ไม่พบผลการค้นหา
กรธ.เตรียมเสนอร่างกฎหมายว่าด้วยที่มา ส.ส.และ ส.ว.ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง 2 ฉบับสุดท้าย ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติวันนี้ /ยืนยันหลักการให้ ส.ว.สรรหาและแต่งตั้ง ร่วมเสนอชื่อและโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี

นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ. เปิดเผยว่า ขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. เสร็จเรียบร้อยแล้ว อยู่ในระหว่างการทบทวน ก่อนส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

 ในวันนี้ (28 พ.ย. )โดยยืนยันหลักการ ส.ว. สรรหา 200 คนมีสิทธิ์เสนอชื่อและลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีคนนอก ตามรัฐธรรมนูญ

พร้อมปฏิเสธว่า ไม่ได้ร่างกฎหมายเอื้อประโยชน์ คสช.และกลุ่มทหารจัดตั้งรัฐบาลหลังเลือกตั้ง หากนักการเมืองทำนโยบายที่ประชาชนชื่นชอบ ก็มีโอกาสจะได้รับเลือกเป็น ส.ส. มากตามไปด้วย และหาก ส.ส. และ ส.ว. สามารถเลือกนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งได้ ก็ไม่จำเป็นต้องเลือกนายกรัฐมนตรีคนนอก

นายมีชัย กล่าวว่า ส่วนตัวไม่ขอออกความเห็นกรณีที่มีนักการเมืองออกมาที่วิเคราะห์ว่า ร่าง พ.ร.ป.ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งเอื้อประโยชน์รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และกลุ่มทหารจัดตั้งรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้ง เพราะส่วนตัวไม่มีความรู้ทางด้านการเมือง ยืนยันว่าเนื้อหาต่อการเลือกตั้ง ส.ส.นั้น หากนักการเมืองทำนโยบายที่ประชาชนชื่นชอบมีโอกาสจะได้รับเลือกเป็น ส.ส.ส่วนที่นักการเมืองให้ความเห็นดังกล่าวอาจเป็นเพราะการประเมินส่วนตัวที่คิดว่าพรรคจะได้ ส.ส.เพียง 5-10 คนเท่านั้น

อย่าง ไรก็ตาม มาตรา 269 ของบทเฉพาะกาล รัฐธรรมนูญ 2560 กำหนดให้วาระเริ่มแรก มี ส.ว.จำนวน 250 คน มาจากการสรรหา โดยกรรมการสรรหาที่ คสช.จะแต่งตั้งขึ้น จากนั้นส่งรายชื่อให้ คสช.เป็นผู้คัดเลือกวุฒิสภาในขั้นตอนสุดท้ายจำนวน 194 คน รวมกับผู้ได้รับแต่งตั้ง เป็น ส.ว.โดยตำแหน่ง ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงกลาโหม /ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการเหล่าทัพ /ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รวมเป็น 250 คน

 มีวาระ 5 ปี กรณีพ้นตำแหน่ง ให้เลื่อนรายชื่อบุคคลตามลำดับในบัญชีสำรอง หรือผู้ที่เข้ารับตำแหน่งใหม่ขึ้นมาแทน จนกว่าจะครบวาระ / นอกจากอำนาจเสนอชื่อและโหวตนายกรัฐมนตรีแล้ว ยังมีหน้าที่และอำนาจ ติดตาม เสนอแนะ กำกับการบริหารประเทศให้เป็นไปตามแผนปฏิรูป และอำนาจเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายด้วย