ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - เกาหลีเตรียมตั้งสถาบันปั้นบุคลากรซอฟต์แวร์ - Short Clip
World Trend - อาลีบาบาเตรียมเปิดฮับแห่งแรกในยุโรป - Short Clip
World Trend - คำสั่งเสียง AI ทำให้เกิดอคติทางเพศสภาพ - Short Clip
World Trend - เมื่อแบรนด์ฟาสต์แฟชั่นหันไป 'รักษ์โลก' - Short Clip
World Trend - AI อาจเพิ่มช่องว่างทางเพศ - ทำลายอาชีพผู้หญิง - Short Clip
World Trend - ก้าวต่อไปของ AI คือส่งข้อความแทนผู้ใช้งาน? - Short Clip
World Trend - ​'ลีโอนาร์โด ดิคาปริโอ' ช่วยสัตว์ป่าด้วย AI - Short Clip
World Trend - สื่อฮ่องกงเตือน ดูบอลโลกอาจถึงตาย - Short Clip
World Trend - 'ทรัมป์' สั่งหน่วยงานรัฐเร่งวิจัยเอไอ - Short Clip
World Trend - 'กำจัดยุงลาย' พันธกิจใหม่ของกูเกิล - Short Clip
World Trend - 'ชุดเช่า' เทรนด์ธุรกิจแฟชั่นที่ยังไปได้อีกไกล - Short Clip
World Trend - ​'แม็คคอร์มิค' ใช้เอไอปรุงเครื่องเทศรสใหม่ ๆ - Short Clip
World Trend - ไทยเตรียมเป็นเจ้าภาพ 'Robocup 2021' - Short Clip
​World Trend - ​จีนสร้างเรือตัดน้ำแข็งพลังนิวเคลียร์ลำแรก - Short Clip
World Trend - กูเกิลยุติโครงการตั้งสภาจริยธรรมเอไอ - Short Clip
World Trend - อินเดียเตรียมเปิดไฮเปอร์ลูปปี 2021 - Short Clip
World Trend - ​'มลภาวะแสง' ทำลายพื้นที่ชีวภาพกว่าครึ่งโลก - Short Clip
World Trend - ยูทูบเริ่มปล่อยหนังทั้งเรื่องให้ชมได้ฟรี - Short Clip
World Trend - ไอโฟนยังเป็นสมาร์ตโฟนอันดับ 1 ของวัยรุ่น - Short Clip
World Trend - วิจัยชี้ ผู้หญิงมีแนวโน้มเข้าใจสุนัขมากกว่าผู้ชาย - Short Clip
World Trend - ฟาสต์ฟู้ดในจีนหันจับ 'เมนู AI - หุ่นยนต์ทุ่นแรง' - Short Clip
Mar 26, 2019 05:19

ธุรกิจอาหารจำเป็นอย่างยิ่งต้องปรับให้ทันพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยเฉพาะในประเทศที่เทคโนโลยีพัฒนารวดเร็วอย่างจีน ที่เทคโนโลยีนอกจากจะช่วยทุ่นแรงคนได้แล้ว ยังเป็นกิมมิกดึงดูดลูกค้าได้ด้วย

เมื่อพูดถึงแบรนด์อาหารฟาสต์ฟู้ดในประเทศจีน ก็ต้องพูดถึงแบรนด์ที่มีอิทธิพลต่อชาวจีนที่สุดอย่าง เคเอฟซี ที่แม้จะครองตลาดและครองใจลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังคงปรับตัวและพัฒนาไม่หยุดยั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องการนำเทคโนโลยีมาใช้ อย่างที่ล่าสุด สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า บริษัท ยัม ไชนา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ยัม แบรนด์ อิงค์ เจ้าของฟาสต์ฟู้ดหลายเจ้า รวมถึงเคเอฟซี ออกมาเปิดเผยว่าบริษัทจะเน้นพัฒนาให้หน้าร้านไม่ต้องใช้เงินสด มีไอเทมในเมนูที่ล้ำสมัย และมีบริการเฉพาะ เพิ่มความพรีเมียมสำหรับลูกค้า โดยจะครอบคลุมถึงการสั่งอาหารผ่านปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ และการใช้หุ่นยนต์เป็นผู้ผลิตบางเมนู

