ไม่พบผลการค้นหา
กรมทางหลวงติดตั้งป้ายเตือนผู้ขับขี่บนถนนเป็นระยะ หวังช่วยลดอุบัติเหตุตามนโยบายกระทรวงคมนาคม

นายธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า ทางสำนักอำนวยความปลอดภัยกรมทางหลวง รายงานสถิติความปลอดภัย พบว่า มีถนนทางหลวง 8 เส้นทาง มีสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุมาจากผู้ขับขี่หลับในมากที่สุด คือ 

1. ทางหลวงหมายเลข 1 ตอน พาน-สันทรายหลวง ระหว่าง กม.ที่ 916-922 ระยะทางประมาณ 6 กม. พื้นที่จังหวัดเชียงราย 

2.ทางหลวงหมายเลข 323 ตอน แยกปากกิเลน-น้ำตกไทรโยคใหญ่ ระหว่าง กม.ที่ 110-115 พื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี 

3.ทางหลวงหมายเลข 1 ตอน วังม่วง-แม่เชียงรายบน ระหว่าง กม.ที่ 535-540 พื้นที่จังหวัดตาก 

4.ทางหลวงหมายเลข 4 ตอน น้ำรอด-พ่อตาหินช้าง ระหว่าง กม.ที่ 415-425 พื้นที่จังหวัดชุมพร 

5.ทางหลวงหมายเลข 224 ตอน พะโค-หนองสนวน ระหว่าง กม.ที่ 90-95 พื้นที่จังหวัดนครราชสีมา 

6.ทางหลวงหมายเลข 402 ตอน หมากปรก-เมืองภูเก็ต ระหว่าง กม.ที่ 30-35 พื้นที่จังหวัดภูเก็ต 

7.ทางหลวงหมายเลข 4 ตอน ปากท่อ-สระพัง ระหว่าง กม.ที่ 123-133 ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม และ

8.ทางหลวงหมายเลข 35 ตอน สะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน-นาโคก ระหว่าง กม.ที่ 40-45 ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร 

อธิบดีกรมทางหลวงจึงสั่งการให้สำนักทางหลวงและแขวงทางหลวงในพื้นที่ ติดตั้งป้ายเตือน “ง่วงหยุดพัก” และตั้งจุดบริการประชาชนเพิ่มเติมในจุดที่เกิดอุบัติเหตุบนสายทางที่พบว่าเกิดจากการหลับในของผู้ขับขี่ ซึ่งมีสาเหตุมาจากเหนื่อยล้าและเป็นทางตรงระยะยาว

นอกจากทางหลวง 8 เส้นทางแล้ว ทางกรมทางหลวงยังเตรียมเตรียมความพร้อมในการอำนวยความสะดวกและปลอดภัยเพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2561 ภายใต้นโยบาย One Transport ของกระทรวงคมนาคม โดยทางกระทรวงฯ มีเป้าหมายจะให้อุบัติเหตุเป็นศูนย์ใน 77 เส้นทาง ที่กระทรวงฯได้คัดเลือกมา โดยเป็นของกรมทางหลวง 47 เส้นทาง และกรมทางหลวงชนบท 30 เส้นทาง 

จุดเสี่ยงภาคเหนือ

ทางหลวงหมายเลข 1  พิกัด โนนปอแดง – ปากดง กม. 386 – 394 จังหวัดกำแพงเพชร

ทางหลวงหมายเลข 1 พิกัด วังม่วง – แม่เชียงรายบน กม.535 – 540 จังหวัด ตาก

ทางหลวงหมายเลข 12 พิกัด กลางสะพานมิตรภาพแม่สอด – แม่ละเมา  กม.1- 6 จังหวัด ตาก

ทางหลวงหมายเลข 101 พิกัด ร้องกวาง – สวนป่า กม. 283-290 จังหวัด แพร่

ทางหลวงหมายเลข 101 พิกัด แยกบ้านฝ้าย – ร้องกวาง กม. 252 – 257 จังหวัด แพร่

ทางหลวงหมายเลข 11 พิกัด บึงหลัก-หนองเขียว กม.346-351 จังหวัด อุตรดิตถ์

ทางหลวงหมายเลข 12 พิกัด น้ำดุก – ห้วยซ้ำมะคาว กม.372-375 จังหวัด เพชรบูรณ์

ทางหลวงหมายเลข 12 พิกัด เข็กน้อย – แยกอนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง กม.340 – 348 จังหวัด เพชรบูรณ์

ทางหลวงหมายเลข 1009 พิกัด จอมทอง – ดอยอินทนนท์ กม. 0+5 จังหวัดเชียงใหม่

ทางหลวงหมายเลข 118 พิกัด ท่าก๊อ – ดงมะดะ กม. 132 + 139 จังหวัด เชียงราย

ทางหลวงหมายเลข 1 พิกัด พาน – สันทรายหลวง กม. 916- 922 จังหวัด เชียงราย

ทางหลวงหมายเลข 1 พิกัด แม่คำ – กลางสะพานแม่น้ำสาย กม. 972 – 976 จังหวัดเชียงราย


จุดเสี่ยงภาคอีสาน

ทางหลวงหมายเลข 205 /พิกัด โคกสวาย – ขท.นครราชสีมาที่ 1  กม. 204 + 209 /จังหวัด นครราชสีมา

ทางหลวงหมายเลข 224 /พิกัด พะโค – หนองสนวน กม. 90- 95 /จังหวัดนครราชสีมา

ทางหลวงหมายเลข 226 /พิกัด หัวทะเล – หนองกระทิง กม. 15 + 20/ จังหวัด นครราชสีมา

ทางหลวงหมายเลข 304 /พิกัด ดอนขวาง-โพธิ์กลาง กม.272-278 /จังหวัดนครราชสีมา

ทางหลวงหมายเลข 2 /พิกัด ขอนแก่น – หินลาด กม. 343- 354 /จังหวั��� ขอนแก่น

ทางหลวงหมายเลข 2044 /พิกัด ร้อยเอ็ด – หนองดง กม.0+184 – 5/ จังหวัด ร้อยเอ็ด

ทางหลวงหมายเลข 22/ พิกัด สูงเนิน – ท่าแร่ กม.161- 167 / จังหวัด สกลนคร

ทางหลวงหมายเลข 22 / พิกัด กุรุคุ – นครพนม กม.235-240 / จังหวัด นครพนม

ทางหลวงหมายเลข 212 /พิกัด ย้อมพัฒนา – นาโพธิ์ กม. 406-411 /จังหวัด มุกดาหารทางหลวง

หมายเลข 212 / พิกัด หนองยอ – อุบลราชธานี กม. 568-574 / จังหวัดอุบลราชธานี

ทางหลวงหมายเลข 217 /พิกัด วารินทร์ชำราบ – พิบูลมังสาหาร กม. 22 – 37 / จังหวัดอุบลราชธานี


จุดเสี่ยงภาคกลาง-ตะวันออก

ทางหลวงหมายเลข 33 พิกัด บางปะหัน – โคกแดง  กม. 49- 62 จังหวัดอยุธยา

ทางหลวงหมายเลข 1084 พิกัด ป่าแดง – หาดชะอม กม. 5- 14 จังหวัดนครสวรรค์

ทางหลวงหมายเลข 2 พิกัด สระบุรี – ตาลเดี่ยว กม. 0-5 จังหวัดสระบุรี

ทางหลวงหมายเลข 32 พิกัด ไชโย – สิงห์ใต้ กม.78- 83+900 จังหวัดอ่างทอง

ทางหลวงหมายเลข 340 พิกัด สาลี – สุพรรณบุรี กม. 55-60 จังหวัดสุพรรณบุรี

ทางหลวงหมายเลข 3312 พิกัด ลำลูกกา – คลองใน กม.19-21 จังหวัดนครนายก

ทางหลวงหมายเลข 4 พิกัด ปากท่อ – สระพัง กม.123-133 จังหวัดสมุทรสงคราม

ทางหลวงหมายเลข 35 พิกัด สะพานขึ้นแม่น้ำท่าจีน-ยาโคก กม.4-5 จังหวัดสมุทรสาคร

ทางหลวงหมายเลข 323 พิกัด แยกปากกิเลน – น้ำตกไทรโยคใหญ่ กม.110 – 115จังหวัด กาญจนบุรี

ทางหลวงหมายเลข 4 พิกัด หนองหมู – ห้วยยาง กม. 276 +813- 295 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ทางหลวงหมายเลข 3 พิกัด ชลบุรี – ศรีราชา กม. 98 – 103 จังหวัดชลบุรี

ทางหลวงหมายเลข 3395 พิกัด วัฒนานคร – โคคลาน กม. 82- 87 จังหวัดสระแก้ว


จุดเสี่ยงภาคใต้

ทางหลวงหมายเลข 4 พิกัด สระพระ –ห้วยทรายใต้ กม.187-193 จังหวัดเพชรบุรี

ทางหลวงหมายเลข 4 พิกัด น้ำรอด-พ่อตาหินช้าง กม. 425-440 จังหวัดชุมพร

ทางหลวงหมายเลข 4 พิกัด เขาพับผ้า – พัทลุง กม.1158+ 1163 จังหวัดพัทลุง

ทางหลวงหมายเลข 41 พิกัด ถ้ำพรรณรา – ทุ่งสง กม. 264-271 จังหวัดนครศรีธรรมราช

ทางหลวงหมายเลข 41 พิกัด สี่แยกโพธิ์ทอง – พัทลุง กม. 377- 382+616 จังหวัดพัทลุง

ทางหลวงหมายเลข 43 พิกัด นาหม่อม – จะนะ กม. 270 – 320 จังหวัดสงขลา

ทางหลวงหมายเลข 4 พิกัด คลองหวะ – พังลา กม. 1258+642-1263 จังหวัดสงขลา

ทางหลวงหมายเลข 41 พิกัด เกาะมุกข์ – ควนรา กม. 118 – 132 จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ทางหลวงหมายเลข401 กัด บางกุ้ง-เขาหัวช้าง กม.175-180 จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ทางหลวงหมายเลข 402 พิกัด หมากปรก – เมืองภูเก็ต กม. 30- 35 จังหวัดภูเก็ต

ทางหลวงหมายเลข 4030 พิกัด ถลาง – หาดราไวย์  กม. 26-28+290 และ29+790-32 จังหวัด ภูเก็ต

ทางหลวงหมายเลข 4029 พิกัด กระทู้ – ป่าตอง กม 0.-3+236 จังหวัดภูเก็ต


สบส. ย้ำสุขบัญญัติ 4 วิธี เดินทางกลับบ้านปลอดภัยช่วงเทศกาลสงกรานต์

ด้าน นพ. ภานุวัฒน์ ปานเกตุ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประชาชนจำนวนมากเดินทางกลับบ้านเพื่อรดน้ำดำหัวขอพรผู้ใหญ่ ใช้เวลากับครอบครัว และเล่นน้ำสงกรานต์ ซึ่งทุกปีมักพบการเกิดอุบัติเหตุจากการขับรถ ทั้งนี้ จากสถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุจากการขับรถในปี 2560 ของศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน (ศปถ.) รายงานว่าสถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วง 7 วันอันตรายของการรณรงค์ลดอุบัติเหตุพบว่า มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นรวม 307 ครั้ง จำนวนผู้เสียชีวิต 40 ราย และผู้บาดเจ็บ 323 รายสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ 3 อันดับแรก คือ 

1.เมาสุรา

2.ขับรถเร็วเกินกำหนด

3.ตัดหน้ากระชั้นชิด

โดยประเภทรถที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ และรถปิกอัพ สาเหตุสำคัญเกิดจากการผู้ขับขี่มีพฤติกรรมการดื่มสุราและพฤติกรรมขับรถเร็วเกินกำหนด 

นายชาญยุทธ พรหมประพัฒน์ ผู้อำนวยการกองสุขศึกษา กล่าวแนะประชาชนให้ยึดหลักสุขบัญญัติ เน้น 4 วิธี ได้แก่

1. ป้องกันอุบัติเหตุด้วยความไม่ประมาท ขับขี่รถปลอดภัยปฏิบัติตามกฎจราจร และคาดเข็มขัดนิรภัย กรณีขับรถจักรยานยนต์ให้สวมหมวกกันน็อคทุกครั้ง

2.ไม่ขับเร็วเกินที่กฎหมายกำหนด ให้นึกถึงครอบครัวคนรักที่รออยู่ที่บ้าน   

3. มีสติอยู่เสมอ ไม่คุยโทรศัพท์และเล่นโซเชียลขณะขับรถ 

4. งดดื่มสุราและของมึนเมาขณะขับรถ ถ้ารู้สึกง่วงให้ใช้วิธีการจิบน้ำหรือเครื่องดื่มที่สดชื่น เพื่อให้ตื่นตัวรวมถึงการเปิดเพลงป้องกันการง่วงนอนและหลับในขณะขับรถ