นักวิชาการวิเคราะห์ กฎหมายพรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญใหม่หวังสร้างโครงสร้างการเมืองปลอดการผูกขาด สร้างความเป็นประชาธิปไตยให้พรรคการเมือง กำหนดบทลงโทษหนัก การจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวทำได้ยากขึ้น เหล่านี้จะแก้ไขปัญหาประชาธิปไตยชะงักงันได้หรือไม่?
ระบบเลือกตั้งแบบใหม่
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้เข้าไปแก้ไขกติกาของการเลือกตั้ง จากระบบผสมเสียงข้างมาก (Mixed Member Majoritarian System – MMM) เป็นระบบจัดสรรปันส่วนผสม (Mixed Member Apportionment System MMA) ซึ่งเคยใช้ใน 4-5 ประเทศทั่วโลก เช่น แอลเบเนีย (1992) เกาหลีใต้ (1996-2000) เยอรมนี (1949) การเลือกตั้งแบบนี้ในระดับประเทศในเหล่านั้นได้เลิกใช้ไปแล้ว ปัจจุบันนี้มีเพียงแคว้นบาเดน วุดเดนเบิร์ก ซึ่งเป็นรัฐหนึ่งในเยอรมนีเท่านั้นที่ใช้ระบบนี้
ระบบ MMM ที่ใช้กันมาก่อนหน้านี้ให้มีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ แยกกันนับคะแนนไปเลย ใบหนึ่งให้ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งเลือก “คนที่รัก” อีกใบหนึ่งให้เลือก “พรรคที่ชอบ” วิธีการนี้แก้ไขปัญหาการยึดติดตัวบุคคล และแข่งขันภายในพรรคเดียวกัน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความเป็นเอกภาพของพรรคการเมือง
กรธ.มองว่าข้อเสียของระบบ MMM ก็มีอยู่ โดยในบัตรเลือกตั้งใบแรกนั้นใช้การนับคะแนนเสียงแบบเสียงข้างมากอย่างง่าย ทำให้ในแต่ละเขตเลือกตั้งมีคนชนะเลือกตั้งเพียงคนเดียว คะแนนที่ลงคนอื่นๆ กลายเป็น “คะแนนเสียงตกน้ำ” เพราะเมื่อแพ้แล้วจะจมหายไปกับสายน้ำ
Allen Hicken จากมหาวิทยาลัยมิชิแกนได้จำลองผลการเลือกตั้งในปี พ.ศ.2554 แบบระบบ MMA จะพบว่า
พรรคเพื่อไทย
จะได้คะแนนเสียงลดลง 40 ตำแหน่ง
จาก 265 ตำแหน่ง (53%) เหลือเพียง 225 ตำแหน่ง (45%)
พรรคประชาธิปัตย์
จะได้คะแนนเสียงเพิ่มขึ้น 1 ตำแหน่ง
จาก 159 ตำแหน่ง (31.8 %) เพิ่มเป็น 160 ตำแหน่ง (32%)
ตำแหน่งของพรรคเพื่อไทยจะสูญเสียให้กับพรรคระดับกลาง
กำหนดโทษพรรคการเมือง
ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้กำหนดโทษพรรคการเมือง เพื่อแก้ไขปัญหาพรรคการเมืองถูกครอบงำโดยคนภายนอกเพื่อผลประโยชน์
1.เมื่อยินยอมหรือให้บุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่สมาชิกมีอิทธิพลต่อพรรคการเมือง
2.เมื่อล้มล้างการปกครอง หรือเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย หรือดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญหรือตามกฎหมาย
3.เมื่อมีการซื้อเสียงซื้อตำแหน่ง
รัฐบาลที่จะเกิดขึ้นมาโดยระบบเลือกตั้งแบบนี้ รูปแบบของรัฐบาลน่าจะเป็นรัฐบาลผสม เพราะระบบการนับคะแนนแบบนี้ทำให้พรรคใหญ่ๆ ได้คะแนนเสียงกลางๆ โดยไม่มีพรรคใดได้รับคะแนนเสียงถล่มทลาย ปัญหาความอ่อนแอของพรรคการเมือง การขาดเสถียรภาพของรัฐบาล โอกาสในการได้นายกฯคนนอก หรือทำให้ประชาชนเกิดความเบื่อหน่ายการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม กฎหมายพรรคการเมืองและการเลือกตั้งก็ยังคงมีความไม่แน่นอน และยังมีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง และ กกต.อีก ที่ยังไม่ออกมา
Source:
https://www.matichon.co.th/news/650393