ไม่พบผลการค้นหา
แรงงานต่างชาติในไทยคุณสมบัติสูงเกินตำแหน่ง
ไทย-กัมพูชาหนุนโครงการรถบัสเชื่อมต่อถึงเวียดนาม
สินค้าไทยบุกตลาดCLMV
Wake Up News - 'ประยุทธ์ - ฮุนเซน' หารือทวิภาคีเพิ่มพูนการค้า - Short Clip
อินโดนีเซียพัฒนาเส้นทางบินเล็งสู้ไทยดึงดูดชาวจีน
CLIP Biz Feed : 'HijUp' เปิดโลกแฟชั่นหญิงมุสลิม
ไทยยืดเวลาวีซ่าเพื่อการรักษาพยาบาล
CLIP Biz Feed : ห้างใกล้ตาย แต่อี-คอมเมิร์ซเปิดร้านขายปลีก
Biz Feed - พาผู้สูงอายุเที่ยวไทยอาจได้ลดภาษี - Short Clip
Biz Insight : ท่องเที่ยวไทยจะช่วยเศรษฐกิจได้ถึงเมื่อไหร่? 
Biz Feed - 2018 อาจไม่ใช่ปีของเฟซบุ๊ก - Short Clip
Biz Feed- ถนนเมืองไทยอาจอันตรายที่สุดในโลก - Short Clip
 Biz Insight :  ชนชั้นกลางจีนกินบะหมี่กึ่งสำเร็จน้อยลง
CLIP BIZ FEED : เต่าออมสินเหยื่อการท่องเที่ยวที่ไร้การจัดการ
Biz Feed - คนไทยยังนิยมไปเที่ยวญี่ปุ่น-เกาหลีใต้มากที่สุด - Short Clip
World Trend - CLMVT: ปลายทางรับเงินลงทุนแทนที่จีน - Short Clip
Biz Feed - นักท่องเที่ยวจีน4แสนคนเตรียมมาไทยตรุษจีนนี้ - Short Clip
Biz Feed - การเงินดิจิทัลไทยยังขาดความน่าไว้ใจ - SHORT CLIP
CLIP Biz Feed : เทรนด์รัฐแบนสตรีทฟู๊ดระบาดในอาเซียน
Biz Feed - นักท่องเที่ยวอินเดียหลั่งไหลเข้าไทย 1.4 ล้านคน - Short Clip
Biz Feed - แรงงานอาเซียนเสริม ศก.ไทย แต่หนีไม่พ้นถูกละเมิด - Short Clip
Dec 20, 2017 04:36

แรงงานจาก 4 ประเทศในอาเซียน ได้แก่ เมียนมา ลาว กัมพูชา และเวียดนาม เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจไทย แต่คนเหล่านี้ยังเสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิ เพราะสังคมไทยยังหวาดระแวงแรงงานต่างชาติอยู่มาก

เมื่อวันที่ 18 ธันวาคมที่ผ่านมา ถือเป็นวันผู้อพยพย้ายถิ่นสากลของสหประชาชาติ ซึ่งไม่ได้หมายถึงแค่ผู้ลี้ภัยสงครามความขัดแย้ง แต่รวมถึงผู้อพยพไปยังต่างแดนด้วยเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาการศึกษา หรือการเคลื่อนย้าย ซึ่งโครงการ UN Women เผยรายงานสำรวจสถานการณ์แรงงานข้ามชาติทั่วโลก ช่วงปี 2000-2015 (พ.ศ.2543-2558) พบว่าแรงงานข้ามชาติทั่วโลกมีจำนวนกว่า 244 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นราว 41 เปอร์เซ็นต์ตลอด 15 ปีที่ผ่านมา และแรงงานข้ามชาติเหล่านี้ส่งเงินกลับไปยังประเทศภูมิลำเนา คิดเป็นเงินรวมกว่า 432,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 14.2 ล้านล้านบาทต่อปี โดยจำนวนเกือบครึ่งของแรงงานข้ามชาติทั้งหมดเป็นผู้หญิง

ด้วยเหตุนี้ โครงการยูเอ็นวีแมนจึงได้พาช่างภาพสารคดีชาวไทย 2 คนลงพื้นที่เพื่อสำรวจสถานการณ์ด้านแรงงานข้ามชาติ ซึ่งพรวิช วิศิษฏ์โอฬาร หนึ่งในช่างภาพซึ่งลงพื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่ ระยอง และนครนายก เพื่อสำรวจแรงงานในธุรกิจโรงแรมและภาคเกษตร พบว่าแรงงานข้ามชาติเป็นกลไกขับเคลื่อนธุรกิจต่างๆ ให้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง แต่สภาพความเป็นอยู่ของแรงงานเหล่านี้แตกต่างจากภาพสวยงามที่เห็นภายนอก เช่น แม่บ้านชาวพม่ามีหน้าที่ปูเตียงคนเดียวทั้งโรงแรม ส่วนผู้หญิงไทยจากต่างถิ่นจำนวนหนึ่งก็เข้าไปทำงานในอุตสาหกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดใหญ่ เช่น การทำร่มกระดาษในเชียงใหม่ ต้องอยู่กับสารเคมีที่มีกลิ่นแรงเกือบตลอดทั้งวัน และผู้หญิงในเหมืองแร่ดีบุกต้องร่อนแร่ในลำธาร จึงยืนในท่าก้มตัวเกือบจะตลอดเวลา กระทบต่อสุขภาพ แต่ไม่ได้รับการคุ้มครองอาการเจ็บป่วยที่เป็นผลจากการทำงาน 

ขณะที่ ปิยะวิทย์ ทองสะอาด ช่างภาพสารคดีอีกคนหนึ่งซึ่งลงพื้นที่สำรวจตลาดวัวในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และพื้นที่การเกษตรอีกหลายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระบุว่า แรงงานผู้หญิงพม่าจะคอยต้อนฝูงวัวขึ้นรถบรรทุก โดยผู้หญิงเพียงคนเดียวต้องดูแลวัวหลายสิบตัว เสี่ยงต่อการถูกวัวเตะหรือดีด ซึ่งอาจได้รับบาดเจ็บหรือถึงขั้นเสียชีวิตได้ และช่วงที่ผ่านมาก็มีการระบาดของโรคแอนแทร็กซ์ในฝูงวัว ทำให้แรงงานกลุ่มนี้เสี่ยงต่อการล้มป่วย แต่ก็ไม่มีการคุ้มครองจากนายจ้างอย่างที่ควรจะเป็น ขณะที่แรงงานภาคเกษตรต้องเผชิญกับสารเคมีที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น ยาฆ่าวัชพืช ทั้งยังต้องเจอกับสภาพอากาศที่รุนแรง ทั้งความร้อนและฝุ่นควันที่เกิดจากการปรับพื้นที่ในแปลงเกษตร 

การดูแลแรงงานข้ามชาติเหล่านี้จำเป็นต้องร่วมมือกันตั้งแต่นายจ้าง หน่วยงานรัฐ และผู้จัดหาแรงงาน โดยต้องดูตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ซึ่งปัจจุบันแรงงานจำนวนมากถูกกดค่าแรงเพราะนายจ้างไม่สามารถรับมือกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวได้ หากต้องขึ้นค่าแรงขั้นต่ำย่อมส่งผลกระทบต่อธุรกิจ แต่เมื่อจำเป็นต้องควบคุมต้นทุนการผลิต แรงงานข้ามชาติเป็นคนกลุ่มแรกที่จะถูกกดขี่หรือเอารัดเอาเปรียบ 

ขณะที่องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ระบุว่า ปัจจุบันมีแรงงานข้ามชาติย้ายถิ่นฐานเข้ามาทำงานในไทยประมาณ 4-5 ล้านคน โดยประเทศต้นทางหลักๆ ได้แก่ เมียนมา เวียดนาม ลาว และกัมพูชา แต่ประมาณ 1 ถึง 2.5 ล้านคนในจำนวนทั้งหมดเ เกือบ 5 ล้านคนนี้ป็นผู้ย้ายถิ่นที่ไม่มีเอกสารอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้เป็นกลุ่มเปราะบาง เสี่ยงต่อการถูกเละเมิดสิทธิจากนายจ้างและเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งมีพฤติกรรมทุจริต รวมถึงถูกชักจูงเข้าสู่ขบวนการค้ามนุษย์และกลุ่มอาชญากรรมอื่นๆ ได้ง่าย 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog