ไม่พบผลการค้นหา
ชาวจีนเที่ยวเชิงแพทย์เพิ่ม-ช่วย รพ.เอกชนไทยเติบโต
กองทุนรวมบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ตรายแรกในไทย
เจาะแผนฮับซ่อมเครื่องบิน ไทยตามห่างสิงคโปร์
 ICAO ปลดธงแดง และอนาคตที่สดใสของธุรกิจการบินไทย
 เงินบาทแข็งไม่เป็นอุปสรรคต่อการท่องเที่ยวไทย
อินโดนีเซียพัฒนาเส้นทางบินเล็งสู้ไทยดึงดูดชาวจีน
World Trend - สื่อต่างชาติเผย ‘ไมโครซอฟท์’ มีมูลค่ามากกว่า ‘กูเกิล’ - Short Clip
ธอส.ตั้งเป้าหมายปล่อยสินเชื่อ 1 ล้านล้าน
ยูนิเซฟขานรับ พ.ร.บ.คุมโฆษณานมผงไทย
กฟน. แถลงความสำเร็จนำไฟฟ้าลงใต้ดินเพิ่มเติม 4 เส้นทาง ใจกลางกรุงฯ
Biz Feed - เงินสะพัดธุรกิจสัตว์เลี้ยงเกือบ 3 หมื่นล้านบาท - Short Clip
Biz Insight  : จับตามอง iPhone 8 หลัง Galaxy Note 8 เปิดตัวไม่ฮือฮา 
โตโยต้า เปิดตัว All New SIENTA รั้งผู้นำตลาดเอ็มพีวี
World Trend - CLMVT: ปลายทางรับเงินลงทุนแทนที่จีน - Short Clip
A money เปิด15 สาขา จับมือธนชาต กดเงินผ่าน ATM
The Toppick - อินโดฯระบุพิกัดเมืองหลวงใหม่ กระจายความเจริญ-หนีเมืองจมน้ำ - Short Clip
มาสด้า 2 ดีเซล เครื่อง 1.5 ราคา 6 แสนกว่า
The Toppick - 'แก่ก่อนรวย' เศรษฐกิจไทยพัฒนาไม่ทันสังคมสูงวัย - Short Clip
เตรียมพร้อมก่อนไป 'มอเตอร์ เอ็กซ์โป 2014'
ไทยเล็งแข่งธุรกิจซ่อมบำรุงเครื่องบินกับสิงคโปร์
May 30, 2017 03:23

สื่อต่างประเทศเผยว่ารัฐบาลไทยตั้งเป้าดึงดูดธุรกิจซ่อมบำรุงเครื่องบินให้เข้ามาลงทุนในไทย โดยหวังจะแข่งกับสิงคโปร์ที่เป็นฐานใหญ่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แต่เดิม จึงมีทั้งความเป็นไปได้และข้อจำกัดที่ไทยจะต้องเผชิญ

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่ารัฐบาลไทยตั้งเป้าที่จะดึงดูดบริษัทซ่อมบำรุงเครื่องบินจากต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในไทย เพื่อแข่งขันกับสิงคโปร์ที่เป็นฐานใหญ่ของกิจการบำรุงรักษา ยกเครื่อง ซ่อมแซมเครื่องบิน หรือ MRO ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มานาน แต่เนื่องจากธุรกิจดังกล่าวในสิงคโปร์เริ่มเข้าสู่ภาวะแออัด จึงคาดว่าไทยจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะตอบสนองความต้องการภายในภูมิภาคได้

นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ เปิดเผยว่าไทยมีจุดแข็งด้านยานยนต์และงานช่าง ขณะที่ความต้องการบริการซ่อมบำรุงและรักษาเครื่องบินในภูมิภาคที่จะเติบโตในอนาคต คาดว่าจะมาจากเมียนมา เวียดนาม และกัมพูชา ทั้งยังมีรายงานด้วยว่ารัฐบาลไทยจะใช้งบประมาณกว่า 1 แสน 9 หมื่น 4 พัน 2 ร้อยล้านบาทเพื่อปรับปรุงสนามบินนานาชาติอู่ตะเภาให้รองรับความต้องการในด้านนี้

ล่าสุด บริษัท ไซกอร์สกีแอร์คราฟต์ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือล็อกฮีดมาร์ติน จะศึกษาความเป็นไปได้ที่จะลงทุนเพิ่มเติมในกิจการเอ็มอาร์โอในประเทศไทย ต่อจากบริษัทแอร์บัส เอสอี ที่ลงนามข้อตกลงกับการบินไทยเพื่อประเมินลู่ทางที่จะพัฒนาโรงซ่อมเครื่องบินที่อู่ตะเภาตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา

แผนปรับปรุงสนามบินอู่ตะเภาซึ่งมีบทบาทสำคัญด้านการทหารในสมัยสงครามเวียดนาม เป็นส่วนหนึ่งในแผนลงทุนของรัฐบาลทหาร คิดเป็นมูลค่า กว่า 1.5 ล้านล้านบาท ซึ่งรัฐบาลต้องการจะพัฒนาเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ในช่วงปี 2560-2564 ซึ่งนอกเหนือจากการพัฒนาธุรกิจด้านการบินแล้ว ไทยยังมีแผนใช้งบประมาณอีกหลายแสนล้านบาทในการสร้างรางรถไฟความเร็วสูง สร้างเมืองใหม่ และพัฒนาอุตสาหกรรมเพิ่มเติม โดยรัฐบาลจะเป็นเจ้าของและบริหารสนามบินกับท่าเรือเอง ส่วนโครงการอื่นๆ จะเป็นการร่วมทุนกับเอกชนหรือให้เอกชนเป็นเจ้าของ

ก่อนหน้านี้ในเดือนมกราคม บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ ทั้งแอร์บัสและโบอิง ต่างประเมินว่าประเทศไทยจะมีความต้องการเครื่องบินพาณิชย์เพิ่มเติมราว 12,500 ถึง 15,000 ลำภายในเวลา 20 ปีต่อจากนี้ ทำให้หลายประเทศสนใจจะลงทุนด้านการซ่อมบำรุงเครื่องบินในไทย โดยบีโอไอระบุว่าขณะนี้มี 24 บริษัทที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอะไหล่เครื่องบินในประเทศไทย ส่วนอีก 12 บริษัทประกอบธุรกิจซ่อมบำรุงเครื่องบินอยู่แล้ว ทำให้ไทยมีศักยภาพที่จะพัฒนาธุรกิจด้านนี้ให้เท่าเทียมกับสิงคโปร์ที่มีบริษัทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุงเครื่องบินอยู่ประมาณ 100 กว่าบริษัท 

รายงานของเว็บไซต์ Southeast Asia Globe ซึ่งอ้างอิงบริษัทผู้ประกอบกิจการซ่อมบำรุงสนามบินในไทย ระบุด้วยว่าประเทศไทยถือเป็นพื้นที่สำคัญทางด้านยุทธศาสตร์ที่สามารถเชื่อมต่อกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคได้อย่างง่ายดาย ทั้งยังมีค่าแรงราคาถูกและรัฐบาลมีมาตรการสร้างแรงจูงใจในการลงทุนที่เป็นผลประโยชน์จากความตกลงเขตการค้าเสรีด้วย

อย่างไรก็ตาม บลูมเบิร์กรายงานว่า แม้บีโอไอจะให้สิ่งจูงใจต่างๆ เช่น ด้านภาษี ในการดึงดูดบริษัทต่างชาติ แต่ก็ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า รัฐบาลไทยจะผลักดันอีอีซีให้คืบหน้าไปได้รวดเร็วแค่ไหน เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่ และยังมีข้อท้าทายอีกหลายประการ เช่น ไทยขาดแคลนแรงงานมีฝีมือ และนักลงทุนอาจวิตกว่าไทยมีความเสี่ยงอันตรายจากความผันผวนทางการเมือง

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog