ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (UddC) ชี้ ควรมองปัญหาหาบเร่ แผงลอยแบบเหรียญสองด้าน
มีผลวิจัยที่ศึกษามาแล้วพบว่า แผงลอยทำให้ถนนมีชีวิตชีวา แต่บางคนก็ไม่ชอบเพราะมองว่ามันสกปรก เบียด เกะกะ ไทยไม่ใช่ประเทศเดียวที่ประสบปัญหานี้ สิงคโปร์ก็เคยเผชิญมาและเป็นประเทศต้นแบบในการแก้ปัญหาหาบเร่ แผงลอย
รัฐบาลสิงคโปร์พบว่า มาตรการปราบปรามไม่ประสบผลสำเร็จ อต่สามารถจัดระเบียบ วางระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ที่เหมาะสำหรับการจำหน่ายอาหารครบครันได้ ทั้งเรื่องไฟฟ้า น้ำประปา ระบบกำจัดขยะ ตู้แช่ส่วนกลาง ฯ และให้ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยเดิมเช่าพื้นที่ได้ในราคาที่ต่ำ
หาบเร่แผงลอยบ้านเราทำหน้าที่แบบเดียวกับสิงคโปร์ในอดีต คือบริการอาหารถูกกับแรงงานที่รายได้ไม่สูงนัก ที่เราเห็นหาบเร่แผงลอยทั่วไป เพราะแรงงานของเราไม่ได้อยู่กับที่ แต่เคลื่อนที่ไปมาได้ ซึ่งเป็นวิถีของแรงงานกรุงเทพ..บ้านเราอาจจะต้องศึกษาบ้างว่า สิงคโปร์เคยปราบปรามแบบนี้แล้วล้มเหลว ถ้าสนับสนุนด้วยการจัดระบบรับรอง น่าจะตอบโจทย์ประชาชนมากกว่า