ไม่พบผลการค้นหา
แกนนำ นปช.โต้กลุ่มคนที่ยกอ้างหลักฐาน 3 ประการ ชี้ว่าการปราบปรามผู้ชุมนุมเรียกร้องการเลือกตั้ง ปี 53 เป็นความชอบธรรมของรัฐบาล

วันที่ 24 พ.ค. นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โพสต์เฟซบุ๊กถึงเหตุการณ์สลายการชุมนุมเสื้อแดง เมื่อปี 2553 โดยระบุ 10 ปี เมษา-พฤษภา 53 บางเรื่องที่ต้องอธิบายซ้ำ

"หลายคนที่คัดค้านการรำลึกเหตุการณ์ เมษา-พฤษภา 2553 ยกอ้างหลักฐานสำคัญ 3 ประการเพื่อชี้ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นความชอบธรรมของรัฐบาล ที่ใช้กำลังปราบปรามประชาชนผู้ชุมนุมเรียกร้องการเลือกตั้ง

1.รายงาน คอป.

2.คำพิพากษา ศาลชั้นต้น อุทธรณ์ ฎีกา

3.คำวินิจฉัยของ ปปช.

จึงขอใช้ความจริงเป็นอาวุธทะลวงกำแพงอคตินี้อีกครั้ง

1.คอป.คือ คณะกรรมการค้นหาความจริงที่ตั้งโดยรัฐบาลอภิสิทธิ์ ซึ่งเป็นคู่กรณีและถูกกล่าวหาว่าปราบปรามเข่นฆ่าประชาชน

ในประเทศที่เกิดเหตุการณ์ลักษณะดังกล่าว และมีการตั้งกรรมการค้นหาความจริงนำไปสู่กระบวนการปรองดองจนประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับ เช่น ชิลี กัวเตมาลา อาร์เจนตินา ฯลฯ ไม่มีประเทศใดให้รัฐบาลคู่กรณีเป็นผู้ดำเนินการ บางประเทศ เช่น เอลซัลวาดอร์ ถึงขั้นให้สหประชาชาติตั้งคนต่างชาติเป็นกรรมการและเจ้าหน้าที่ทั้งหมด รวม 23 คน

การสั่งยิง สั่งเปิดเขตกระสุนจริงเอง แล้วตั้งกรรมการค้นหาความจริงเองด้วย มีความชอบธรรมเพียงพอจะกล่าวอ้างเป็นข้อยุติหรือ ?

รายงาน คอป.ที่ขัดแย้งในสาระสำคัญกับคำวินิจฉัยของศาลจากการไต่สวนสาเหตุการตาย เช่น กรณี 6 ศพวัดปทุมวนาราม คอป.รายงานว่ามีชายชุดดำยิงต่อสู้กับเจ้าหน้าที่แต่ศาลชี้ว่าไม่มี ไม่เชื่อว่ามีการซุกซ่อนอาวุธในวัด และ 6 ชีวิตคนมือเปล่าตายเพราะกระสุนจากฝ่ายเจ้าหน้าที่ เราจะเชื่อใคร ?

2.คำพิพากษาทั้ง 3 ศาล ไม่ได้ยกฟ้องให้นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ "พ้นผิด" จากข้อกล่าวหาบงการฆ่าโดยเจตนาเล็งเห็นผล แต่เป็นเพียงข้อวินิจฉัยว่าศาลอาญาไม่มีอำนาจพิจารณาคดีเนื่องจากทั้ง 2 คนกระทำในฐานะนายกฯ และรองนายกฯ จึงเป็นอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยเริ่มต้นที่ ปปช.ในฐานะพนักงานสอบสวน

3.พวกเราตามแล้วตามเล่า ปปช.ก็ชี้แล้วชี้อีกว่าทั้ง 2 คนไม่ผิด การใช้ดุลยพินิจต่างโดยสิ้นเชิงกับกรณีชี้มูลความผิดนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกฯ และพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกฯ ในการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรเมื่อ 7 ตุลาคม 2551

กรณีดังกล่าวอัยการสั่งไม่ฟ้อง ตั้งกรรมการร่วมอัยการ-ปปช. แล้วก็ยังมีข้อเห็นต่าง แต่ ปปช.จ้างทนายฟ้องเอง ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองยกฟ้องแล้ว ปปช.ยังยื่นอุทธรณ์ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว จำเลยอีกคนหนึ่ง

แรงกระหายความยุติธรรมของ ปปช.ในคดี 7 ตุลาคม 2551 ต่างกันลิบลับกับคดี เมษา-พฤษภา 2553 จะให้ยอมรับว่าเป็นธรรมเที่ยงแท้ได้อย่างไร

วันที่เลขาธิการ ปปช.แถลงเรื่องนี้รอบล่าสุด ผมตั้งคำถามง่ายๆ ว่าผู้แถลงเชื่อหรือไม่ว่านี่คือความยุติธรรม กลับไม่มีคำตอบ มีแต่การบ่ายเบี่ยงไม่ยอมตอบ

ผมเขียนและพูดเรื่องเหล่านี้มาแล้วหลายครั้ง และเขียนอีกครั้งเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของผู้ต้องการความจริงเพื่อความยุติธรรม" 

สมชาย ยกรายงาน คอป.เชื่อมีชุดดำ

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 23 พ.ค.ที่ผ่านมา นายสมชาย แสวงการ ประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนสิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา และอดีตประธานอนุกรรมาธิการตรวจสอบข้อเท็จจริงเหตุการณ์ 10 เมษายน 2553 ระบุผ่านเฟซบุ๊ก ชี้ประเด็นในการพิจารณาข้อเท็จจริงเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 53 โดยมีเนื้อหาทั้งหมดดังนี้

"ความจริงของโศกนาฏกรรมจากการชุมนุม เม.ย.-พ.ค.53 (ตอนที่4) ความจริงที่ไม่ต้องไปตามล่าให้บิดเบือนที่ไหน

อยากให้คนไทยทุกคนได้อ่านเกิน 8 บรรทัด หรืออ่านในหน้า 171 ของรายงาน คอป. หรือในรายงานทั้งหมดของ คอป.ฉบับสมบูรณ์

ข้อมูลที่ตรงกันในรายงานของอนุกรรมาธิการตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภาที่ผมเป็นประธานสอบเองนั้นตรงกับรายงานของ คอป.ในหน้าที่ 171 ที่ระบุถึง

เหตุการณ์วันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๓ เวลาประมาณ ๑๖.๐๐ น. ผู้ชุมนุมนำโดย นายยศวริศ ชูกล่อม (เจ๋ง ดอกจิก) ซึ่งเป็นแกนนา นปช. คนหนึ่ง เข้ายึดอาวุธของเจ้าหน้าที่ทหาร เป็นปืนลูกซอง ๓๕ กระบอก พร้อมกระสุนยาง ๑,๑๕๒ นัด ปลย. ชนิดทราโว จานวน ๑๒ กระบอก พร้อมกระสุนจริง ๗๐๐ นัด และยุทโธปกรณ์อื่นๆ อีกจานวนหนึ่ง บนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า พบว่าอาวุธดังกล่าวทั้งหมดทางราชการยังไม่ได้รับคืน

นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ชุมนุมได้ยึดอาวุธของ ทหารซึ่งอยู่บริเวณถนนรอบทำเนียบรัฐบาล ถนนดินสอ และวงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็น ปลย. ๑ กระบอก ปลย. ชนิดเอ็ม ๑๖ จานวน ๙ กระบอก และชนิดทราโว ๑๓ กระบอก ปืนลูก ซอง ๑๑ กระบอก และปืนพกสั้นขนาด .๔๕ จานวน ๑ กระบอก และยุทโธปกรณ์อื่น ๆ อีกจานวน หนึ่ง ปรากฏว่าอาวุธทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น ทางราชการได้รับปืนคืนมาเพียง ๓ กระบอก คือ ปลย. ชนิดเอ็ม ๑๖ จานวน ๑ กระบอก ยึดคืนได้เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๓

จากการตรวจค้นโรงแรม เอสซีปาร์คในวันที่ไปจับนายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง และ ปลย. ชนิดทราโว ๑ กระบอกยึดได้พร้อม กับการจับกุม นายเมธี อมรวุฒิกุล เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๓ และอีกกระบอก พร้อมกระสุน จานวนมาก ยึดคืนได้เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓ จากการตรวจค้นโรงแรมสวัสดีหลังสวนอินท์ ใกล้สี่แยกราชประสงค์ ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่พักของแกนนา นปช. บางคน

๒.๕.๖.๓ เหตุการณ์รุมทาร้ายและยึดอาวุธจากเจ้าหน้าที่ทหารบริเวณแยกสามเหลี่ยม ดินแดงในวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๕๓ โดยได้ยึดอาวุธ ปลย. ชนิดเอ็ม ๑๖ จานวน ๒ กระบอก ต่อมา อาวุธดังกล่าว ๑ กระบอก ถูกตรวจยึดได้โดยเจ้าหน้าที่จากบริเวณวัดปทุมวนารามในวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๓

๒.๕.๖.๔ นอกจากนี้ ยังพบว่ามีการวางระเบิดแสวงเครื่องไว้ตามแนวกีดขวางของพื้นที่ ชุมนุม และภายหลังเหตุการณ์ตรวจพบอาวุธประดิษฐ์ อาวุธพาณิชย์ อาวุธสงครามจานวนมากในพื้นที่ ชุมนุม ทั้งมีการปรากฏตัวและการปฏิบัติการของคนชุดดาทั้งในพื้นที่ชุมนุมและพื้นที่ใกล้เคียงดังที่ได้ กล่าวมาแล้ว

และตรงกับบันทึกแจ้งความที่สถานีตำรวจชนะสงครามที่อาวุธปืนสงครามบางส่วนหายไปและใช้ในการปะทะต่อสู้จนเกิดความสูญเสียระหว่างชายชุดดำ ทหารตำรวจและประชาชนจำนวนมาก แม้ในคดีปล้นอาวุธปืน และทุบทำลายรถกับยุทโธปกรณ์ ต่อมาจะมีผู้นำไปที่ทิ้งไว้ที่ อ.ท่ามะกา จว.ก.จ.เป็น อาวุธปืนทราโว่ จำนวน ๑๐ กระบอก และอาวุธปืนลูกซอง ๒๓ กระบอกส่วนที่เหลืออีกจำนวนหนึ่งยังสูญหายไปในมือของกองกำลังชายชุดดำจนบัดนี้

โปรดอ่านและใช้วิจารณญาณกันครับว่า ในเหตุการณ์ดังกล่าวมีความจริงที่มีกองกำลังชายชุดดำก่อเหตุร้ายในระหว่างการชุมนุมของ นปช.ทั้งการใช้อาวุธสงครามร้ายแรง M16 RPG M79 ปืนสงครามอาร์ก้า ระเบิดขว้างM67 และระเบิดวางลอบสังหารเคโม และระเบิด C4 รวมถึงมีการใช้ยุทธวิธีในการก่อสงครามกลางเมืองและปฏิบัติการเพื่อสลายการชุมนุมเหมาะสมหรือไม่เพียงใด"

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :