ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - เกาหลีใต้ใช้นโยบายปิดคอมกันคนทำงานเกินเวลา - Short Clip
Biz Feed - คนไทยยังนิยมไปเที่ยวญี่ปุ่น-เกาหลีใต้มากที่สุด - Short Clip
ตม.เล็งใช้เครื่องตรวจพาสปอร์ตชาวสิงคโปร์-ฮ่องกง
Biz Feed - คมนาคมกำชับรถไฟฟ้าแจ้งใน 5 นาที หากขัดข้อง - Short Clip
Biz Feed - 'Dinner in the Sky' ร้านอาหาร 5 ดาวลอยฟ้าครั้งแรกในไทย - Short Clip
Biz Feed - Biz Insight:เครื่องสำอางเกาหลีมุ่งตีตลาดมุสลิมในอาเซียน- Short Clip
CLIP Biz Feed : 5 ธุรกิจสำหรับนักลงทุนยุคมิลเลนเนียล
Biz Feed - BNK48 : จัดคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งแรกพิสูจน์ความดัง - Short Clip
Clip Biz Feed : ปฏิรูปมาเลเซียแอร์ไลน์ฟื้นฟูภาพลักษณ์ได้? 
Biz Insight : ตลาดกล้องมิลเลอร์เลสโตต่อเนื่อง
Biz Feed - ไทยรั้งท้าย-ถูกลดอันดับ 'ดัชนีนวัตกรรมโลก 2018' - Short Clip
Biz Feed - สัมผัสประสบการณ์ดินเนอร์ลอยฟ้าครั้งแรกในไทย - Short Clip
Biz Feed - เงินดิจิทัลถูกแฮกครั้งใหญ่ที่สุดในโลกในญี่ปุ่น - Short Clip
CLIP Biz Feed : 'เฟอร์รารี'มุ่งรักษาจุดยืนซูเปอร์คาร์สุดหรู
CLIP Biz Feed : แอปฯจัดส่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บูมในสหรัฐฯ
CLIP Biz Feed : หัวหินเปิดศูนย์ต่อวีซาสุดล้ำให้ต่างชาติ
Biz Feed - มี.ค. ไทยได้ดุลการค้าสูงสุดในรอบ 4 เดือน - FULL EP.
Biz Feed - CEO's Insight : 'KOH' กางเกงแบคแพกเกอร์ไทยที่ไปไกลระดับโลก - Short Clip
Biz Feed - ซัมซุงเสียส่วนแบ่งเพิ่มให้สมาร์ทโฟนจีนปีหน้า - Short Clip
Biz Insight : ท่องเที่ยวไทยจะช่วยเศรษฐกิจได้ถึงเมื่อไหร่? 
Biz Feed - เกาหลีใต้ตัดไฟคอมฯบังคับพนักงานกลับบ้าน -Short Clip
Mar 26, 2018 05:00

หน่วยงานราชการของกรุงโซล ในเกาหลีใต้ กำลังมีมาตรการใหม่บังคับให้พนักงานและเจ้าหน้าที่ทุกคนเลิกงานและกลับบ้านตรงเวลา ด้วยการตัดไฟสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกวันศุกร์เวลา 20.00 น. เพื่อยุติวัฒนธรรมทำงานล่วงเวลา

มาตรการบังคับตัดไฟสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในหน่วยงานราชการของกรุงโซลจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 30 มีนาคมนี้ ซึ่งจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในสำนักงานไม่สามารถใช้งานได้หลังจากเวลา 20.00 น.ของทุกวันศุกร์ และในวันศุกร์ของสัปดาห์ที่สองและสัปดาห์ที่สี่ของเดือนเมษายน ไฟคอมพิวเตอร์จะถูกตัดตั้งแต่เวลา 19:30 น. และตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป ทุกวันศุกร์ไฟคอมพิวเตอร์ในสำนักงานจะถูกตัดตั้งแต่เวลา 19.00 น.

มาตรการบังคับตัดไฟนี้จะมีผลใช้กับเจ้าหน้าที่ทุกคนในหน่วยงานราชการของกรุงโซล แต่หากเจ้าหน้าที่คนไหนมีความจำเป็นที่จะต้องอยู่ทำงานต่อหลังจากเลยเวลาที่กำหนดแล้ว ก็สามารถที่จะยื่นเรื่องเพื่อขออนุญาตอยู่ทำงานต่อได้เป็นกรณีพิเศษ ซึ่งขณะนี้มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่กว่า 67% ไม่เห็นด้วยกับมาตรการนี้ และได้ยื่นเรื่องเพื่อขอทำงานเลยเวลาที่กำหนดไว้

เกาหลีใต้กำลังมีปัญหาเกี่ยวกับการทำงานล่วงเวลาที่พนักงานจำนวนมากมักทำงานต่อไปเรื่อยๆแม้จะเลยเวลาเลิกงานไปแล้ว โดยชาวเกาหลีใต้จัดว่าเป็นประชาชนที่ทำงานติดต่อกันยาวนานที่สุดในแต่ละวัน เช่น เจ้าหน้าที่รัฐทำงานมากถึง 2,739 ชั่วโมงต่อปี ซึ่งมากกว่าประชาชนในประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆถึง 1,000 ชั่วโมง 

เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สภาของเกาหลีใต้ก็เพิ่งผ่านกฎหมายลดระยะเวลาชั่วโมงการทำงานสูงสุดของพนักงาน จากที่สามารถทำงานได้สูงสุด 68 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ให้เหลือแค่ 52 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งก็เป็นผลมาจากการที่เกาหลีใต้ถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีประสิทธิภาพในการทำงานแย่ที่สุดในโลก เมื่อปี 2014 ซึ่งสาเหตุก็มาจากการที่พนักงานส่วนใหญ่ต้องทำงานล่วงเวลากันเป็นประจำ หลายๆครั้งมีงานเร่งงานด่วนเข้ามา หัวหน้าก็มักจะกำหนดเดดไลน์ว่าจะต้องทำให้เสร็จภายในวันนั้น ส่วนพนักงานก็มักจะไม่ค่อยขัด เพราะอย่างที่บอกไปว่าในเกาหลีใต้การทำงานล่วงเวลาถือว่าเป็นเรื่องปกติ พนักงานส่วนใหญ่ก็ทำงานล่วงเวลาไปโดยที่ไม่ได้คิดว่าเป็นเรื่องผิดอะไร เพราะถือว่าเป็นวัฒนธรรมขององค์กร แต่จริงๆ แล้ว การทำงานล่วงเวลาเป็นประจำแบบนี้ มันไม่ดีต่อทั้งสุขภาพร่างกายและจิตใจของพนักงาน และก็ไม่ดีต่อบริษัทด้วย เพราะการหักโหมทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน มันทำให้การทำงานไม่มีประสิทธิภาพ โอกาสเกิดความผิดพลาดก็มากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นสิ่งที่รัฐบาลเกาหลีใต้กำลังพยายามเอาจริง สร้างค่านิยมใหม่ๆ ไม่ให้พนักงานทำงานล่วงเวลาโดยไม่จำเป็น

เรื่องที่การทำงานต่อวันถ้ายิ่งสั้นลงเท่าไร จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ก็เป็นเรื่องจริงสำหรับประเทศสวิตเซอร์แลนด์และเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีเวลาการทำงานสั้นที่สุดในโลก คือประชากรของสองประเทศนี้ ประมาณ 86% เขาทำงานกันแค่ 4 วันต่อสัปดาห์ และสัปดาห์หนึ่งก็ทำงานกันไม่เกิน 29 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ คือทำงานกันแค่วันละ 6-7 ชั่วโมงเท่านั้น แต่ก็ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีประสิทธิภาพการทำงานสูงที่สุดในโลก 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog