ไม่พบผลการค้นหา
สิมของวัดธาตุหลวงถือเป็นแบบฉบับศิลปกรรมไทลื้อ ไฮไลท์อยู่ที่แผงเชื่อมระหว่างชั้นหลังคา สื่อนัยถึงฝาเรือนของอาคารซ้อนชั้น แสดงความหมายของปราสาท

วัดธาตุหลวง หรือที่เขียนในภาษาลาวว่า ทาดหลวง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2361 ในรัชสมัยของเจ้ามหาชีวิตมังธาตุราช ซึ่งเป็นยุคฟื้นฟูพุทธศาสนาในหลวงพระบาง



PA210561.JPG

พระอารามแห่งนี้เคยเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรรมทางศาสนาของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ และเคยเป็นสถานที่จัดขบวนพยุหยาตราในวันเพ็ญเดือนสิบสอง

โครงสร้าง รูปทรง สิมวัดทาดหลวง ถือเป็นแบบอย่างที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของสิมทรงไทลื้อ



05.JPG

แผนผังสิมเป็นอาคารทรงโรงขนาดใหญ่ มีความกว้าง 3 ห้อง ยาว 9 ห้อง



06.JPG

หลังคามีโครงสร้างสองชั้น ชั้นบนเป็นหลังคาจั่ว ชั้นล่างเป็นหลังคาปีกนก คลุมรอบอาคาร มีแขนนางค้ำยันชายคา ทำนองเดียวกับที่วัดปากคาน



07_4.jpg

ลักษณะคล้ายคลึงกับสิมวัดปากคานอีกประการ คือ มีทางเข้าโดยรอบ



04.JPG

สิมตั้งอยู่หน้าทาดหลวง อาคารประธานของวัด ทาดองค์นี้ประกอบด้วยฐานสี่เหลี่ยมซ้อนลดหลั่นกันบนลานประทักษิณ ที่มุมทั้งสี่ของฐานมีเสาดอกบัวประดับบนฐานชั้นที่สอง มีรูปเทวดานั่งประนมมือบนมุมฐานชั้นที่สาม

ส่วนกลางหรือองค์ทาดเป็นรูปฐานปัทม์ในผังสี่เหลี่ยมย่อมุม ประดับด้วยกลีบบัวที่ฐานหน้ากระดานด้านล่าง ส่วนยอดเป็นทรงบัวเหลี่ยมย่อมุม รองรับชั้นซ้อนลดหลั่นเรียวขึ้นด้านบน ยอดสูงสุดประดับฉัตร



08.JPG

บานประตู บานหน้าต่าง ทางด้านข้าง มีสภาพเก่าโทรมตามกาลเวลา



09.JPG

สิมทรงไทลื้อหลังนี้ โดดเด่นตรงแผงขนาดใหญ่ ประดับลวดลายปูนปั้น เรียกว่า คอสอง เป็นส่วนเชื่อมต่อระหว่างหลังคาจั่วด้านบนกับหลังคาปีกนกด้านล่าง

ศักดิ์ชัย สายสิงห์ (2555) อธิบายว่า คอสองของสิมทรงไทลื้อเป็นเครื่องหมายแทนฝาเรือน หรือผนังของอาคารชั้นบน สื่อว่าเป็นอาคารซ้อนชั้น อันเป็นเรือนฐานันดรสูง แสดงนัยของปราสาท

เหนือกึ่งกลางสันหลังคามี ช่อฟ้า  แสดงภาพตัดขวางของภูเขา สัตตะบูริพัน

ยอดตรงกลางแทนความหมายของเขาพระสุเมรุ ศูนย์กลางจักรวาล เป็นที่ตั้งของปราสาทไพชยนต์ของพระอินทร์ อีกเจ็ดยอดลดหลั่นสื่อถึงเขาสัตตบริภัณฑ์ที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ เป็นที่ตั้งของปราสาทของเทพบริวารต่างๆ


10.JPG

ด้านหน้าของสิมเป็นที่ตั้งของธาตุบรรจุอัฐิของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ สร้างขึ้นเมื่อปี 2508.


แหล่งข้อมูล

ท่านลึก สิงคำตัน. (2544). สถาปัตยกรรมในเมืองหลวงพระบาง. ใน จิรศักดิ์ เดช วงค์ญา (บรรณาธิการ). ความสัมพันธ์ระหว่างล้านนา ล้านช้าง : กรณีศึกษาศิลปกรรมในเมืองเชียงใหม่และหลวง พระบาง. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์นพบุรี.

วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์. (2555). ชื่นชมสถาปัตย์ วัดในหลวงพระบาง. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2555). เจดีย์ พระพุทธรูป ฮูปแต้ม สิม ศิลปะลาวและอีสาน. กรุงเทพฯ: มิวเซียมเพรส.


ติดตาม ไทยทัศนา ย้อนหลัง

 

ไทยทัศนา : (1) วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (2) วัดสุวรรณาราม ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (3) วัดราชโอรส ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (4) วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (5) วัดสุวรรณดาราราม อยุธยา

ไทยทัศนา : (6) วัดเสนาสนาราม อยุธยา

ไทยทัศนา : (7) วัดจันทบุรี สระบุรี

ไทยทัศนา : (8) วัดสมุหประดิษฐาราม สระบุรี

ไทยทัศนา : (9) วัดกัลยาณมิตร ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (10) วัดบางขุนเทียนใน ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (11) วัดซางตาครู้ส ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (12) วัดบางขุนเทียนนอก ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (13) วัดบางกะพ้อม สมุทรสงคราม

ไทยทัศนา : (14) วัดนิเวศธรรมประวัติ อยุธยา

ไทยทัศนา : (15) สัตตมหาสถาน กรุงเทพฯ เพชรบุรี

ไทยทัศนา : (16) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (17) วัดตองปุ ลพบุรี

ไทยทัศนา : (18) มหาธาตุ ลพบุรี

ไทยทัศนา : (19) จิตรกรรม วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยา

ไทยทัศนา : (20) พระปรางค์มหาธาตุ ราชบุรี

ไทยทัศนา : (21) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (22) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่หนึ่ง)

ไทยทัศนา : (23) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สอง)

ไทยทัศนา : (24) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สาม)

ไทยทัศนา : (25) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สี่-จบ)

ไทยทัศนา : (26) ประตูโขง วัดกากแก้ว นครลำปาง

ไทยทัศนา : (27) วัดไหล่หิน ลำปาง (ตอนที่หนึ่ง)

ไทยทัศนา : (28) วัดไหล่หิน ลำปาง (ตอนที่สอง-จบ)

ไทยทัศนา : (29) วัดปงยางคก ลำปาง

ไทยทัศนา : (30) วิหารโคมคำ วัดพระธาตุเสด็จ ลำปาง

ไทยทัศนา : (31) วิหารโถงทรงจัตุรมุข วัดปงสนุก ลำปาง

ไทยทัศนา : (32) ‘จอง’ แบบพม่า วัดพระแก้วดอนเต้า ลำปาง

ไทยทัศนา : (33) วัดศรีชุม ลำปาง

ไทยทัศนา : (34) วัดศรีรองเมือง ลำปาง

ไทยทัศนา : (35) วัดไชยมงคล (จองคา) ลำปาง

ไทยทัศนา : (36) วัดม่อนปู่ยักษ์ ลำปาง

ไทยทัศนา : (37) วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ (ตอนที่หนึ่ง)

ไทยทัศนา : (38) วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ (ตอนที่สอง)

ไทยทัศนา : (39) วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ (ตอนที่สาม-จบ)

ไทยทัศนา : (40) พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม

ไทยทัศนา : (41) วิหารไทลื้อ น่าน (ตอนที่หนึ่ง-วัดหนองแดง)

ไทยทัศนา : (42) วิหารไทลื้อ น่าน (ตอนที่สอง-วัดต้นแหลง)

ไทยทัศนา : (43) วิหารไทลื้อ น่าน (ตอนที่สาม-วัดดอนมูล)

ไทยทัศนา : (44) วิหารไทลื้อ น่าน (ตอนที่สี่-วัดร้องแง)

ไทยทัศนา : (45) วิหารไทลื้อ น่าน (ตอนที่ห้า-วัดพระธาตุเบ็งสกัด)

ไทยทัศนา : (46) วิหารไทลื้อ น่าน (ตอนที่หก-วัดหนองบัว)

ไทยทัศนา : (47) สิมทรงไทลื้อ หลวงพระบาง (ตอนที่หนึ่ง-วัดปากคาน)