"รัฐในอุษาคเนย์สามารถจำแนกได้เป็น 3 ระบอบการเมือง คือ 1.ประเทศประชาธิปไตย - อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และติมอร์เลสเต มีการเปลี่ยนผ่านมาสักพัก กำลังเดินทางเข้าสู่การสร้างความเป็นปึกแผ่นมากขึ้น แต่ยังมีปัญหา การเมืองท้องถิ่น การเมืองอุปถัมภ์”
2.ประเทศกึ่งประชาธิปไตย - มาเลเซีย สิงคโปร์ กัมพูชา เมียนมา เป็น “ไฮบริด” มีอำนาจนิยมครองอำนาจนำทางการเมือง แตกต่างกันบ้าง ในระบอบ “ฮุนเซน-ลีกวนยู” ที่รัฐบาลไม่เคยเปลี่ยน การเลือกตั้งไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม มาเลเซียมีความก้าวหน้า เกิดการแข่งขันมากขึ้น เพราะเปลี่ยนขั้วรัฐบาล เมียนมา แม้ทหารค้ำยันอยู่ แต่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น"
"3.ประเทศที่ไม่เป็นประชาธิปไตย - เวียดนาม ลาว บรูไน และไทย มีอำนาจนิยมแบบพรรรคคอมมิวนสต์ 2 กษัติรย์ 1 และทหารอีก 1 ภายใต้รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. ที่กำลังเปลี่ยนผ่าน ซึ่งจะขยับจากรัฐไม่เป็นประประชาธิปไตย ไปสู่กึ่งประชาธิปไตยอันดับ 2 แต่จะไม่พุุ่งไปถึงที่ 1 แบบอินโดนีเซียได้ เพราะโครงสร้างในรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2560 มันค้ำอยู่"
ดุลยภาค ปรีชารัชช อาจารย์ประจำโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ฉายภาพของระบอบการปกครองในระดับภูมิภาคอาเซียน สนทนากับ วอยซ์ ออนไลน์ ถึงหัวเลี้ยวหัวต่อการเมืองไทยระยะเปลี่ยนผ่าน ในศึกเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 24 มี.ค. 2562
ใน ยุครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ได้รับเสียงส่วนใหญ่จากประชาชน มีลักษณะเป็นประชาธิปไตยเสียงข้างมาก ทว่าก็นำไปสู่การโจมตีทักษิณว่าเป็นเผด็จการรัฐสภา แต่การปกครองด้วยการนำโดยบุคคลที่มีความชาญฉลาดทางภูมิปัญญา อย่างที่มีการนำทักษิณไปเทียบกับลีกวนยู ที่ออกแบบโครงสร้างรัฐแบบบรรษัทแต่ต้องฟังผู้นำ ใช้วัฒนธรรมองค์กรแบบ Leadership Style เข้ามา รวบอำนาจหน่อยๆ แต่ก็มีความใจดีลดแลกแจกแถมเอาใจประชาชนบางประการก็อยู่ได้
เพียงแต่จุดที่มีปัญหาคือ การเติบโตของ “ขั้วทักษิณ” ทำให้ “เอกภาพชาติ” หรือ “สถาบันการเมือง” ของ กลุ่มชนชั้นนำที่ควบคุมความเป็นปึกแผ่นแห่งชาติ ถูกตั้งคำถาม ถูกท้าทาย เมื่อเป็นแบบนี้ก็นำไปสู่ Political Conflict ที่ใช้เวลานานกินกันไม่ลงมาเรื่อยๆ สุดท้ายก็มีม็อบประท้วง “ชัตดาวน์กรุงเทพ” แล้วคุมไม่ได้ นำไปสู่สภาวะ “ก้ำกึ่งอนาธิปไตย”
พระเอกที่ถือตนเองว่าเป็นผู้ปกป้องรัฐ ปกป้องผลประโยชน์ชาติ the man on horse back หรือ “ทหารอัศวินขี่ม้าขาว”ก้าวเข้ามา คมช. ครองรัฐได้ไม่นาน เพราะมีข้อจำกัดหลายอย่าง แล้วเป็น “ทหารผู้พิทักษ์” เข้ามาจัดการแล้วสร้างระบบรัฐให้ดูมั่นคง ใช้นอมินี อย่างพล.อ.สุรยุทธ์ ขึ้นแทน จากนั้นก็เร่งไปสู่การเลือกตั้ง นี่คือพาร์ทแรก
แต่พาร์ทสองไม่ใช่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อยู่มา 4-5 ปี ถือเป็น “ทหารผู้ปกครอง” คือ อยู่ยาว แล้วปกครองเอง คำถามที่น่าสนใจคือ การปกครองรัฐเต็มๆยาวนานในฐานะผู้ปกครอง แล้วจู่จะเปลี่ยนรูปแปลงร่างให้เป็นประชาธิปไตย มีการเลือกตั้ง ลองนึกดูว่า
“ระบอบอำนาจนิยมที่ปกครองรัฐเข้มข้นหนักอึ้ง สุดท้ายแล้ว จะเปลี่ยนให้มีการเลือกตั้ง ให้ใครก็ไม่รู้ที่ไม่ได้รับผิดชอบถึงผลประโยชน์ในการปกครองรัฐมากก่อน ได้ชัยชนะจากการเลือกตั้งแล้วเขี่ยคุณทิ้ง ตามธรรมชาติของเผด็จการแล้วแบบนี้เป็นไปไม่ได้ อย่างน้อยจึงมีการออกแบบโครงสร้างรัฐธรรมนูญเพื่อมาบล็อก”
คสช.และนักยุทธศาสตร์ที่อยู่ในนั้นเขาไม่ยอมอยู่แล้ว เพราะตัวรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ก่อร้างขึ้นโดย คสช. กว่าจะร่างได้ กว่าจะทำประชามติ ก็ต้องเสียทรัพยากรไปเยอะ ด้านนักยุทธศาสตร์ฝ่ายตรงข้าม ก็จะมองย้อนไปถึง อำนาจของประชาชนจริงๆ ในฐานะรัฏฐาธิปัตย์ ให้ประชาชนพิจารณากันใหม่ ในการนำรัฐธรรมนูญใหม่เข้ามาแทนที่ เพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ไม่เหมาะสมกับประชาธิปไตย
แต่คำถามในมุมกลับคือ นักยุทธศาสตร์การทหาร ที่จัดวางรัฐธรรมนูญ 2560 เรียบร้อยแล้ว และผ่านประชามติ แม้จะบอกว่า ไม่ฟรีและแฟร์ก็ตาม ในต่างประเทศ รัฐธรรมนูญถ้าผ่านการทำประชามติก็มีความชอบธรรมประมาณหนึ่ง แม้เนื้อหาอาจมีปัญหา แต่เราก็เห็น พล.อ.ประยุทธ์ บอกยังไม่ทันได้ใช้อย่างเต็มที่ จะยกเลิกได้อย่างไร เขาก็คงไม่ยอมอยู่แล้ว
จึงต้องมาวัดกันอีกทีว่า พลังอำนาจการต่อรองของแต่ละก๊กแต่ละกลุ่มในโครงสร้างสภา และรัฐบาล ฝ่ายไหนกุมอำนาจอย่างไร และการต่อรองเป็นอย่างไร มันเป็นทั้งเรื่องของคณิตศาสตร์การเมือง กับศิลปะการต่อรองของชนชั้นนำ ทั้ง “หน้าฉาก”และ “หลังฉาก” ยังดูลำบากอยู่เหมือนกัน
แต่การเมืองไทย ก็มีธรรมชาติของการเมืองสากลอย่างหนึ่งคือ “ไม่มีมิตรแท้และศัตรูที่ถาวร” มีแต่ผลประโยชน์เท่านั้น ซึ่งจะเห็นว่า ท่าทีของพรรคบางพรรคตอนแรกดูตรงกันข้ามคสช.มาก พอตอนหลังก็เริ่มประณีประณอมขึ้น ก็อาจจะสร้างความผิดหวังให้คนที่เขาอยากได้ประชาธิปไตยมากๆ
ด้วยโครงสร้างที่ถูกออกแบบมา อำนาจต่อรองที่หวังจะไปล้มมากขนาดนั้นไม่ได้ เพราะในมุมทหารผู้ปกครองรัฐคือ “คุณเป็นใคร คนคุมเกมเลือกตั้งไม่เลือกตั้งนั้นอยู่ที่ผม ไม่ได้อยู่ที่คุณ ยังไม่เลือกตั้งแต่ทำไมคุณต่อรองขนาดนี้ คุณเอาอำนาจมาจากไหนตอนนี้ นี่เป็นธรรมชาติของอำนาจในทางการเมือง”
ยาก จะออกมาแบบ “ไฮบริด” คือ ทำอย่างไรก็ได้ให้การเมืองการปกครอง ของอำนาจนิยมกับประชาธิปไตย อยู่ร่วมกันได้ นี่คือโจทย์สำคัญ คนจะมองว่า อำนาจนิยมกับประชาธิปไตยเป็นศัตรูกัน อยู่ด้วยกันไม่ได้ คนละขั้ว เวลาวิเคราะห์การเลือกตั้ง จึงมักบอกว่า พล.อ.ประยุทธ์ เป็นเผด็จการเต็มๆ กับอีกฝั่งคือ ประชาธิปไตย อันเป็นขั้วตรงข้ามปฏิปักษ์
ทว่ารัฐต่างๆของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เอง สร้างการปกครองในลักษณะ “ลูกผสม” ในการนำอำนาจนิยมกับประชาธิปไตยมาอยู่ด้วยกันแล้วสามารถ “ปรากฎรูปร่วมกัน” ได้ ไม่ใช่ประสมกันไม่ได้เสียทีเดียว
เมียนมา ก็เป็น “ไฮบริด” ในรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง ก็มีร้อยละ 25 เป็นของทหารลากตั้งเข้าไป ก็อยู่ด้วยกันได้ในสภา แม้บางกรณียกมือขัดกัน แต่พอกลมกลืนกันในสภาปรึกษาพูดคุยเห็นหน้าค่าตากันรู้จักกันมากขึ้น ทหารรู้จักพลเรือนมากขึ้นในการปรับปรุงวิสัยทัศน์ของตนเอง พลเรือนก็เข้าใจกองทัพมากขึ้น มีงานบางอย่างที่กองทัพอุทิศตนและมีความสำคัญจริงๆ ซึ่งมันยังมีตรงนี้อยู่
ขณะเดียวกันทหารในเมียนมา ขนาดเขียนในรัฐธรรมนูญแล้วว่า อองซาน ซูจี ห้ามเป็นประธานาธิบดี สุดท้ายก็ไปคิดสูตร มนตรีแห่งรัฐ state counselor ให้ นอมินีตนเองเป็นประธานาธิบดี แต่อองซานมีอำนาจทั้งนิติบัญญัติและบริหาร เหนือกว่าประธานาธิบดีอีก
ซึ่งก็ไม่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญอย่างเห็นได้ชัด แต่ใช้เกมในรัฐสภา ซึ่ง NLD ครองเสียงข้างมาก ทำให้กองทัพตกใจ เพราะคิดว่าต่อให้ได้เสียงข้างมาก ก็ไม่ได้เป็นประธานาธิบดี เพราะรัฐธรรมนูญล็อกไว้ ซูจี ก็ rising ขึ้นมาในช่วงแรก แต่สุดท้ายก็สลัดไม่ได้ ตราบใดที่ไม่แก้รัฐธรรมนูญ 2008 ไม่ได้
ทหารก็ยังมีส่วนแบ่งทางอำนาจต่อไป รมว.กลาโหม มหาดไทย กิจการชายแดน ต้องผ่านการคัดเลือกจากผบ.สส. ไม่ใช่คนที่มาจากการเลือกตั้งของ NLD นี่คือ ไฮบริด ชอบไม่ชอบอย่างไรต้องแบ่งปันอำนาจกัน คนที่ชนะการเลือกตั้งแบบถล่มทลายอย่างอองซานก็ต้องยอมต่อรองกับกองทัพ จะได้เรื่องไม่ได้เรื่องอย่างไร รัฐมันยังอยู่ แล้วก็เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น เมื่อเทียบกับในอดีต
(ดุลยภาค ปรีชารัชช โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์)
"ทหารต้องยังอยู่ในระยะเวลาหนึ่งแล้วค่อยถอนตัวกลับเข้ากรมกอง แต่ช่วงเวลาหนึ่งนี่ผมไม่รู้ว่าหมายถึง 5 ปี หรือ 20 ปี ผมตอบไม่ได้ ทหารมักจะบอกชั่วคราว แต่ชั่วคราวนี้อาจจะ 20 ปีก็ได้ เพราะทหารเมียนมาทำมาแล้วในประวัติศาสตร์"
ต้องดูการเข้าร่วมของกลยุทธ์ในแต่ละฝ่ายทางการเมือง ถ้าผลเลือกตั้งสงบเรียบร้อยเป็นที่พอใจกันทุกคน ได้โควต้าในสภา มีที่นั่งมีสิทธิ์มีเสียง ก็ไปต่อได้ แต่ถ้าบางฝ่ายเรียกร้องรุนแรงมีการปรากฎตัวของมวลชนประท้วงบนท้องถนน บีบคั้นว่า ไม่เอานะ พลังเผด็จการต้องหายไปเลย จนผู้ปกครองรัฐรู้สึกไม่ปลอดภัยถ้าต้องสูญเสียอำนาจบางส่วน แล้วรู้สึกหลังชนฝา เขาก็จะมี 2 กลยุทธ์ตอบโต้คือ
1.เขายังคุมกองกำลังภายในรัฐสามารถเรียกมากดปราบกลุ่มที่แข็งขืนได้ และ2.เขาจะฟอร์มตัว ทำสัญญาการปกป้องคุมกันในกลุ่มชนชั้นนนำทั้งหมดที่ไม่เอาอีกขั้วหนึ่งที่มาทำจราจล สุดท้ายมันจะเกิดความแข็งแกร่ง
เหมือนองค์รัฏฐาธิปัตย์ ในวรรณกรรมของ Thomas Hobs ที่เป็นพวกสัตว์ประหลาดในตำนานเปรียบเทียบถึงการทรงพลังอำนาจที่ประชาชนต้องยอมรับในการปกครองรัฐแบบใช้ความรุนนแรงมาสยบ
ใช่ มันเป็นการเปลี่ยนผ่านจากทหารที่ปกครอง อย่าง พล.อ.ประยุทธ์ คสช. ที่เขาต้องวางให้มันเป็นระเบียบเรียบร้อยราบรื่น แต่ระหว่างเส้นทางการเปลี่ยนผ่านนั้นเราไม่รู้เลยว่า จะราบรื่นแค่ไหน ซึ่งมันก็อยู่ที่การเจรจาต่อรองในหมู่ชนชั้นนำ และการแสดงออกของประชาชนด้วย ซึ่งกรอบการวิเคราะห์นั้น ผมไม่อยากมองในมุมชนชั้นนำอย่างเดียว สิ่งที่พูดในบางช่วงนั้นเป็นการมองในกลุ่มชนชั้น ทว่าการมองก็ต้องมีในกลุ่มวลชนด้วย
ธรรมชาติของทหาร ไม่ว่ารัฐไทย เมียนมา หรือ รัฐกำลังพัฒนา ในช่วงประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา จะตัดสินใจลดบทบาททางการเมืองลง ส่วนหนึ่งเพราะสถานการณ์เรียบร้อย ผลประโยชน์ของเขาปลอดภัยไม่ถูกคุกคาม ตรงนั้นแหละ ไม่ต้องไปกดดันเขา เขาอาจจะถอยได้เอง แบบที่ค่อยเป็นค่อยไป
เมื่อคิดแบบทหารคุมประเทศมา 4-5 ปี พอปลดล็อกแล้ว แบบเดิมๆก็กลับมาอีก ไม่เปลี่ยนอะไร จึงไม่รู้ว่าเมื่อปล่อยคายอำนาจมากๆ ให้มีประชาธิปไตยมากขึ้น สิ่งที่พวกตนทำมาจะถูกกลบถูกทำให้ “ขุ่นมัว” ไปเรื่อยๆ ผลประโยชน์จากสิ่งที่เขาปกครองประเทศมาพอสมควร ต้องเจอกับการถูกอัดทันที ก็ย่อมต้องมีการระมัดระวังตัว
อาจจะแก้ได้ แต่ถ้าเลือกตั้งเสร็จแล้วเสนอแก้เลย โครงสร้างมันก็บีบบังคับให้ทำเช่นนั้นได้ยากลำบากมาก แต่ผมก็ไม่รู้ว่า จะมีกลยุทธ์การเมืองอะไรที่คาดไม่ถึง เพราะสูตรทางการเมืองเปลี่ยนเร็วมาก
แต่อาจจะเทียบกับเมียนมาได้อย่างหนึ่งคือ แม้ว่าผู้ปกครองที่เป็นทหาร จะออกแบบรัฐธรรมนูญให้เป็นอำนาจนิยม ประสม ประชาธิปไตย คิดว่าพวกตนได้เปรียบในการเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตย เพราะเป็นผู้คุมเกมตัวหลัก แต่ก็อาจจะมีกลยุทธ์หรือการตัดสินใจของประชาชนบางอย่างที่เขาคาดไม่ถึง
แต่สุดท้าย ต่อให้คุณได้รับคะแนนท่วมท้นจากประชาชน “คุณต้องเดินตามเกมที่อั๊วเขียนเอาไว้” การเปลี่ยนผ่านไม่ได้จากล่างขึ้นบน โดยขบวนการประชาธิปไตยลุกฮือ จนเผด็จการทหารล่มไปเลย ไม่มีอำนาจต่อรอง แต่มันเปลี่ยนจากบนลงล่าง ผมครองอำนาจอยู่ แต่เข้าใจว่า ต้องมีประชาธิปไตย ซึงผมก็ทิ้งอำนาจนิยมไม่ได้ จะทิ้งบทบาททหารไปเลยไมได้
ทหารต้องยังอยู่ในระยะเวลาหนึ่งแล้วค่อยถอนตัวกลับเข้ากรมกอง แต่ช่วงเวลาหนึ่งนี่ผมไม่รู้ว่าหมายถึง 5 ปี หรือ 20 ปี ผมตอบไม่ได้ ทหารมักจะบอกชั่วคราว แต่ชั่วคราวนี้อาจจะ 20 ปีก็ได้ เพราะทหารเมียนมาทำมาแล้วในประวัติศาสตร์
ด้วยบริบทนี้ เมื่อซูจีชนะการเลือกตั้ง แต่ก็ต้องเดินตามรัฐธรรมนูญ แบ่งปันอำนาจกับกองทัพมีบางอย่างที่เป็นคนละขั้วกับกองทัพ แต่ก็มีบางอยู่ที่อยู่กันกับกองทัพนั่งคุยกันประสานกัน นี่คือไฮบริด แล้วต้องอย่างมองว่า ประชาธิปไตย กับ อำนาจนิยม มันหันหลังให้กันตลอด ไม่ใช่บางทีมันหันหน้า หรือเอียงมาคุยกันได้ รัฐในเอเชียตะวันออเฉียงใต้เป็นอย่างนี้
ส่วนไทย การเลือกตั้งจัดสรรปันส่วนผสมเอื้อให้มีรัฐบาลผสม ยากที่จะเกิดพรรคเดียวเสียงข้างมากแบบ NLD ที่เกิดขึ้นได้ในพม่า ทหารก็เยอะพอที่จะควบคุม ซึ่งของประเทศไทย บทบาททหารก็ยังไม่หายไปไหน
ธรรมชาติการเปลี่ยนแปลงมันก็มีหลากหลาย ของไทยก็เหมือนเมียนมาบางอย่างคือ เปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป ถ้าเปลี่ยนแบบฉับพลันทันด่วนทหารไม่ยอม แล้วก็เสี่ยงที่จะเกิดอณาธิปไตย
บางครั้งก็ไม่น่าเชื่อจะเห็นอะไรเก่าๆ อย่างการเปรียบเทียบ พล.อ.ประยุทธ์ กับจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตนายกฯ เมื่อดูธรรมชาติของพล.อ.ประยุทธ์หลายอย่างมีผสมกัน บางอย่างจอมพลสฤษดิ์ ซูฮาร์โต เนวิน บ้าง ก็น่าตกใจกับสิ่งที่คสช.ทำนั้นยังคงอยู่ในยุควันวานเก่าๆของสงครามเย็น ที่ไม่น่ามาปรากฎตรงนี้ได้
แต่อีกแง่หนึ่งนี่คือธรรมชาติคลาสิกของสิ่งที่เรียกว่า เผด็จการ ที่ไม่ว่ายุคสมัยไหน มันต้องมีการรวบอำนาจ จำกัดพื้นที่ของประชาชน ไม่ให้มากเกินไป วันเวลาผ่านไปไม่รู้เท่าไร ธรรมชาติที่คลาสสิกของเผด็จการก็ยังคงเป็นแบบนี้
ช่วงนี้จึงเป็นช่วงแหลมคมทางการเมืองที่น่จับตามองมาก เราจะได้เห็นความชาญฉลาดของสูตรการเมืองจากแต่ละฝ่าย ที่มีการออกกลยุทธ์กันไปมาเดือนต่อเดือนอย่างรวดเร็ว ทางคสช.ก็คิดว่าเขาได้เปรียบแล้ว ในการปลดล็อกที่ย่อมต้องสามารถคุมเกมได้ก้าวต่อก้าว ส่วนฝ่ายตรงข้ามเองก็มีความชาญฉลาดหลายอย่างที่คาดไม่ถึง ก็มีกลยุทธ์แก้ออกมาตลอด สุดท้ายแล้วจะออกหัวออกก้อยน่าลุ้น
แต่แนวโน้มสูงคือจะเป็น “ไฮบริด” คือ “อำนาจนิยม”ที่ปล่อยให้มีประชาธิปไตยมากขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง