'อลงกรณ์ พลบุตร' ระบุ 'คดีการเมือง' มันถึงเวลาหรือยังที่เราจะต้องปล่อยนักโทษการเมืองเสียทีจะด้วยกลไกอะไรก็ตาม ยกเว้นคดีที่เกี่ยวกับเรื่องสถาบัน คดีที่กระทำผิดอาญา คดีที่อะไรก็ตามที่มันกระทำผิดชัดเจน ไม่ใช่เพราะแรงจูงใจหรือความเชื่อทางการเมือง นี่คือจุดเริ่มต้นที่ผมอยากให้เริ่มนับหนึ่งกันใหม่
'วัฒนา เมืองสุข' ระบุ ผมชอบสิ่งที่ท่านอลงกรณ์พูดคือคำว่า 'หลักการ' สังคมไทยเนี่ยมันเป็นสังคมที่ ไม่เคารพหลักการ เรามักจะหาทางเลี่ยงหลักการ แล้วก็ไปสร้างวาทกรรมมารองรับสิ่งที่เราเลี่ยงหลักการ
เช่น ทำไมคุณเลว เอ้าก็เข้าเมืองตาหลิ่ว ก็ต้องหลิ่วตาตาม อันนี้ มันคือพื้นฐานสังคมไทย เป็นแบบนี้นะฮะ เอ้าทำไมทำแบบนั้น ก็ลงเรือแป๊ะก็ต้องตามใจแป๊ะ เรามักจะได้ยินวาทกรรมแบบนี้ ซึ่งมันไม่ควร จะเกิด
สังคมไทยนี่เราหาวิธีเลี่ยงหลักการ โดยการอ้างคนดี ซึ่งจริงๆ ถ้าเราเคารพหลักการเช่นที่อังกฤษเขาเรียก principle assurance มันมั่นคง ตัวอย่างง่ายๆ ที่เราไม่เคารพหลักการ เรามีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมือง ซึ่งเป็นกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งเราเป็นภาคี ด้วยวิธีการที่ภาษาไทยเขาเรียกภาคยานุวัฒน์ ตั้งแต่ปี 40 มันมีข้อหนึ่งที่เขียนว่า การพิจารณาคดีอาญา ต้องทำต่อหน้าจำเลย เราก็มาเลี่ยงบาลีเสีย การพิจารณาคดีในเรื่องเกี่ยวกับคดีอาญา การไปยื่นเอกสารคำฟ้อง เขาเรียกงานเสมียน จำเลยต้องไปแสดงตัวนะ ไม่แสดงตัวยื่นไม่ได้ แต่การพิจารณาคดี ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ ไม่มาไม่เป็นไร ฉันพิจารณาของลับหลังเธอได้
อันนี้ คือหลักการที่มันถูกทำลาย เพราะว่าเราละเลยหลักการเพียงเพราะเราจะเอาเป้าประสงค์ใดเป้าประสงค์หนึ่ง สุดท้ายหลักการที่ดีมันถูกทำลายหมด
ชมคลิปเต็มรายการสุมหัวคิด : 'เข้าขั้นวิกฤต? ปัญหาสิทธิมนุษยชนไทย' ได้ที่ https://www.voicetv.co.th/watch/VOiu_DanT