ไม่พบผลการค้นหา
‘กัณวีร์’ เลขาฯ พรรคเป็นธรรม รอดูสูตรตั้งรัฐบาลก่อนตัดสินใจโหวตให้ ย้ำหากมี ‘พปชร. - รทสช. - ปชป.’ ร่วมบางคนไม่เหมาะสม ยัน รออีก 8 เดือนเพื่อรัฐบาลจากประชาชน เชื่อตั้งรัฐบาลเร็วไม่ใช่ทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ

วันที่ 10 ส.ค. กัณวีร์ สืบแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม กล่าวถึงประเด็นการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคเพื่อไทยว่า การเปลี่ยนขั้วไม่ควรเกิดขึ้นในการเมืองไทยอีกต่อไป เราต้องสร้างระบอบประชาธิปไตยอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งทางพรรคเพื่อไทยไม่ได้มีการติดต่อพรรคเป็นธรรมมา อาจเพราะจุดยืนที่มั่นคง และไม่ใช่การสลายขั้ว แต่เป็นการจับกลุ่มก้อนของพรรคก็เป็นขั้วรัฐบาลเดิม ซึ่งกฎกติกาต้องยึดมั่นให้ได้ หากเป็นแบบนี้ ต่อไปจะทำอย่างไร ถ้าเลือกตั้งชนะแล้วไม่ได้เป็นนายก ประชาชนก็จะหมดศรัทธา ส่วนจะโหวตให้แคนดิเดตจากพรรคเพื่อไทยหรือไม่นั้น ตนเองก็ขอดูก่อนว่าสูตรการจัดตั้งรัฐบาลเป็นอย่างไร แต่ถ้ามี 2 ลุง ก็ไม่เอา ซึ่งตอนนี้เสียงก็ยังไม่มีถึงกึ่งหนึ่ง อาจจะต้องมีเพิ่มอีกพรรค 

ส่วนกรณีที่ เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย ส่งสัญญาณว่า ควรนำพรรคพลังประชารัฐ และพรรครวมไทยสร้างชาติเข้ามาร่วมรัฐบาลด้วย กัณวีร์ กล่าวว่า อุดมการณ์ของเรายังอยู่ เราเห็นว่า รัฐธรรมนูญปี 2560 ตั้งกลไกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) แต่ตนมองว่า สว. ไม่ใช่ปัญหา แต่การสร้างกลไกนี้ขึ้นมา ทำให้ระบบประชาธิปไตยเดินต่อไปไม่ได้ หากนำ 2 พรรคนี้มาร่วมอีก เชื่อว่า ในอนาคตอันใกล้อาจจะมีกลไกต่างๆ ที่ลำบากยิ่งกว่า สว. ก็เป็นได้ อย่างที่เคยบอกไปว่าควรรอ 10 เดือน ตอนนี้เหลือ 8 เดือนแล้ว เรา เรารออีก 8 เดือนเพื่อให้กลไก สว. หมดอายุจากนั้นจากนั้นจึงใช้กลไกของสภาผู้แทนราษฎรอย่างเดียว 

แม้ว่าประชาชนบางส่วนจะรอไม่ได้ แต่ก็ขอเป็นกระบอกเสียงจาก สส. ว่า การรีบเร่งจัดตั้งรัฐบาลโดยไม่คำนึงถึงอนาคต เมื่อรัฐบาลที่ตั้งขึ้นมาเข้าไปมีอำนาจ สร้างกลไกต่างๆ ที่ขัดขวางระบอบประชาธิปไตยจะไม่ใช่เพียงแค่ 9-10 เดือน อาจจะถึง 10 ปีหรือ 20 ปี เพราะมันมีกลไกที่ทำให้การเมืองไม่สามารถเดินไปข้างหน้าได้ หากเรานำ 2 ลุงกลับมาอีก 

434800_0.jpg

“รอเถอะครับ ผมเข้าใจดีทางภาคเอกชน ภาคประชาชน ลำบาก แต่ลำบากมา 9 ปีแล้ว รออีกนิดนึง เข้าใจความอึดอัดของพี่น้องประชาชน เราอยากจะเห็นว่า หลังเลือกตั้งได้รวมเสียงไปแล้ว ทำไมยังจัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ แต่ตอนนี้เราต้องสร้างระบอบประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นจริงๆ สร้างให้เห็นว่า พี่น้องประชาชนมีอำนาจจริงๆ” กัณวีร์ กล่าว 

เมื่อถามว่า ถ้าให้รอ สว. หมดวาระ แต่ตอนนี้พรรคเพื่อไทยดำเนินการจัดตั้งรัฐบาลไปไกลแล้ว กัณวีร์ กล่าวว่า ตอนนี้ยังไม่เสร็จสิ้น และยังไม่มีการตกผลึกอย่างที่สุด การที่ผู้บริหารพรรคเพื่อไทยไปคุยกับพรรคก้าวไกลก็เป็นตัวชี้วัดว่า เรายังพอมองเห็นเค้าลางรัฐบาลที่จัดตั้งโดย 8 พรรคร่วมในตอนแรกที่มี MOU ซึ่งจะเป็นรัฐบาลของประชาชน 

เมื่อถามย้ำว่า ไม่เชื่อว่า พรรคเพื่อไทยจะสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ใช่หรือไม่ กัณวีร์ กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นทุกพรรคมีแนวคิดเหมือนกัน แต่การจะแก้ไขอย่างไร ใช้กระบวนการใด หากจะใช้การจัดตั้งรัฐบาลโดยเร็วเพื่อแก้รัฐธรรมนูญนั้นไม่ใช่ ต้องดูว่าอำนาจของประชาชนอยู่ตรงไหน และคืนอำนาจให้ประชาชนอย่างไร หากไม่ใช่รัฐบาลที่มาจากประชาชน ก็ไม่สามารถคืนอำนาจให้กับประชาชนได้ 

ส่วนจะย้ายไปร่วมงานกับพรรคก้าวไกลหรือไม่ กัณวีร์ กล่าวว่า ตอนที่หาเสียงมีคนมาถามในลักษณะนี้เช่นกัน และพรรคก้าวไกลมีอุดมการณ์ทางการเมืองของเขา พรรคเป็นธรรมก็มีอุดมการณ์ของเรา เราจะเป็นผลิตผลให้ประชาชนเลือกว่า สินค้าตัวไหนมีคุณภาพที่ดี พรรคก้าวไกล และพรรคเป็นธรรม เป็นสิ่งที่จะทำให้ระบอบประชาธิปไตยเป็นของประชาชน และนำอำนาจกลับมาสู่ประชาชน ซึ่งทั้งหมดนี้พี่น้องประชาชนจะเป็นคนตัดสิน การตั้งรัฐบาลโดยเร็วไม่ใช่การตัดสินประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นโดยเป็นรัฐบาลจากประชาชนจริงๆ 


แนะสภาฯ ตั้ง กมธ. แก้ปัญหาความรุนแรงชายแดนไทย-เมียนมา

กัณวีร์ สืบแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม ในฐานะเลขาธิการพรรคเป็นธรรม แถลงเรียกร้องให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) เพื่อแก้ไขปัญหาความรุนแรงในชายแดนไทย-เมียนมา ว่า มีการเรียกร้องจากเครือข่ายภาคประชาสังคมในบริเวณตะเข็บชายแดนไทย-เมียนมาในหลายกลุ่ม อยากให้รัฐบาลเร่งพิจารณามาตรการคุ้มครองความปลอดภัยต่อพี่น้องประชาชน เนื่องจากสถานการณ์ความรุนแรง และการสู้รบ ซึ่งทำให้พี่น้องประชาชนมีผลกระทบทั้งชีวิต และทรัพย์สิน

กัณวีร์ กล่าวว่า การรัฐประหารในประเทศเมียนมามีการประหารประชาชนอย่างใหญ่หลวง จำนวนผู้พลัดถิ่นในประเทศเมียนมากว่า 1,000,000 คน และ 30% หรือ 300,000 คน อยู่บริเวณชายแดนไทย-เมียนมา ซึ่งผู้พลัดถิ่นพร้อมเข้ามาในประเทศไทยเสมอหากเกิดสถานการณ์ความรุนแรง ซึ่งปัจจุบันมีผู้ลี้ภัยจากประเทศเมียนมาอยู่ที่ศูนย์พักพิงชั่วคราวใน จ.เชียงราย จำนวน 9,035 คน แต่จำนวนที่ยังไม่ได้รับการยืนยันนั้นมีมากกว่านี้ จึงเรียกร้องให้ฝ่ายนิติบัญญัติหาทางแก้ปัญหาใน 2 เรื่องหลัก ได้แก่ การปฏิบัติการทางทหารเมียนมา และความคุ้มครองด้านมนุษยธรรมของรัฐบาลไทย 

กัณวีร์ กล่าวว่า ปฏิบัติการทางทหารของประเทศเมียนนมานั้น ทั้งทางภาคพื้น และทางอากาศมีการโจมตีโดยใช้เครื่องบินขับไล่ และโดรน ซึ่งโดรนที่ทหารเมียนมาใช้นั้น พบว่า มีการทิ้งระเบิด ไม่ใช่เป็นโดรนเพื่อสังเกตการณ์เท่านั้น ซึ่งมีความรุนแรงมากกว่า 100 เหตุการณ์ที่เกิดการยิงอาวุธจากประเทศเมียนมาข้ามมายังชายแดนประเทศไทย 

S__10264651_0.jpg

รวมถึงการคุ้มครองด้านสิทธิมนุษยธรรมของรัฐบาลไทยว่า มีศักยภาพเพียงพอ และสามารถแบ่งภาษีอากรของพี่น้องประชาชนมาเพื่อเตรียมความพร้อมด้านนี้หรือไม่ ซึ่งพรรคเป็นธรรมได้เสนอไปยังประธานสภาฯ ว่าจะต้องแก้ไขปัญหาทั้ง 2 เรื่อง โดยนายกรัฐมนตรีต้องเป็นผู้นำรัฐบาลไทยในการใช้กรอบความร่วมมือทั้งทวิภาคี และพหุภาคีเพื่อลดปฎิบัติการทางทหารเมียนมา ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประชาชนไทย และนายกฯ จำเป็นต้องพิจารณากลไกทุกระดับ กดดันให้ทหารเมียนมาเข้าใจว่า ‘Safety Zone’ (พื้นที่ปลอดภัย) อยู่ตรงไหน ซึ่งจำเป็นต้องมีพื้นที่ 5 กิโลเมตร นับตั้งแต่ชายแดนไทย เพื่อสามารถเป็นพื้นที่ปลอดภัย และเป็นระเบียงด้านมนุษยธรรม เพื่อป้องกันไม่ให้อธิปไตยของไทยเกิดผลกระทบ 

โดย ผู้พลัดถิ่นในไทยสามารถใช้พื้นที่ปลอดภัยนี้ ในการเดินทางมาอยู่ในประเทศไทย แต่เข้าใจว่ากรอบทวิภาคีนั้นไม่เพียงพอ รัฐบาลไทยต้องใช้โอกาสในการแสวงหาพหุภาคี นั่นคือ กรอบความร่วมมืออาเซียน เพราะอาเซียนเคยมีการพูดคุยกันแล้วในเรื่องฉันทามติ 5 ข้อ และส่งการเจรจาเพื่อลดรอนสิทธิมนุษยชน และรัฐบาลไทยต้องพูดคุยถึงการกำหนดพื้นที่ 5 กิโลเมตร เป็นผู้ริเริ่มการทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งลดลง อีกทั้ง การช่วยเหลือด้านสิทธิมนุษย์เสียทำนั้นศักยภาพของไทยไม่เพียงพอ จึงอยากรู้ว่า เราจะมีงบประมาณเพียงพอเพื่อตอบรับการช่วยเหลือหรือไม่ 

S__10264653_0.jpg

“นายกฯ ในฐานะประธารสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ควรเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จำเป็นต้องจัดทำตัวนโยบายให้มาเป็นคำสั่งสำนักนายกฯ ในการปฏิบัติการแบบบูรณาการ” กัณวีร์