ไม่พบผลการค้นหา
วอยซ์ รวบรวมการกู้เงินของรัฐบาลไทย นับจาก 2475 เป็นต้นมา พบว่า รัฐบาลไทยกู้เงินมาแล้ว 35 ครั้ง และรวบรวมแหล่งเงินกู้ จำนวนการกู้ ช่วงเวลาของการกู้ และวัตถุประสงค์ของการกู้ ดังต่อไปนี้

นับตั้งแต่ 2475 เรื่อยมาถึงปัจจุบัน ‘รัฐบาลไทย’ ได้กู้เงินทั้งในและนอกประเทศ เฉพาะการออกพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ. เงินกู้ฯ) และ พระราชกำหนดกู้เงิน (พ.ร.ก. เงินกู้ฯ) ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเท่านั้น นับเป็นจำนวนทั้งสิ้น 35 ครั้ง 

แต่หากย้อนไปช่วงก่อน 2475 พบว่า จากข้อมูลของคลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (LIRT) ระบุว่า การกู้เงินครั้งแรกจากต่างประเทศ เกิดขึ้นในปี 2477  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาสร้างทางรถไฟ ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นการกู้เงินเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจครั้งแรกของประเทศ รวมแล้ว ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 มีการกู้เงิน 4 ครั้ง ได้แก่ 

15 มีนาคม 2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5)  ได้ออกพระราชหัดถเลขาพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พระยาสุริยานุวัตร์จัดการยืมเงินต่างประเทศ วงเงิน 1,000,000 ปอนด์  เพื่อสร้างทางรถไฟ และสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ

9 มกราคม 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) ได้ออก พระราชหัตถ์เลขาพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พระยาวิสูตรโกษาจัดการยืมเงินต่างประเทศ วงเงิน 3,000,000 ปอนด์ เพื่อสร้างทางรถไฟ และสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ

24 ธันวาคม 2464 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6) ได้ออกพระราชหัตถเลขา พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พระยาบุรีนวราษฐ์จัดการกู้เงินต่างประเทศ วงเงิน 2,000,000 ปอนด์ เพื่อสร้างทางรถไฟ การทดน้ำ และสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ 

16 มีนาคม 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6) ได้ออกพระราชหัตถเลขา พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พระยาบุรีนวราษฐ์จัดการกู้เงินต่างประเทศ วงเงิน 3,000,000 ปอนด์  เพื่อสร้างทางรถไฟ การทดน้ำ และสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ 

นับจาก 2475 เป็นต้นมา รัฐบาลไทยในแต่ละยุค มีการกู้เงินกี่ครั้ง กู้ที่แหล่งไหน กู้เท่าไหร่ กู้เมื่อไหร่ และกู้เพื่ออะไร โดยแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา ได้แก่ 


  • 2475 - 2500 กู้เงิน 15 ครั้ง ​ ​ ​ ​ ​ ​ ​ ​ ​ 
  • 2501 - 2530 กู้เงิน 13 ครั้ง ​ ​ ​ ​ ​ ​ ​ ​ ​ 
  • 2540-ปัจจุบัน กู้เงิน 7 ครั้ง ​ ​ ​ ​ ​ ​ ​ ​ ​ 


2475 - 2500 ​
20240119-กู้-info-02.jpg


  • 27 เมษายน 2476 (วันที่ประกาศในราชกิจจาฯ) พระยามโนปกรณนิติธาดา กู้เงินในประเทศ วงเงิน 10,000,000 บาท เพื่อใช้จ่ายในกิจการที่จ่ายลงทุนอันมีลักษณะเพิ่มพูนโภคทรัพย์ของประเทศให้ทวียิ่งขึ้น 
  • 22 พฤศจิกายน 2479 พระยาพหลพลพยุหเสนา กู้เงินในประเทศ วงเงิน 4,000,000 บาท เพื่อให้เทศบาลกู้ไปใช้จ่ายในกิจการลงทุน
  • 17 เมษายน 2482 จอมพล ป. พิบูลสงคราม กู้เงินในประเทศ วงเงิน 25,000,000 บาท เพื่อเกษตรกร
  • 17 เมษายน 2482 จอมพล ป. พิบูลสงคราม กู้เงินในประเทศ วงเงิน 20,000,000 บาท เพื่อการอุตสาหกรรม
  • 17 เมษายน 2482 จอมพล ป. พิบูลสงคราม กู้เงินในประเทศ วงเงิน 20,000,000 บาท  เพื่อเทศบาลและการบำรุงท้องที่
  • 20 ตุลาคม 2585 จอมพล ป. พิบูลสงคราม กู้เงินในประเทศ วงเงิน 60,000,000 บาท เพื่อประโยชน์แก่ชาติ
  • 10 กันยายน 2487 ควง อภัยวงศ์ กู้เงินในประเทศ/ออกตั๋วเงินคลัง วงเงิน 50,000,000 บาท เพื่อการใช้จ่ายตามงบประมาณ
  • 5 ตุลาคม 2488 ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช กู้เงินในประเทศ/ออกตั๋วเงินคลัง วงเงิน 100,000,000 บาท เพื่อการใช้จ่ายในราชการ
  • 5 เมษายน 2489 ปรีดี พนมยงค์ กู้เงินในประเทศ/ออกตั๋วเงินคลัง วงเงิน 200,000,000 บาท  เพื่อการใช้จ่ายในราชการ
  • 28 กันยายน 2489 พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ กู้เงินต่างประเทศ วงเงิน 600,000,000 บาท เพื่อการบูรณะประเทศ
  • 26 พฤศจิกายน 2489 พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ กู้เงินในประเทศ/ออกตั๋วเงินคลัง วงเงิน 500,000,000 บาท  เพื่อการใช้จ่ายในราชการ
  • 15 มีนาคม 2492 จอมพล ป. พิบูลสงคราม กู้เงินในประเทศ/ออกตั๋วเงินคลัง/พันธบัตร/ตราสาร วงเงิน 524,000,000 บาท เพื่อการใช้จ่ายในราชการและการบูรณะประเทศประเภทลงทุน
  • ​10 มกราคม 2494 จอมพล ป. พิบูลสงคราม กู้เงินในหรือนอกประเทศ/ออกตั๋วเงินคลัง/พันธบัตร/ตราสาร วงเงิน 1,117,500,000 บาท เพื่อใช้จ่ายในการลงทุนเพื่อบูรณะและวิวัฒนาการประเทศ
  • 20 มกราคม 2496 จอมพล ป. พิบูลสงคราม กู้เงินในหรือนอกประเทศ/ออกตั๋วเงินคลัง/พันธบัตร/ตราสาร วงเงิน 4,000,000,000 บาท เพื่อใช้จ่ายในการลงทุนเพื่อบูรณะและวิวัฒนาการประเทศ
  • 21 กุมภาพันธ์ 2499 จอมพล ป. พิบูลสงคราม กู้เงินในประเทศ/ออกตั๋วเงินคลัง/พันธบัตร/ตราสาร วงเงิน 2,000,000,000 บาท  เพื่อใช้จ่ายในการลงทุนเพื่อบูรณะและวิวัฒนาการประเทศ
​2501 - 2530 
20240119-กู้-info-03.jpg


  • 1 สิงหาคม 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ กู้เงินในหรือนอกประเทศ/ออกตั๋วเงินคลัง/พันธบัตร/ตราสาร วงเงิน 4,000,000,000 บาท ในโครงการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของต่างประเทศ
  • 1 ธันวาคม 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ กู้เงินในหรือนอกประเทศ/ออกตั๋วเงินคลัง/พันธบัตร/ตราสาร วงเงิน 3,000,000,000 บาท เพื่อใช้จ่ายตามงบประมาณแผ่นดิน
  • 29 ธันวาคม 2504 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ กู้เงินในหรือนอกประเทศ/ออกตั๋วเงินคลัง/พันธบัตร/ตราสาร วงเงิน 4,000,000,000 บาท ในโครงการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของต่างประเทศ
  • 29 มกราคม 2506 จอมพลถนอม กิตติขจร กู้เงินกับธนาคารระหว่างประเทศ วงเงิน 5,000,000,000 บาท เพื่อการลงทุนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
  • 23 กันยายน 2509 จอมพลถนอม กิตติขจร กู้เงินในหรือนอกประเทศ/ออกตั๋วเงินคลัง/พันธบัตร/ตราสาร วงเงิน 4,000,000,000 บาท เพื่อโครงการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของต่างประเทศ
  • 27 ธันวาคม 2509 จอมพลถนอม กิตติขจร กู้เงินกับธนาคารแห่งประเทศไทย วงเงิน 8,000,000 ดอลล่าร์ เพื่อพัฒนาการอาชีวศึกษา
  • 15 กันยายน 2510 จอมพลถนอม กิตติขจร กู้เงินกับธนาคารระหว่างประเทศ วงเงิน 7,500,000,000 บาท เพื่อการลงทุนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
  • ​1 เมษายน 2511 จอมพลถนอม กิตติขจร กู้เงินกับธนาคารระหว่างประเทศ วงเงิน 7,500,000,000 บาท เพื่อการลงทุนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
  • 19 มิถุนายน 2511 จอมพลถนอม กิตติขจร กู้เงินกับธนาคารพัฒนาเอเชีย
  •  วงเงิน 1,000,000,000 บาท เพื่อการลงทุนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
  • 27 เมษายน 2514 จอมพลถนอม กิตติขจร กู้เงินกับธนาคารแห่งประเทศไทย วงเงิน 7,700,000 ดอลลาร์ เพื่อพัฒนาการศึกษาโรงเรียนมัธยมแบบประสม
  • 17 พฤศจิกายน 2519 ธานินทร์ กรัยวิเชียร กู้เงินในหรือนอกประเทศ/ออกตั๋วเงินคลัง/พันธบัตร/ตราสาร วงเงิน 20,000,000,000 บาท เพื่อการป้องกันประเทศ
  • 17 พฤศจิกายน 2519 ธานินทร์ กรัยวิเชียร กู้เงินต่างประเทศ วงเงินไม่เกินร้อยละสิบ ของงบประมาณรายจ่าย เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
  • 14 สิงหาคม 2524 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ กู้เงินต่างประเทศ วงเงินไม่เกินร้อยละสิบ ของงบประมาณรายจ่าย เพื่อจัดซื้อยุทโธปกรณ์ทางทหาร
2540-ปัจจุบัน
20240119-กู้-info-04.jpg


  • 7 พฤษภาคม 2541 ชวน หลีกภัย กู้เงินต่างประเทศ วงเงิน 2 แสนล้านบาท เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ (ช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง)
  • 23 สิงหาคม 2541 ชวน หลีกภัย กู้เงินต่างประเทศ วงเงิน 3 แสนล้านบาท  เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน (ช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง)
  • 25 มิถุนายน 2545 ทักษิณ ชินวัตร กู้เงิน 7.8 แสนล้านบาท เพื่อฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง
  • 13 พฤษภาคม 2552 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กู้เงินจากต่างประเทศ วงเงิน 4 แสนล้านบาทเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ (ช่วงวิกฤตซับไพรม์)
  • 26 มกราคม 2555 ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กู้เงินต่างประเทศ วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท เพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ (ช่วงเหตุการณ์มหาอุทกภัย)
  • 19 เมษายน 2563 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กู้เงินบาทหรือเงินตราต่างประเทศ หรือออกตราสารหนี้ วงเงิน 1 ล้านล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
  • 25 พฤษภาคม 2564 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กู้เงินบาทหรือเงินตราต่างประเทศ หรือออกตราสารหนี้ วงเงิน  5 แสนล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019


ที่มา: คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (LIRT)