ผู้ให้กำเนิดแนวคิดในการแบ่งแยกอำนาจปกครองสูงสุดหรืออำนาจอธิปไตยคือ ชารล์ เดอ มองเตสกิเออร์(Charles de Montesqieu)
มองเตสกิเออร์ มีชื่อเต็มว่า Charles de Secondat, Baron de Montesquieu (1689 - 1755) เขาเป็นนักคิดชาวฝรั่งเศสที่มีความสนใจหลายด้านไม่ว่าประวัติศาสตร์ การเมือง กฎหมาย และถือว่าทรงอิทธิพลมากคนหนึ่งในบรรดานักคิดในยุโรป
งานเขียนชิ้นสำคัญของมงแต็สกิเยอที่เป็นที่อ้างอิงเนืองๆคือ The spirit of the laws ได้รับการเผยแพร่ในปี 1748 ในงานเขียนชิ้นนี้เขานำเสนอแนวคิดที่เชื่อว่าจะช่วยทำให้ระบบการปกครองแบบเสรีเป็นจริง นั่นคือการแบ่งแยกอำนาจสามฝ่าย คือฝ่ายบริหาร ตุลาการและนิติบัญญัติ แนวคิดนี้กลายเป็นพื้นฐานของการวางโครงสร้างระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยเฉพาะในสหรัฐฯและฝรั่งเศส
มงแต็สกีเยอมีอิทธิพลในการพัฒนาแนวคิดหลายเรื่อง เช่นแนวคิดที่ว่าประชาชนทุกคนมีความเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย สิทธิในการเลือกตัวแทน เสรีภาพในการแสดงออก สื่อ ความเชื่อ การแยกศาสนาออกจากฝ่ายบริหาร การขจัดการทรมานและการลงโทษอย่างรุนแรง รวมทั้งเรื่องที่นาชาติจะต้องร่วมมือกันเพื่อทำให้ผู้ทำสงครามต้องคำนึงถึงมนุษยธรรม
เป็นหนึ่งในบรรดาตัวแทนที่ทรงอิทธิพลและเป็นที่รู้จักในยุคภูมิธรรมในฝรั่งเศส ความสนใจในศาสตร์ต่างอันหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ประวัติศาสตร์ ปรัชญา กฎหมาย และการเมือง ส่งผลให้เขาโลดแล่นอยู่บนเส้นทางอาชีพอันโดดเด่น ไม่ว่าจะเป็นผู้พิพากษา นักการเมือง นักประพันธ์รวมทั้งนักคิดทางการเมือง
โดยมองเตสกิเออร์ได้แบ่งแยกอำนาจออกเป็น 3 ฝ่าย โดยพิจารณาในแง่ขององค์กรผู้ใช้อำนาจออกเป็นอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ ตามแนวคิดของอริสโตเติล (Aristotle) นักปราชญ์การเมืองชาวกรีกโบราณ ซึ่งมีเป้าหมายประการสำคัญคือการให้อำนาจแต่ละฝ่ายถ่วงดุลและตรวจสอบซึ่งกันและกันทั้งสามฝ่าย และเพื่อประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้ปลอดจากการใช้อำนาจโดยมิชอบขององค์กรภาครัฐที่ใช้อำนาจหนึ่งอำนาจใดที่อาจละเมิดลิดรอนโดยอำนาจรัฐไม่ว่าฝ่ายใด
เหตุผลที่มองเตสกิเออเสนอแนวคิกให้แบ่งแยกอำนาจการปกครองสูงสุดนี้เนื่องจากเขาเห็นว่า หากอำนาจในการนิติบัญญัติหรือการตรากฎหมาย อำนาจในการบริหารหรือการบังคับตามมติมหาชน และอำนาจตุลาการในการพิจารณาคดี ถูกใช้โดยบุคคลเดียวหรือองค์กรเดียว ไม่ว่าจะเป็นขุนนางหรือประชาชนก็ตามแล้ว ยากที่จะมีเสรีภาพอยู่ได้ ทั้งนี้เป็นเพราะ ผู้ใช้ทั้งอำนาจนิติบัญญัติรวมกับอำนาจบริหาร จะออกกฎหมายแบบทรราชและบังคับใช้กฎหมายในทางมิชอบ หากอำนาจตุลาการรวมกันกับอำนาจนิติบัญญัติ ผู้พิพากษาจะเป็นผู้ออกกฎหมาย อันอาจส่งผลให้ชีวิตและเสรีภาพของผู้ใต้การปกครอง ถูกบังคับควบคุมโดยกฎหมายที่ลำเอียง และหากให้อำนาจตุลาการรวมกับอำนาจบริหารแล้ว ผู้พิพากษาจะประพฤติตัวแบบกดขี่รุนแรง อันจำเป็นต้องแยกอำนาจแต่ละด้านออกจากกัน
*เมื่ออ้างถึงหลักการแบ่งแยกอำนาจ ในศตวรรษที่ 17ก็ต้องพูดถึง Montesquieu กับหนังสือ The Spirit of Law มีอิทธิพลต่อการร่างรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาและของฝรั่งเศสในระยะนั้นเป็นอย่างยิ่ง
โดยมองเตสกิเออร์ได้กล่าวไว้ในหนังสือ เจตนารมณ์ของกฎหมาย ความตอนหนึ่งว่า
1) อำนาจนิติบัญญัติ คือ อำนาจเกี่ยวกับการวางระเบียบบังคับทั่วไปในรัฐ
2) อำนาจปฏิบัติการ ซึ่งขึ้นอยู่กับกฎหมายมหาชน คือ อำนาจในการใช้ หรือ บังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย (อำนาจบริหาร)
3) อำนาจปฏิบัติการต่างๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับกฎหมายแพ่ง คือ อำนาจในการพิจารณาวินิจฉัยอรรถคดี (อำนาจตุลาการ)
อีกทั้งยังได้ตอกย้ำลงในนี้ว่า "เมื่อใดอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารรวมอยู่ที่คนคนเดียวกันหรือองค์กรเจ้าหน้าที่เดียวกัน อิสรภาพย่อมไม่อาจมีได้ เพราะจะเกิดความหวาดกลัว เนื่องจากกษัตริย์ หรือสภาเดียวกันอาจบัญญัติกฎหมายแบบทรราชย์ … เช่นเดียวกันอิสรภาพจะไม่มีอยู่ ถ้าอำนาจตุลาการไม่แยกออกจากอำนาจนิติบัญญัติ และบริหาร หากรวมอยู่กับนิติบัญญัติ ชีวิตและอิสรภาพของคนในบังคับจะอยู่ภายใต้การควบคุมแบบพลการเพราะตุลาการอาจประพฤติด้วยวิธีรุนแรงและกดขี่ … ทุกสิ่งทุกอย่างจะถึงซึ่งอวสาน ถ้าหากคนหรือองค์กรเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นสูงหรือประชาชนจะใช้อำนาจทั้งสามเหล่านี้ คือ อำนาจบัญญัติกฎหมาย อำนาจบริหารนโยบายสาธารณะอำนาจพิจารณาคดีของบุคคล"
โดยพิจารณาจากข้อความที่ท่านมองเตสกิเออร์ แสดงให้เห็นข่าท่านไม่ต้องการให้อำนาจอยู่ที่บุคลคนเดียว เพราะเป็นธรรมดาที่บุคคลคนใดมีอำนาจอยู่ในมือก็มักจะใช้อำนาจเกินเลยอยู่เสมอ เพื่อมิให้มีการใช้อำนาจที่เกินขอบเขต จึงต้องทำให้อำนาจหนึ่งหยุดยั้งอำนาจหนึ่งเอาไว้ หรือที่เรามักได้ยินว่า "อำนาจย่อมหยุดยั่งได้ (Power Stop Power)" คือต้องการให้มีอิสระออกจากกัน เพื่อคุ้มครองและให้หลักประกันสิทธิเสรีภาพแก่ประชาชน ถึงจะเป็นเจตนาที่แท้จริงของมองเตสกิเออร์ ไม่ใช่เพียงว่าอำนาจอธิปไตยต้องแบ่งออกเป็น 3 อำนาจ
Source:
https://news.voicetv.co.th/thailand/519799.html