ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - อัตราเกิดใน 'ญี่ปุ่น' ต่ำเป็นประวัติการณ์ - Short Clip
World Trend - 'แอปเปิล' ลดราคาผลิตภัณฑ์หลังจีนปรับภาษี - Short Clip
World Trend - การท่องเที่ยวเชิงนิวเคลียร์คืนชีวิตให้ 'ฟุกุชิมะ' - Short Clip
World Trend - UN แนะ 25 นโยบายลดมลพิษอากาศในเอเชีย - Short Clip
World Trend - เมื่อเทคโนโลยีจีนทิ้งผู้สูงอายุไว้ข้างหลัง - Short Clip
World Trend - ญี่ปุ่นอนุมัติ 'อนุบาลฟรี' แก้อัตราเกิดต่ำ - Short Clip
World Trend - คาด 30 ปีข้างหน้า อากาศโลกจะเปลี่ยนแปลงรุนแรง - Short Clip
World Trend - ประชากรโลกขาดอาหารกว่า 821 ล้านคน - Short Clip
World Trend - บริษัทดัตช์เล็งผลิตพลังงานสะอาดให้ทั้งยุโรป - Short Clip
World Trend - จีนเตรียมส่งต่อปัญหาขยะพลาสติก 111 ล้านตันให้ชาวโลก - Short Clip
World Trend - Blackberry Key2 เปิดตัวสีแดงใหม่ - Short Clip
World Trend - 'จาการ์ตา' อาจเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในปี 2030 - Short Clip
The Toppick - โมเดลเด็กบูมในจีน เปิดโอกาสลูกหรือใช้แรงงานเด็ก - Short Clip
World Trend - หัวเว่ย ยอดขายพุ่ง 15 เปอร์เซ็นต์ในครึ่งปีแรก - Short Clip
World Trend - ​เซี่ยงไฮ้นำร่องแยกขยะ ก่อนทำทั่วประเทศ - Short Clip
World Trend - iPal หุ่นยนต์เพื่อนรักสำหรับเด็กในจีน - Short Clip
World Trend - UN เผย ไทยติดอันดับ 10 แหล่งท่องเที่ยวฮิต 2017 - Short Clip
World Trend - สงครามการค้ากระทบอุตสาหกรรมการบินโลก - Short Clip
World Trend - ญี่ปุ่นเผชิญวิกฤติอัตราเกิดน้อยเป็นประวัติการณ์ - Short Clip
World Trend - ทวิตเตอร์ทดสอบให้เลือกเรียงทวีตตามลำดับเวลา - Short Clip
World Trend - ชนชั้นกลางจีนไม่มีลูกคนที่ 2 เพราะค่าใช้จ่ายสูง - Short Clip
Feb 15, 2019 04:55

รัฐบาลจีนผิดหวัง ไม่อาจกระตุ้นจำนวนประชากรเกิดใหม่ หลังชนชั้นกลางของจีนไม่พร้อมมีลูกคนที่สอง เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูง

เมื่อ 3 ปีก่อน รัฐบาลจีนได้ผ่อนปรนมาตรการลูกคนเดียวที่มีมายาวนานถึง 4 ทศวรรษ เพื่อหวังกระตุ้นให้มีเด็กเกิดใหม่มากขึ้นในประเทศ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลต้องผิดหวังกับความเป็นจริง เนื่องจากตามข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติจีนเปิดเผยให้เห็นว่า ในปี 2018 มีตัวเลขเด็กเกิดใหม่เพียง 15.32 ล้านคน ลดลงจากเดิมในปี 2017 ประมาณ 2 ล้านคน

จากการสำรวจในปี 2017 มากกว่า 50 % ของครอบครัวจีน ไม่อยากมีลูกคนที่สอง และหนึ่งในสาเหตุหลักมาจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมาเป็นเงาตามตัว หนึ่งในคนกลุ่มนั้นคือ เฉินฮุ่ยหยวน ครูระดับมัธยมศึกษา เธอมีรายได้เพียง 5,000 หยวน หรือประมาณ 23,000 บาท ต่อเดือน ในขณะที่สามีเธอมีรายได้ 16,000 หยวน หรือประมาณ 74,000 บาท ต่อเดือน ซึ่งการเลี้ยงลูกวัย 2 ขวบ ของเธอ ใช้เงินประมาณ 1 ใน 3 ของร��ยได้ทั้งหมดของครอบครัว เมื่อเปรียบเทียบกับครอบครัวที่มีรายได้ใกล้เคียงกันในประเทศอื่น เช่น สหรัฐฯ จะพบว่าที่นั่นใช้เงินเลี้ยงลูก คิดเป็น 1 ใน 5 ของรายได้ทั้งหมดเท่านั้น

ความยากลำบากทางการเงินของเฉินเป็นหนึ่งในภาพสะท้อนครอบครัวชนชั้นกลางของจีนนับล้านครอบครัวที่กำลังเผชิญสถานการณ์เดียวกัน และเป็นเหตุผลสำคัญที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนไม่สามารถเพิ่มจำนวนประชากรเกิดใหม่ได้ นั่นทำให้เฉินกล่าวกับผู้สื่อข่าว CNN ว่าเธอไม่มีทางมีลูกคนที่สองอย่างแน่นอน เพราะค่าใช้จ่ายจะสูงเกินไป

การไม่สามารถเพิ่มจำนวนประชากรเกิดใหม่สร้างความปวดหัวและกังวลใจให้กับรัฐบาลจีนอย่างมาก เนื่องจากประเทศกำลังขาดทรัพยากรมนุษย์ในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ โดยในปัจจุบันประชาชนจีนกว่า 240 ล้านคน เป็นคนที่มีอายุเกิน 60 ปี นับเป็น 17 %ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งมีการคาดการณ์ไว้ด้วยว่า ตัวเลขผู้สูงอายุในจีนจะขึ้นไปอยู่ที่ 1 ใน 3 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศในปี 2050 หรือประมาณ 480 ล้านคน และภายในปี 2030 ตัวเลขของประชากรจีนจะลดลงซึ่งไป เติมเชื้อของความกลัวที่ว่า 'ชาวจีนจะแก่ก่อนจะรวย'

ผู้ปกครองและผู้เชี่ยวชาญต่างเห็นเป็นเสียงเดียวกันว่า ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงลูกในประเทศจีนกำลังเพิ่มสูงขึ้น เช่นเดียวกับค่าครองชีพที่กำลังสูงขึ้นไม่แพ้กัน แต่ความเชื่อมั่นในสินค้าท้องถิ่นกลับลดลง โดยในกรณีนี้ เฉิน กล่าวว่า เธอไม่เคยซื้อสินค้าแบรนด์ท้องถิ่นให้ลูกเธอใช้เลย เธอเลือกที่จะซื้อสินค้านำเข้าจากต่างประเทศเพื่อความมั่นใจมากกว่า แม้กระทั่งเนื้อสัตว์ เธอก็ยังซื้อเนื้อสัตว์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ เพราะหากจำกันได้ในปี 2008 การปนเปื้อนสารเมลามีนในนมผงคร่าชีวิตทารกในจีนไปอย่างน้อย 6 คน และยังทิ้งปัญหาสุขภาพอย่างนิ่วในไตและกระเพาะปัสสาวะอักเสบกับเด็กหลายแสนคน ซึ่งข่าวฉาวในครั้งนั้นยังคงตามหลอกหลอนพ่อแม่เด็กมากมายในจีนมาจนปัจจุบัน

หวังตัน รองผู้อำนวยกาสถาบันวิจัยการศึกษาจีนของมหาวิทยลัย หวาชิง ในฮ่องกง กล่าวว่าค่าเล่าเรียนและค่าสันทนาการเป็นภาระหนักสำหรับผู้ปกครองเช่นกันตั้งแต่อดีตจนถึงยุค 90 คนจีนส่วนมากเรียนหนังสือในโรงเรียนรัฐบาลเป็นหลัก ซึ่งมีค่าใช้จ่ายน้อยหรือฟรีในบางแห่ง อย่างไรก็ตาม ด้วยค่านิยมที่เปลี่ยนไปและเมื่อการศึกษากลายเป็น 'อุตสาหกรรมใหญ่' ในตอนนี้ ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านการเล่าเรียนสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว โดยเฉินกล่าวว่า เธอทุ่มเงินกว่า 5,000 หยวน หรือประมาณ 23,000 บาทต่อเดือน ซึ่งเท่ากับเงินเดือนของเธอทั้งเดือน ให้กับศูนย์ดูแลเด็กเล็กสองภาษา เพื่อให้ลูกของเธอได้รับการศึกษาที่พิเศษกว่าเด็กคนอื่น

ประเด็นด้านสุขภาพและค่ารักษาพยาบาลเป็นสิ่งที่พ่อแม่หลายคนกังวลเช่นกัน เนื่องจากเงินช่วยเหลือของรัฐบาลไม่เพียงพ่อต่อค่ารักษาพยาบาลของเด็กเล็ก จีนเป็นหนึ่งในประเทศที่อัตราส่วนระหว่างแพทย์และผู้ป่วยย่ำแย่ที่สุดในโลก จึงเป็นเหตุผลให้มีการติดสินบนแพทย์เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาลจากแพทย์ที่ดีที่สุด

แม้รัฐบาลพยายามให้ความช่วยเหลือประชาชนด้วยการจ่ายเงินอุดหนุนครอบครัวที่มีลูกคนที่สองด้วยมาตรการต่าง ๆ โดยเมืองหนึ่งในมณฑลหูเป่ยจัดบริการรับส่งเด็กฟรีแก่ผู้หญิงที่มีลูกคนที่สอง อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่ามาตรการช่วยเหลือเหล่านั้นยังไม่ตอบโจทย์อย่างแท้จริง

ปัจจุบันมีข่าวว่า รัฐบาลกำลังพิจารณาที่จะปัดมาตรการจำกัดการมีลูกให้ตกไปอย่างสิ้นเชิง เพื่อเพิ่มความพยายามในการกระตุ้นอัตราการเกิดของประชากร แต่หากเป็นเช่นนั้นจริง รัฐบาลจะยังต้องใช้มาตรการอีกหลายอย่างมาอุดหนุนประชาชนที่กำลังประสบปัญหาการเลี้ยงดูบุตร เนื่องจากปัจจัยทางการเงิน


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog