ไม่พบผลการค้นหา
องค์กรสิทธิมนุษยชน ร่วมกันเรียกร้องให้รัฐบาลไทย หยุดการคุกคามทางกฎหมาย ผ่านกระบวนการยุติธรรม กรณีการนำเสนอข่าวด้านแรงงาน รวมถึงมีมาตรการปกป้องนักข่าวและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนจากกระบวนการทางอาญาที่การฟ้องคดีที่ไม่มีนํ้าหนัก

องค์กรสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วย 1. Amnesty International 2. ARTICLE 19 3. ASEAN Parliamentarians for Human Rights (APHR) 4. The Asian Forum for Human Rights and development (FORUM-ASIA) 5. ศูนย์ข้อมูลชุมชน Community Resource Center (CRC) 6. Civil Rights efenders7. Fortify Rights 8. สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน Human Rights Lawyers Association 9. Human Rights Watch 10. International Federation for Human Rights (FIDH) 11. ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน Thai Lawyers for Human Rights (TLHR) 12. World Organisation against Torture (OMCT)

เรียกร้องให้รัฐบาลไทยหยุดการคุกคามทางกฎหมายผ่านกระบวนการยุติธรรมต่อนักข่าว สุชาณี คลัวเทรอ และมีมาตรการที่ชัดเจนในการปกป้องนักข่าวและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนจากกระบวนการทางอาญาที่การฟ้องคดีที่ไม่มีนํ้าหนัก ในวันที่ 27 ตุลาคมนี้ ศาลจังหวัดลพบุรีจะอ่านคําพิพากษาอุทธรณ์ในคดีของ สุชาณี ซึ่งถูกศาลชั้นต้นตัดสินลงโทษในคดีที่ริเริ่มโดยบริษัทธรรมเกษตร คดีนี้เน้นยํ้าความจําเป็นในการยกเลิกข้อกฎหมายหมิ่นประมาททางอาญาซึ่งถูกใช้บ่อยครั้ง โดยบริษัทธุรกิจและปัจเจกบุคคลที่มีอํานาจในการปิดปากคนวิพากษ์วิจารณ์ การฟ้องคดีต่อสุชาณีเกิดจากการทวีตเกี่ยวกับข้อกล่าวหาเรื่องการละเมิดสิทธิแรงงานในฟาร์มไก่ของบริษัท ธรรมเกษตร ใน จ.ลพบุรี

จากข้อร้องเรียนของแรงงานที่ส่งให้ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพบว่าบริษัทไม่ได้จ่ายค่าแรงขั้นตํ่าและค่าแรงล่วงเวลา ไม่ได้จัดหาเวลาพักและวันหยุดอย่างพอเพียง และมีการยึดเอกสารประจําตัวของคนงาน ในปี 2559 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในจังหวัดลพบุรีได้มีคําสั่งให้ บริษัทธรรมเกษตรจ่ายค่าชดเชย 1.7 ล้านบาทให้กับแรงงาน ซึ่งเป็นบทลงโทษที่ศาลฎีกาได้พิพากษายืน สุชาณี เป็นนักข่าววอยซ์ทีวีในปี 2560 เป็นเวลาที่เธอทวีตข้อความดังกล่าวและรายงานข้อกล่าวหาที่ว่าในเดือน มี.ค. 2562 ธรรมเกษตรได้ฟ้องคดีอาญาต่อ สุชาณีภายใต้มาตรา 326 และ 328 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ว่าด้วยการหมิ่นประมาทและหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาตามลําดับ ในเดือน ธ.ค. ปี 2562 ศาลจังหวัดลพบุรีได้ตัดสินจําคุกสุชาณีสองปีโดยไม่รอลงอาญา

สุชาณีเป็นหนึ่งในผู้คนจํานวนมากที่ตกเป็นเป้าหมายของธรรมเกษตร ตั้งแต่ปี 2559, ธรรมเกษตรได้ริเริ่มคดีอาญาและคดีแพ่งต่อประชาชน 22 คนและวอยซ์ทีวี จากการที่ประชาชนและวอยซ์ทีวีพูดถึงการละเมิดสิทธิแรงงานของบริษัท ในจํานวนนี้ รวมถึงอดีตลูกจ้างของธรรมเกษตร นักกิจกรรมสิทธิแรงงาน นักวิชาการ นักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิง และอดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในเดือน มี.ค. 2563 สี่ผู้รายงานพิเศษและประธานของสองคณะทํางานแห่งสหประชาชาติได้เขียนถึงรัฐบาลไทยเพื่อแสดงความเป็นกังวลต่อการ

“คุกคามด้วยกระบวนการยุติธรรมอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทธรรมเกษตรต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนแรงงานข้ามชาติ นักข่าว และนักวิชาการ จากการไม่ยอมรับสภาพการจ้างงานอย่างเอารัดเอาเปรียบต่อแรงงานข้ามชาติ”

แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลไทยที่นํามาปฏิบัติในปี 2562 ได้ตั้งเป้าหมายให้ความสําคัญกับการลดการดําเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อต่อต้านการมีส่วนร่วมของสาธารณะ (Strategic Lawsuit Against Public Participation) หรือ SLAPPs และป้องกันการดําเนินคดีต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลกลับล้มเหลวในจุดประสงค์ข้อนี้ ต้นเดือนที่ผ่านมา

รัฐบาลไทยเพิ่งลดทอนคํามั่นสัญญาของตัวเองในการปกป้องสิทธิมนุษยชนด้วยการมอบรางวัลด้านสิทธิมษุยชนให้กับบริษัทมิตรผล บริษัทนํ้าตาลที่ถูกฟ้องคดีกลุ่มเนื่องจากการละเมิดสิทธิมนูษยชนในกัมพูชา ในเดือน ธ.ค. 2562 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) ได้แก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยเพิ่มกฎหมายสองข้อในมาตรา 161/1 และ 165/2 ซึ่งให้อํานาจในการไม่รับฟ้องคดีต่อบุคคลที่ถูกกล่าวหาในคดีที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะ การปฏิรูปนี้ถูกอ้างอิงในแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนว่าเป็นหลักฐานความพยายามของรัฐบาลในการป้องกันการดําเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อต่อต้านการมีส่วนร่วมของสาธารณะ

อย่างไรก็ตามผู้พิพากษาได้ปฏิเสธที่จะใช้กฎหมายสองตัวนี้ในคดีไม่มีมูลที่ฟ้องโดยธรรมเกษตรและบริษัทเอกชนอื่นต่อนักข่าวและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน จนถึงทุกวันนี้ ในขณะที่การบังคับใช้มาตรา 161/1 และ 165/2 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยผู้พิพากษาในการยุติคดีที่ละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะจะเป็นก้าวที่น่าชื่นชม การปฏิรูปที่มีผลมากกว่านั้นก็ยังจําเป็นเช่นกัน เราเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกโทษทางอาญาของการหมิ่นประมาท โดยการยกเลิกหรือแก้ไขมาตรา 326-333 ในประมวลกฎหมายอาญา และมาตรา 14 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในระดับสากลนั้น ฉันทามติว่าด้วยการยกเลิกโทษทางอาญาของการหมิ่นประมาทนั้นเพิ่มสูงขึ้น เช่นที่มีการรับรองไว้ในข้อวินิจฉัยทั่วไป (General Comment) ที่ 34 ของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเน้นว่าการจําคุกไม่ใช่การลงโทษที่เหมาะสมของการหมิ่นประมาท เรายังเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปฏิบัติตามมาตรการในการหยุดกระบวนการทางอาญาที่การฟ้องคดีที่ไม่มีนํ้าหนักต่อนักข่าว นักปกป้องสิทธิมนุษยชน และผู้แจ้งเบาะแสโดยทันที