เบื้องต้น เคเอฟซีเริ่มทดลองนวัตกรรมใหม่ ๆ ตามหน้าร้านในนครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งทำให้บริการของที่นี่โดดเด่นกว่าที่อื่น แม้จะมีไอคอนที่ทุกคนรู้จักอย่างผู้พันแซนเดอร์ส คอยต้อนรับอยู่หน้าร้านเหมือน ๆ กันก็ตาม เริ่มต้นที่หน้าจอสั่งอาหารแบบทัชสกรีน ระบบสแกนใบหน้า และการชำระเงินออนไลน์ได้ง่าย ๆ และใช้เวลาไม่นาน นอกจากนี้ ลูกค้าที่รับประทานในร้านยังจะได้บรรยากาศดี ๆ จากลิสต์เพลงที่ถูกคัดสรรผ่านแอปพลิเคชัน เหมือนกับมีดีเจมาจัดรายการให้ฟังด้วย

ร้านรูปแบบใหม่นี้มีให้บริการแล้วราว 200 ถึง 300 แห่งเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ระบบไร้เงินสดในร้านทั่วประเทศจีน ถือว่ากว้างขวางและครอบคลุมถึง 86 เปอร์เซ็นต์ของร้านภายใต้แบรนด์ยัมทั้งหมดเลยทีเดียว ซึ่งรวมถึงเคเอฟซี พิซซ่าฮัท และทาโก้ เบลล์ ด้วย โดยขั้นตอนต่อไป บริษัทวางแผนจะใช้ข้อมูลการสั่งอาหารของลูกค้าประจำกว่า 180 ล้านคน เข้าประมวลผลในระบบเอไอ เพื่อให้ออกมาเป็นเมนูสำหรับแต่ละคน ตามรสนิยมการรับประทาน // ล่าสุด ยัม เปิดเผยว่า หลังจากทดลองใช้เอไอในร้านบางสาขามาตั้งแต่เดือนมกราคม พบว่า ค่าเฉลี่ยการสั่งอาหารของลูกค้า ต่อการสั่งหนึ่งครั้ง เพิ่มขึ้นราว 1 เปอร์เซ็นต์ หรือเท่ากับอาหารมูลค่า 840 ล้านดอลลาร์ หรือ 26,500 ล้านบาท ต่อปี

ยัม ถือเป็นบริษัทที่มีร้านฟาสต์ฟู้ดในความดูแลมากที่สุดในประเทศจีน และยังคงเป็น 'เบอร์หนึ่ง' แม้จะมีคู่แข่งใหม่ที่น่ากลัวอย่าง แมคโดนัลด์ เข้ามาเปิดให้บริการ ตั้งแต่เมื่อปี 2017 ที่ผ่านมาก็ตาม รวมถึงเชนที่ขนาดเล็กกว่าอย่าง 'ไวต์ แคสเซิล' และ 'เชก แช็ก' ตลอดจนฟาสต์ฟู้ดท้องถิ่นที่ผลิตอาหารจีนรับประทานง่าย ก็ถือเป็นคู่แข่งทางการตลาดในระดับหนึ่งเช่นกัน

ทั้งนี้ บริษัทได้ 'เร่งเครื่อง' เปิดร้านใหม่เฉลี่ย 2 สาขาต่อวันเมื่อปีที่แล้ว และภายในปี 2021 ประกาศจะมีหน้าร้านในจีนทั้งหมดรวม 10,000 แห่ง จากปัจจุบัน 8,000 กว่าแห่ง ซึ่งผู้บริหารเชื่อว่าการนำเอไอมาใช้จะช่วยให้บริษัทสามารถลดต้นทุน เพิ่มยอดขาย และเอาชนะคู่แข่งได้ในที่สุด โดย โจอี วัต ซีอีโอ ยัม ไชนา เผยว่า 'บริษัทต้องนำหน้ากว่าเทรนด์ที่กำลังพัฒนาอยู่ เพราะนั่นคืออนาคต'

สาเหตุหลักที่ ยัม ไชนา แยกออกมาจากแบรนด์แม่ ยัม แบรนด์ อิงค์ เมื่อปี 2016 ก็เพราะว่าบริษัทใหญ่ไม่สามารถติดตามพัฒนาการของร้านในจีนได้อย่างเต็มที่ ส่วนหนึ่งเพราะเทคโนโลยีที่เติบโตรวดเร็วกว่าส่วนอื่น ๆ ของโลก รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เติบโตเท่าทันนวัตกรรมใหม่ ๆ ทำให้ 'ยัม' ที่ประกอบการในพื้นที่นี้ต้องมีความเท่าทันผู้บริโภคอีกทอดหนึ่ง

จุดเด่นสำหรับเมนูเคเอฟซี ที่ทำให้เป็นที่นิยมและน่าจะเติบโตได้ดีต่อไปอีก คือ ลักษณะของอาหารหลัก ซึ่งก็คือ 'ไก่' โดยไก่ทอดที่ขายแยกเป็นชิ้นสามารถนำไปปรุงหรือรับประทานกับเมนูท้องถิ่นชนิดอื่นได้ง่าย เช่น หนึ่งในลูกค้าประจำของแบรนด์อย่าง เซี่ยเป่าหัว เซลส์แมนวัย 48 ปี ที่บอกว่าตัวเขาพยายามรับประทานแบบ 'เฮลตี' และเมื่อเปิดแอปฯ เคเอฟซีดูจะพบว่ามีซุปหรือเมนูข้าวโพดเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ ไม่ใช่แบบเจ้าอื่นที่เน้นขายเฟรนช์ฟรายส์หรือไอศกรีม ซึ่งเขาไม่ต้องการ

นอกจากนี้ ถ้าเลือกรับประทานไก่ทอดสักชิ้น ยังสามารถเลือกสลัดผักและชาจีนเพื่อให้แต่ละมื้อมีประโยชน์และสมดุลขึ้นอีกด้วย ซึ่งตัวเขามักสั่งผ่านแอปฯ สมาร์ตโฟน แล้วค่อยไปรับที่สาขา ระหว่างทางกลับบ้าน ซึ่งเขากล่าวว่า ความสะดวก เชื่อใจได้ และ 'เฮลตี' นี้ มีให้เห็นไม่มากในเชนร้านฟาสต์ฟู้ดลักษณะเดียวกันในประเทศจีน

เจสัน ยู จากบริษัทวิจัยตลาด คันตาร์ เวิลด์แพเนล ชี้ว่า ความเชื่อมั่นของผุ้บริโภคและ Loyalty ต่อแบรนด์สามารถหายไปได้ในพริบตา อย่างเช่นตอนที่เกิดการระบาดของไข้หวัดนกเมื่อปี 2013 ซึ่งทำให้เคเอฟซีอยู่ในภาวะซบเซาถึง 2 ปีเต็ม แต่การหันไปจับลูกเล่นด้านเทคโนโลยีเช่นนี้ถือเป็นกิมมิกที่ไม่เสียหาย แถมยังสร้างสีสันให้กับการเลือกซื้อของผู้บริโภคด้วย และสุดท้ายแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดต่อผู้บริโภคไม่ใช่วิทยาการที่ก้าวล้ำ แต่เป็นความปลอดภัยความอาหารและโภชนาการที่มอบให้ลูกค้า ซึ่งทุกแบรนด์ควรต้องให้ความสำคัญ ในการจะอยู่รอดในธุรกิจนี้


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog