ไม่พบผลการค้นหา
สรุปจากรายงานกระทรวงการคลังที่บรรจุอยู่ในวาระรายงานสภาผู้แทนราษฎร รายละเอียดต่างๆ จะทำให้พอเห็นภาพว่า ในด้านสาธารณสุขดูก้าวหน้าที่สุด ก้อนใหญ่ที่สุดคือการเยียวยา ขณะที่ด้านกระตุ้นเศรษฐกิจนั้นอ่อนเปลี้ยเต็มที
เงินกู้ 1 ล้านล้าน
  • 30 พ.ย.2564 กระทรวงการคลังรายงานการใช้เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท (มีการอนุมัติเพิ่มเติมอีก 5 แสนล้านรวมเป็น 1.5 ล้านล้านบาท) ต่อเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จากนั้นมีการบรรจุเป็นวาระเพื่อทราบในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันที่ 27 ม.ค.2565
  • ในส่วนของเงินกู้ 1 ล้านล้าน กระทรวงการคลังได้กู้เงินและออกตราสารหนี้แล้วรวม 987,012 ล้านบาท หรือ 98.7%
  • ครม.อนุมัติแผนงานหรือโครงการที่ใช้เงินกู้นี้ 1,130 โครงการ วงเงินรวม 987,012 ล้านบาท ณ วันสิ้นปีงบประมารณ 2564  (30 ก.ย.2564) มีการเบิกจ่ายแล้ว 870,083 ล้านบาท หรือคิดเป็น 88.15%
  • โครงการทั้ง 1,130 โครงการระจายอยู่ใน 3 แผนงานหลัก (สาธารณสุข, เยียวยา, กระตุ้นเศรษฐกิจ)  ณ วันสิ้นปีงบประมาณ 2564 มีโครงการที่ดำเนินงานแล้วเสร็จ 161 โครงการ ส่วนที่เหลือทั้งหมดจะนำรายงานต่อไป
  • หากดูในรายละเอียดจะพบว่า ก้อนที่ใหญ่ที่สุดเกือบ 7 แสนล้านและเบิกใช้เงินเกือบหมด (98%) คือ แผนงานเยียวยารูปแบบต่างๆ ทั้งแบบที่ให้กับประชาชนทั่วไป ผู้ประกันตน และผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ในส่วนของด้านสาธารณสุข 6 หมื่นกว่าล้าน ใช้ไป 78% ส่วนที่คืบหน้าน้อยที่สุดคือแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ เบิกจ่ายเพียง 60% และมีโครงการสำเร็จเสร็จสิ้นมารายงานเพียงครึ่งเดียวของการเบิกจ่าย 
  • ในส่วนเงินกู้ 5 แสนล้าน ณ สิ้นปีงบประมาณ 2564 กระทรวงการคลังรายงานต่อ ครม.ว่า ครม.อนุมัติโครงการ 18 โครงการ วงเงินรวม 144,166 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายแล้ว 109,836 ล้านบาท คิดเป็น 76% ของวงเงิน เอาไปใช้ใน 2 ส่วนหลักคือ จัดซื้อวัคซีน 41.99 ล้านโดส กับ การช่วยเหลือลดค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาให้นักเรียน 11 ล้านคน และค่าใช้จ่ายผู้ประกันตน ม.39 และ 40 จำนวน 7.6 ล้านคน และผู้ประกันตนม. 33 จำนวน 3.3 ล้านคน นายจ้าง 1.5 แสนราย

รายละเอียดเงินกู้ 1 ล้านล้าน

เงินกู้ 1 ล้านล้าน แผนงานสาธารณสุข

แผนงานที่ 1 ด้านสาธารณสุข

วงเงิน 63,878 ล้านบาท เบิกจ่ายเงินกู้แล้ว 50,217 ล้านบาท คิดเป็น 78.6%

เอาไปใช้จ่ายด้านใดบ้าง  ?

1.ค่าใช้จ่าย เยียวยา ชดเชย บุคลากรการแพทย์และสาธารณสุข วงเงิน 6,302 ล้านบาท

เบิกจ่าย 5,704 ล้านบาท คิดเป็น 90.5%

โครงการหลัก เช่น นำไปสนับสนุนบทบาท อสม. 4,666 ล้านบาท

2.ซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ ยา วัคซีน ห้องปฏิบัติการ วงเงิน 15,251 ล้านบาท

เบิกจ่าย 7,526 ล้านบาท คิดเป็น 49.3%

โครงการหลัก เช่น ซื้อยา อุปกรณ์าการแทพย์ 380 ล้านบาท, วัคซีน 5,308 ล้านบาท ( 10.9 ล้านโดส)

3.ค่าบำบัดรักษา ป้องกัน ควบคุมโรค วิจัย วงเงิน 30,361 ล้านบาท

เบิกจ่าย 30,361 ล้านบาท คิดเป็น 100%

โครงการหลัก เช่น  สปสช.รับผิดชอบดูแลประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 30,348 ล้านบาท

4.เตรียมความพร้อมสถานพยาบาล ค่ารักษา ค่ากักตัว  วงเงิน 10,257 ล้านบาท

เบิกจ่าย 6,000 ล้านบาท คิดเป็น 58.5%

โครงการที่แล้วเสร็จ เช่น เพิ่มประสิทธิภาพหอผู้ป่วย ศูนย์การแพทย มศว. 2.5 ล้าน

5.รับมือสถานการณ์ระบาดฉุกเฉิน วงเงิน 1,727 ล้านบาท

เบิกจ่าย 625 ล้านบาท คิดเป็น 36.2%

โครงการที่แล้วเสร็จ เช่น การพัฒนาศักยภาพการผลิตวัคซีนของ วพ. 46 ล้านบาท , พัฒนาเครื่องมือตรวจหาเชื้อโควิด 43 ล้านบาท, พัฒนาการแพทย์ฉุกเฉิน 10 ล้านบาท

เงินกู้โควิด 1 ล้านล้าน แผนงานเยียวยา

แผนงานที่ 2 ช่วยเหลือ เยียวยา ชดเชย ผู้รับผลกระทบจากโควิด

วงเงิน 709,059 ล้านบาท เบิกจ่ายเงินกู้แล้ว 694,602 ล้านบาท คิดเป็น 98%

เอาไปใช้จ่ายด้านในบ้าง?

1.เยียวยาประชาน 183,397 (159,016+เงินสำรองจ่าย 24,381) ล้านบาท

ชดเชยรายได้ลูกจ้างที่ต้องหยุดงาน 5,000 บาท 3 เดือน จำนวน 15.27 ล้านคน (มี.ค.-มิ.ย.63)

ใช้เงินรวม 229,016 ล้านบาท แบ่งเป็นงบกลาง 45,000 เงินสำรองจ่ายเกือบ 25,000 ล้าน ใช้เงินกู้ 159,016 ล้านบาท

(สมมติฐานของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) จะช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัว 0.65%)

2.เยียวยาผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 3,080 ล้านบาท

รายละ 1,000 บาท 3 เดือน จำนวน 1.03 ล้านคน (พ.ค.-ก.ค.63)

(สมมติฐานของ สศค.จะช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัว 0.0094%)

3.เยียวยากลุ่มเปราะบาง 19,991 ล้านบาท

คือกลุ่มเด็กเล็ก คนแก่ คนพิการ คนละ 1,000 บาท 5 เดือน รวมจำนวน 6.6 ล้านคน (พ.ค.-ก.ย.63)

(สมมติฐาน สศค.จะช่วยศก.ขยายตัว 0.05%)

4.เยียวยาผู้ประกันตน 209 ล้านบาท

สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ยังส่งเงินไม่ครบ 6 เดือน จำนวน 14,000 คนคนละ 5,000 บาท (มิ.ย.-ธ.ค.63)

