ไม่พบผลการค้นหา
จำคุกยิ่งลักษณ์ 5 ปี คดีจำนำข้าว
Sep 27, 2017 13:21

สั่งจำคุก 5 ปี 'ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร' ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่-ผิดกฎหมายป.ป.ช. โดยไม่รอลงอาญาปิดฉากคดีจำนำข้าว

ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อ่านคำพิพากษาลับหลังสั่งจำคุก 5 ปี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จำเลยในคดีจำนำข้าว ซึ่งถูกอัยการสูงสุดเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และความผิดกฎหมายป.ป.ช. โดยไม่รอลงอาญา

สำหรับวันนี้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จำเลยในคดีไม่ได้เดินทางมาฟังคำพิพากษา มีเพียงนายนรวิชญ์ หล้าแหล่ง ทนายความผู้ได้รับมอบอำนาจเข้ารับฟัง ขณะที่บริเวณโดยรอบมีมวลชนและสื่อมวลชนเดินทางมายังศาลฎีกาท่ามกลางการดูแลรักษาความปลอดภัยจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ

ทั้งนี้คดีดังกล่าวศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองรับฟ้องตั้งแต่วันที่ 19 มี.ค. 58 เริ่มไต่สวนพยานและอดีตนายกฯขึ้นลงศาลทั้งหมด 26 ครั้งในฐานะจำเลย ซึ่งคดีนี้มีโทษสูงสุดจำคุก 10 ปี 

อ้างอิงบทความจาก The Standard
จำนำข้าว คือความผิดพลาดทางการเมือง

รศ. สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนากฎหมาย ในฐานะผู้ติดตามคดีความของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มาโดยตลอด ที่มองต่างมุมว่า โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์เป็นนโยบายทางการเมืองที่นำทรัพยากรลงไปสู่ชาวนา ส่วนตัวมองว่าไม่ว่ารัฐบาลไหนทำถือว่าเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ทั้งหมด เนื่องจากที่ผ่านมาชาวนาถูกเอารัดเอาเปรียบมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นโครงการนี้น่าจะช่วยให้ชาวนาสามารถลืมตาอ้าปากได้

แต่ปัญหาที่ทำให้โครงการรับจำนำข้าวถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก จนนำมาสู่คดีความที่จะชี้ชะตาอนาคตทางการเมืองของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คือความผิดพลาดทางการเมืองที่จุดชนวนให้เกิดความไม่พอใจของชนชั้นกลางที่กำลังกุมอำนาจในสังคม

“ความผิดพลาดของนโยบายนี้ผมมองว่าเป็นความผิดพลาดทางการเมืองมากกว่า รวมถึงกระแสทางการเมืองตอนนั้นดันเป็นกระแสที่อิงกับชนชั้นกลาง แถมยังเป็นชนชั้นกลางที่เห็นแก่ตัวเชิงนโยบาย

รศ.ดร. สมพร อิศวิลานนท์ นักวิชาการอาวุโส สถาบันคลังสมองของชาติ ผู้มีประสบการณ์ทำวิจัยเรื่องข้าวมาอย่างยาวนานกว่า 30 ปี ถือเป็นอีกเสียงของนักวิชาการที่ออกมาส่งเสียงคัดค้านโครงการดังกล่าวในช่วงเวลานั้น มองไม่ต่างจาก นพ. วรงค์ว่า จุดที่ผิดพลาดที่สุดของโครงการคือการรับจำนำข้าวทุกเมล็ด และให้ราคาสูงกว่าราคาตลาดถึง 50%

“เมื่อรัฐบาลประกาศว่าจะรับจำนำข้าวทุกเมล็ด แถมยังให้ราคาสูงกว่าราคาตลาดทั่วๆ ไป นั่นเท่ากับว่ารัฐกำลังรวบอำนาจของตลาดมาไว้ในมือของตัวเองทั้งหมด ทั้งตลาดข้าวเปลือก และตลาดข้าวสารส่งออก และการให้ราคาสูงในลักษณะนี้มันยากมากที่จะระบายข้าวส่งออกไปแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้ ส่งผลให้มีข้าวตกค้างอยู่ในสต๊อกเป็นจำนวนมาก

“ถ้าจะระบายออกก็ต้องระบายในราคาที่ใกล้เคียงกับราคาตลาดต่างประเทศ คือประมาณ 400 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันในขณะนั้น ในขณะที่เราซื้อมาประมาณ 700 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เพราะฉะนั้นถ้าจะไม่ให้ขาดทุนเลยคงเป็นไปไม่ได้สำหรับโครงการนี้ เพียงแต่จะขาดทุนมากน้อยแค่ไหน”


อ่านบทความทั้งหมดต่อได้ที่
Source:

https://thestandard.co/yingluck-rice-pledgingscheme/
https://news.voicetv.co.th/thailand/527419.html

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
181Article
60261Video
0Blog