การปรับองคาพยพที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นภาพ “ความหลากหลาย”ของขบวนการเสื้อแดง มากกว่า การมีเอกภาพตามสายบังคับบัญชา
การปรับองคาพยพของขบวนการเสื้อแดง ภายใต้การนำของอ.ธิดา ถาวรเศรษรักษาการประธาน นปช. พร้อมประกาศ 4 แนวทางการต่อสู้ คือ รณรงค์ปล่อยตัวแกนนำ- มวลชนคนเสื้อแดง การเยียวยาผู้ถูกกระทำ เรียกร้องความยุติธรรมโดยใช้กฎหมายมาตรฐานเดียว และการยกระดับการต่อสู้ด้วยองค์ความรู้
อ.อนุสรณ์ อุณโณ จากคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มองว่าเป็นการเคลื่อนในลักษณะของ “ขบวนการ”มากกว่า “องค์กร”เพราะ การปรับองคาพยพที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นภาพ “ความหลากหลาย”ของขบวนการเสื้อแดง มากกว่า การมีเอกภาพตามสายบังคับบัญชา แต่การจัดตั้งองค์กร ทำให้มีบุคคลรับผิดชอบชัดเจนในการกำหนดประเด็นในการเคลื่อนไหว พร้อมกับเสนอให้เพิ่มแนวทางต่อสู้อีก 2 ประเด็น คือ การสร้างวัฒนธรรมในการรับผิด และ การนำเสนอประเด็นนำการเคลื่อนไหวอบชัดเจนในการกำหนดประเด็นในการเคลื่อนไหว
อ.อนุสรณ์ ประเมินว่า ขบวนการเสื้อแดงมี 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม นปช. , กลุ่มอิสระ และกลุ่มปัจเจกบุคคล ที่พบว่า หลังการปราบปรามในเดือนพฤษภาคม มีการขยายตัวของกลุ่มกิจกรรมทางสังคม โดยมีกลุ่มเสื้อแดงที่เป็นปัจเจกบุคคลเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองมากขึ้น พวกเขากลายเป็นพลเมืองที่มีความตื่นรู้ทางการเมืองสูง ถ้าพรรคการเมืองใดมีวิธีสื่อสารกับคนกลุ่มนี้น่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการเลือกตั้งที่เคยใช้ “หัวคะแนน”
นักวิชาการด้านสังคมวิทยาท่านนี้ ยังมองว่า ขณะนี้ นปช. เป็นกลุ่มหนึ่งของขบวนการเสื้อแดง ที่มีความหลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์เดือนพฤษภา 53 มีกลุ่มที่เข้าร่วมขบวนการเสื้อแดงมากขึ้น โดยชูเรื่องความไม่เป็นธรรม กลุ่มคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ก้าวข้ามพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไปแล้ว
Produced by VoiceTV