5.เพิ่มกำลังซื้อผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 20,341 ล้านบาท

ให้รายละ 500 บาท 3 เดือน จำนวน 13.9 ล้านคน (ต.ค.-ธ.ค.63)

(สศค.ประเมินช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัว 0.05%)

6.เพิ่มกำลังซื้อผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะ2 19,944 ล้านบาท

ให้รายละ 500 บาท 3 เดือน จำนวน 13.6 ล้านคน (ม.ค.-มี.ค.64)

(สศค.ประเมินช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัว 0.06%)

7.โครงการเราชนะ 273,468 ล้านบาท

ช่วยลดภาระค่าครองชีพประชาชน 32.8 ล้านคน แบ่งเป็นผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 13.6 ล้านราย, ผู้ลงทะเบียนผ่านแอปเป๋าตัง 16.9 ล้านราย, ผู้รับสิทธิ์ผ่านบัตรประชาชน 2.3 ล้านราย ช่วยเหลือรายละ 9,000 บาท เป็นเวลา 2 เดือน (ม.ค.-พ.ค..64) (สศค.ประเมินช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัว 0.74%)

8.โครงการ ม.33 เรารักกัน 48,586 ล้านบาท

ลดภาระค่าครองชีพผู้ประกันตน มาตรา 33 จำนวน 8 ล้านคนคนละ 6,000 ผ่านแอปเป๋าตัง (ก.พ.-ก.ย.64)

(สศค.ประเมินช่วย ศก.ขยายตัว 0.13%)

9.ลดภาระค่าไฟ (กฟน.) 739 ล้านบาท

ผู้ใช้ไฟ 3 ล้านราย ใน กทม. นนทบุรี สมุทรปราการ 2 เดือน (ก.พ.-มี.ค.2564)

10.ลดภาระค่าไฟ (กฟน.) 1,199 ล้าน 

ผู้ใช้ไฟ 2.8 ล้านราย ใน กทม. นนทบุรี สมุทรปราการ 2 เดือน (พ.ค.-มิ.ย.64)

11.ลดภาระค่าไฟต่างจังหวัด (กฟภ.) 3,390 ล้านบาท

ผู้ใช้ไฟ 17.3 ล้านรายทั่วประเทศยกเว้น กทม. นนทบุรี สมุทรปราการ 2 เดือน (ก.พ.-มี.ค.64)

12.ลดภาระค่าไฟต่างจังหวัด (กฟภ.) 6,155 ล้านบาท

ผู้ใช้ไฟ 17 ล้านรายทั่วประเทศยกเว้น 3 จังหวัด 2 เดือน (พ.ค.-มิ.ย.64)

13.ลดภาระค่าน้ำประปาในเมือง (กปน.) 129 ล้านบาท

ผู้ใช้น้ำ 2.3 ล้านรายใน กทม. นนทบุรี สมุทรปราการ 2 เดือน (ก.พ.-มี.ค.64)

14.ลดภาระค่าน้ำประปาในเมือง (กปน.) 139 ล้านบาท

ผู้ใช้น้ำ 2.3 ล้านราย ใน กทม. นนทบุรี สมุทรปราการ (มิ.ย.-ก.ค.64)

15.ลดค่าน้ำประปา 10% ทั่วประเทศ 255 ล้านบาท

ผู้ใช้น้ำ 4.6 ล้านคน (ก.พ.-มี.ค.64)

16.ลดค่าน้ำประปา 10% ทั่วประเทศ 278 ล้านบาท 

ผู้ใช้น้ำ 4.6 ล้านราย  (มิ.ย.-ก.ค. 64)

17. ช่วยเหลือเกษตรกร 113,302 ล้านบาท

เกษตรกรรวม 7.5 ล้านรายที่ขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานเกษตร ทั้งผู้ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ประมง ให้รายละ 5,000 บาท 3 เดือน (พ.ค.-ก.ค.63) (สศค.ประเมินทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่ม 3.5 เท่า)

เงินกู้ 1 ล้านล้าน แผนงานฟื้นฟูเศรษฐกิจ

แผนงานที่ 3 ฟื้นฟูเศรษฐกิจ สังคม

วงเงิน 227,042 ล้านบาท แต่อนุมัติโครงการได้เพียง 214,055 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายเงินกู้แล้ว 125,264 ล้านบาท คิดเป็น 58.5%

เอาไปใช้จ่ายด้านใดบ้าง ?

1.พื้นที่ท่องเที่ยวปลอดภัย 7.6 ล้านบาท

พัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวปลอดภัยใน 5 พื้นที่ คือ น่าน เชียงใหม่ ชลบุรี เอชียทีค เยาวราช จัดอบรมให้ความรู้บริหารจัดการพื้นที่กับ 1,000 ราย (ก.ค.63-มิ.ย.64)

2.สร้างเศรษฐกิจจาก OTOP สมุนไพร 8.3 ล้านบาท

10 ชุมชนทั่วประเทศ อบรมเกษตรกรให้มีความรู้แปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรส่งออก (ต.ค.63-ก.ย.64)

3.สร้างอาชีพนวดแผนไทย 6.1 ล้านบาท 

อบรมหลักสูตรนวดแผนไทยเกือบ 500 คน (ต.ค.63-ก.ย.64)

4.พัฒนาสินค้าที่่ผลิตที่บ้าน 4.1 ล้านบาท

 (พ.ค.63-ก.ย.64)

5.โครงการของกลุ่มจังหวัด 310 ล้านบาท

อบรมการขายออนไลน์ อบรมทำปุ๋ยชีวภาพ ฯลฯ (ต.ค.63-ก.ย.64)

6.โครงการกำลังใจ 1,354 ล้านบาท

สนับสนุนเงินให้ อสม. จนท. รพ.สต. 6.8 แสนราย (ประมาณ 56% ของแผนที่วางไว้) ใช้บริการบริษัทนำเที่ยวท่องเที่ยวในประเทศ รัฐให้รายละ 2,000 บาท (ก.ค.-ต.ค.63)

7.พัฒนาตำบลบูรณาการ 2,690 ล้านบาท

กระตุ้นให้เกิดการจ้างงาน 14,00 คน (สัญญาจ้าง 1 ปี เงินเดือน 15,000) และจัดทำฐานข้อมูลหมู่บ้าน (ส.ค.63-ก.ย.64)

8.สร้างแนวกันไฟชุมชน 247 ล้านบาท

แนวกันไฟรวม 2,997 กม. จุดเฝ้าระวัง 3,005 จุด (ก.ค.64-พ.ค.64)

9.พัฒนาป่าไม้สร้างรายได้ 859 ล้านบาท

ทำกิจกรรมกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน เพราะกล้าไม้พันธุ์ดี บริการจัดการป่าชุมนน (ต.ค.63-ก.ย.64)

10.คนละครึ่ง 49,813 ล้านบาท

กรอบวงเงินระยะแรก 30,000 ล้าน (ต.ค.-ธ.ค.63) ระยะสอง 22,500 ล้าน (ม.ค.-มี.ค.64)

รอบแรก ผู้ใช้สิทธิ์ 9.9 ล้านราย (99.7%) ผู้ประกอบการ 1.07 ล้านร้านค้า

รอบสอง ผู้ใช้สิทธิ์ 14 ล้านราย (95%) ผู้ประกอบการ 1.6 ล้านร้านค้า

มีการประเมินว่าเม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจ ปี 2563 และไตรมาสแรกของ 2564 จำนวน 1.02 แสนล้าน และภาครัฐมี big data วิเคราะห์นโยบายเชิงลึกในอนาคต