารก่อนนอน ระหว่างทานอาหาร และที่โรงเรียนเป็นเรื่องสำคัญมาก ซึ่งหากทำไม่ได้ การบำบัดในลักษณะนี้ถือเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพราะจะทำให้เจ้าหน้าที่ได้สังเกตอาการของเด็กแต่ละคนได้อย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะช่วยบำบัดให้ตรงจุดได้ยิ่งขึ้น

นักจิตวิทยาจากนครนิวยอร์กคนหนึ่งได้นิยามอาการ 'การเสพติดอินเทอร์เน็ต' ไว้ครั้งแรกเมื่อปี 1995 แต่ที่สหรัฐอเมริกาอาการนี้ยังไม่ถือว่านี่เป็น 'โรค' อย่างเป็นทางการ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญยังถกเถียงประเด็นนี้กันอยู่ ขณะที่ทางการออสเตรเลีย จีน อิตาลี และญี่ปุ่น ถือว่าอาการนี้เป็นโรคที่ต้องรักษา ซึ่งที่เกาหลีใต้ถึงขั้นประกาศชัดเจนว่า นี่เป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อส่วนรวม และจัดให้มีการบำบัดในโรงพยาบาลรัฐ

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog