ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - ปารีส นำร่องยุโรปเปิดบริการเช่า ‘สกูตเตอร์ไฟฟ้า’ - Short Clip
World Trend - Boeing เปิดตัวโดรนขนของขนาดยักษ์ - Short Clip
​World Trend - ​จีนสร้างเรือตัดน้ำแข็งพลังนิวเคลียร์ลำแรก - Short Clip
World Trend - Tag Heuer เปิดตัวสมาร์ตวอตช์สำหรับตีกอล์ฟ - Short Clip
World Trend - ซัมซุงเปิดตัวจอ 4K สำหรับโรงหนังโดยเฉพาะ - Short Clip
World Trend - EvoWheel เปลี่ยนจักรยานธรรมดาเป็น E-Bike - Short Clip
World Trend - ‘หุ่นยนต์หมอน’ ช่วยกล่อมให้นอนหลับสบาย - Short Clip
World Trend - ออปโป้จดสิทธิบัตรดีไซน์ 'จอซ้อนจอ' - Short Clip
World Trend - ‘แดร็กควีน’ สอนเด็กอนุบาลอังกฤษให้เปิดกว้างทางเพศ - Short Clip
World Trend - วิจัยชี้ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแรกไม่ต้องทำคีโม - Short Clip
World Trend - Nissan Leaf E+ แล้วในญี่ปุ่น - Short Clip
World Trend - เป็น Iron Man ได้ด้วย ‘เจ็ตสูท’ ราคา 14 ลบ. - Short Clip
World Trend - เยอรมนีทดสอบติดแอร์แบ็กนอกรถ - Short Clip
World Trend - เปิดตัวนวัตกรรมการบินสุดล้ำที่งาน ‘ฟาร์นเบรอ แอร์โชว์’- Short Clip
World Trend - แผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์ละลายเร็วเป็นประวัติการณ์ - Short Clip
World Trend - โดรนพ่นไฟช่วยภารกิจดับไฟป่า - Short Clip
World Trend - Nintendo Switch รุ่นใหม่ยังไม่มาในเร็วๆ นี้ - Short Clip
World Trend - โซนี่เปิดตัวกล้องจิ๋ว RX0 II พร้อมจอพับได้ - Short Clip
World Trend - VSCO ทำรายได้มหาศาล แม้ไม่พึ่งโฆษณา - Short Clip
World Trend - โฟล์กสวาเกนเตรียมสร้างจุดชาร์จไฟรถเคลื่อนที่ได้ - Short Clip
World Trend - นักวิทยาศาสตร์ไขความลับ ‘แมงมุมบินได้’ - Short Clip
Jul 26, 2018 06:27

นักวิทยาศาสตร์ในกรุงเบอร์ลิน ได้ไขปริศนาว่าทำไมแมงมุมถึงบินได้ หลังจากศึกษาพฤติกรรมแมงมุมกว่า 10 ตัว

หลังจากที่มีการบันทึกกระบวนการบินของแมงมุม หรือ ‘ballooning’ เป็นครั้งแรกในศตวรรษที่ 17 แต่ไม่เคยมีการเผยรายละเอียดเพิ่มเติมว่า แมงมุมปล่อยเส้นใยออกมาอย่างไร เพื่อให้บินไปตามลมได้

ทีมนักวิทยาศาสตร์​จากมหาวิทยาลัยเทคนิคแห่งกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ที่นำโดยมูนซุง โช (Moonsung Cho) จึงพยายามไขปริศนานี้ด้วยการนำแมงมุมปู หรือ crab spider ขนาดโตเต็มวัย มีน้ำหนักระหว่าง 16-20 มิลลิกรัม​ จำนวน 14 ตัว มาทำการทดลองบนแท่นกลม ๆ ที่ตั้งไว้ในสวนสาธารณะ โดยแมงมุมบางส่วนจะได้รับลมธรรมชาติ ในขณะที่​อีกส่วนจะถูกทดลองในช่องลม

ผลการศึกษา​แสดงให้เห็นว่า แมงมุมจะยึดตัวเองไว้กับแท่นก่อน หลังจากนั้นก็จะยกขาขึ้นมาข้างหนึ่ง เพื่อวัดความเร็วลม แล้วแมงมุมก็จะเริ่มปั่นใยบาง ๆ ออกมายาวกว่า 13 ฟุต หรือประมาณ 4 เมตร ซึ่งแรงลมจะช่วยยกตัวของพวกมันขึ้นจนสามารถบินไปที่อื่นได้ โดยเมื่ออยู่กลางอากาศ แมงมุมจะตัดเส้นใยเพื่อที่จะกลับลงสู่พื้นดินอีกครั้ง หรือถ้าลมแรงมากกว่า 7.3 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือราว 11 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แมงมุมก็จะตัดใยออกเช่นกัน

มูนซุงให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า แมงมุมเด็กใช้เส้นใยไม่มากนักในการบิน ในขณะที่แมงมุมที่โตแล้วจะต้องปั่นใยประมาณ 50 - 60 ฟุต หรือประมาณ 15 - 18 เมตร ซึ่งแมงมุมผู้ใหญ่สามารถปั่นใยได้สามเมตรต่อวินาที

การวิจัยนี้ถือเป็นงานชิ้นแรกที่ทำให้เห็นว่าแมงมุมคำนวณสภาพลมมาแล้วเป็นอย่างดี ก่อนที่จะออกบินไปในอากาศ ซึ่งทีมวิจัยเชื่อว่าการศึกษาเทคนิคการปั่นใยของแมงมุมนี้จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับพายุทอร์นาโดและเฮอริเคนได้เช่นกัน  


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog