ไม่พบผลการค้นหา
เที่ยววัดร้องแง อำเภอปัว ชมวิหารหลังใหญ่ ภายในมีศิลปกรรมน่ายล ตั้งแต่พระประธานฝีมือช่างไทลื้อ ธรรมาสน์ยอดปราสาท เชิงเทียนแบบขั้นบันได

ผ่านตาวิหารไทลื้อในจังหวัดน่านมาแล้ว 3 วัด คือ วัดหนองแดง วัดต้นแหลง และวัดดอนมูล ล้วนเป็นวิหารแบบไม่มีมุขด้านหน้า มีหลังคาปีกนกคลุมทั้งสี่ด้าน

ในตอนต่อๆไป เราจะไปชมวิหารชนิดมีมุขด้านหน้า หลังคาคลุมต่ำ เริ่มต้นกันที่วัดร้องแง ต่อด้วยวัดพระธาตุเบ็งสกัด ปิดท้ายซีรีย์ด้วยวัดหนองบัว

วัดร้องแง ตั้งอยู่ที่บ้านร้องแง หมู่ที่ 7 ตำบลวรนคร อำเภอปัว สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อประมาณปีพ.ศ. 2310

ประวัติชุมชนระบุว่า บรรพบุรุษชาวลื้อย้ายถิ่นหนีภัยสงครามมาจากแคล้นสิบสองปันนา พบพื้นที่บริเวณลำน้ำฮ่องแง (ร่องแง-แงเป็นชื่อพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่ง) เห็นว่าอุดมสมบูรณ์ดีจึงลงหลักปักฐาน ต่อมาชื่อหมู่บ้านถูกเขียนเพี้ยนเป็นร้องแง


01.JPG

วิหารวัดร้องแงมีขนาดยาว 8 ห้อง กว้าง 3 ห้อง ด้านหน้ามีมุขโถง

ตัวอาคารก่ออิฐฉาบปูน หลังคาเป็นทรงจั่ว ผืนหลังคามีสองตับ ทอดเอนลาดคลุมต่ำ


03.JPG

ผนังส่วนล่างเป็นปูนทึบทาสีขาว ผนังส่วนบนเป็นลูกกรงไม้ ที่ห้องท้ายวิหารมีบันไดและทางเข้าทั้งด้านทิศเหนือและทิศใต้

โครงหลังคามีการลดชั้น ทางด้านหน้ามีสามชั้น ด้านหลังมีสองชั้น


04.JPG

หน้าบัน หรือ หน้าแหนบ ประดับด้วยไม้ฉลุลายก้านขด แกะสลักรูปเทพพนม แผงไม้ใต้หน้าจั่ว ที่เรียกว่า โก่งคิ้ว ประดับลายก้านขดและช้าง ส่วนหน้าจั่วปีกนกตกแต่งด้วยลายก้านขดแบบเดียวกัน


06.JPG

หางหงษ์ทำด้วยไม้ แกะสลักเป็นรูปเศียรนาค หลังคามุงกระเบื้องไม้ เรียกว่า แป้นเกล็ด


08_2.jpg

คันทวย หรือ นาคทัณฑ์ เป็นไม้ฉลุ แกะสลักเป็นรูปยักษ์ ลิง ครุฑ สัตว์หิมพานต์ ระบายสีสดใส


09.JPG

บรรยากาศภายในวิหาร


10.JPG

เสาหลวงมี 2 แถว จำนวน 6 คู่ เสาเป็นไม้กลม ประดับหัวเสาด้วยบัวกลีบยาว โคนเสาส่วนหน้าทาสีน้ำตาลแดง ส่วนในทาสีฟ้า ตัวเสาเขียนลายทอง บางต้นเขียนซ่อมใหม่ ส่วนใหญ่เป็นของเดิม


11.JPG

พระประธานปูนปั้น งามอย่างฝีมือช่างพื้นบ้าน ด้านข้างประดับด้วยเครื่องสูง บนผนังด้านหลังเขียนภาพจิตรกรรม


12.JPG

แผงไม้เหนือพระประธานประดับลายกระหนกและรูปดอกไม้


13.JPG

หน้าพระประธานมีแท่นสำหรับปักเทียน เรียกว่า สัตตภัณฑ์ ทำเป็นรูปขั้นบันได สื่อความหมายถึงบันไดแก้วที่พระพุทธเจ้าใช้เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์หลังเทศน์โปรดพุทธมารดา


14.JPG

สัตตภัณฑ์มีรูปนาค 1 คู่ ทอดตัวยาวลงตามราวบันได


15.JPG

ด้านหน้าพระประธานมีธรรมาสน์บุษบก ด้านขวาขององค์พระมีหีบพระธรรม กับธรรมาสน์แบบกระทง

 

16.JPG

ธรรมาสน์บุษบก ฐานเป็นปูนปั้น ตัวเรือนเป็นเครื่องไม้ ยอดเป็นปราสาทซ้อนชั้น


17.JPG

เครื่องบนของวิหารเป็นแบบที่เรียกว่า โกม คล้ายระบบ ขื่อม้าต่างไหม


18.JPG

แนวเสาในผนังของวิหาร ช่วยรับน้ำหนักโครงสร้างหลังคา.


แหล่งข้อมูล


กอบยศ ยิ้มอ่อน. (2552). การศึกษาวิหารไทลื้อในวัฒนธรรมล้านนา (จังหวัดพะเยาและจังหวัดน่าน). วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

 

ชัยวุฒิ บุญเอนก. (2548). วิหารไทลื้อเมืองน่าน : รูปแบบและคติความเชื่อ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.


ติดตาม ไทยทัศนา ย้อนหลัง

 

ไทยทัศนา : (1) วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (2) วัดสุวรรณาราม ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (3) วัดราชโอรส ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (4) วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (5) วัดสุวรรณดาราราม อยุธยา

ไทยทัศนา : (6) วัดเสนาสนาราม อยุธยา

ไทยทัศนา : (7) วัดจันทบุรี สระบุรี

ไทยทัศนา : (8) วัดสมุหประดิษฐาราม สระบุรี

ไทยทัศนา : (9) วัดกัลยาณมิตร ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (10) วัดบางขุนเทียนใน ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (11) วัดซางตาครู้ส ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (12) วัดบางขุนเทียนนอก ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (13) วัดบางกะพ้อม สมุทรสงคราม

ไทยทัศนา : (14) วัดนิเวศธรรมประวัติ อยุธยา

ไทยทัศนา : (15) สัตตมหาสถาน กรุงเทพฯ เพชรบุรี

ไทยทัศนา : (16) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (17) วัดตองปุ ลพบุรี

ไทยทัศนา : (18) มหาธาตุ ลพบุรี

ไทยทัศนา : (19) จิตรกรรม วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยา

ไทยทัศนา : (20) พระปรางค์มหาธาตุ ราชบุรี

ไทยทัศนา : (21) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (22) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่หนึ่ง)

ไทยทัศนา : (23) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สอง)

ไทยทัศนา : (24) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สาม)

ไทยทัศนา : (25) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สี่-จบ)

ไทยทัศนา : (26) ประตูโขง วัดกากแก้ว นครลำปาง

ไทยทัศนา : (27) วัดไหล่หิน ลำปาง (ตอนที่หนึ่ง)

ไทยทัศนา : (28) วัดไหล่หิน ลำปาง (ตอนที่สอง-จบ)

ไทยทัศนา : (29) วัดปงยางคก ลำปาง

ไทยทัศนา : (30) วิหารโคมคำ วัดพระธาตุเสด็จ ลำปาง

ไทยทัศนา : (31) วิหารโถงทรงจัตุรมุข วัดปงสนุก ลำปาง

ไทยทัศนา : (32) ‘จอง’ แบบพม่า วัดพระแก้วดอนเต้า ลำปาง

ไทยทัศนา : (33) วัดศรีชุม ลำปาง

ไทยทัศนา : (34) วัดศรีรองเมือง ลำปาง

ไทยทัศนา : (35) วัดไชยมงคล (จองคา) ลำปาง

ไทยทัศนา : (36) วัดม่อนปู่ยักษ์ ลำปาง

ไทยทัศนา : (37) วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ (ตอนที่หนึ่ง)

ไทยทัศนา : (38) วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ (ตอนที่สอง)

ไทยทัศนา : (39) วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ (ตอนที่สาม-จบ)

ไทยทัศนา : (40) พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม

ไทยทัศนา : (41) วิหารไทลื้อ น่าน (ตอนที่หนึ่ง-วัดหนองแดง)

ไทยทัศนา : (42) วิหารไทลื้อ น่าน (ตอนที่สอง-วัดต้นแหลง)

ไทยทัศนา : (43) วิหารไทลื้อ น่าน (ตอนที่สาม-วัดดอนมูล)

 



Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog