เมื่อวันที่ 30 พ.ค.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทางอัยการสำนักงานคดีพิเศษได้รับการประสานงานจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในเรื่องการส่งสำนวนคดีสำคัญเป็นคดีพิเศษที่ 310/2565
กรณี กลุ่มผู้ต้องหาชาวพม่ากับพวก มีพฤติการณ์นำบุหรี่ต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านพิธีการศุลกากร สำหรับคดีนี้ผู้กล่าวหา คือกรมศุลกากรมี ร.ต.อ.หญิง ดุจเดือน อัตตโนรักษ์ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ได้กล่าวหา นายเนลินเตนชาวพม่ากับพวกรวม 11รายซึ่งเป็นคนพม่า9คนนิติบุคคล 1 รายเเละคนไทย1 คน ในฐานความผิด นำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร, นำหรือยอมให้ผู้อื่น นำของต้องกำกัดหรือของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร ขึ้นบรรทุกยานพาหนะ, ใช้เอกสารและเอกสารสิทธิปลอม, แจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน และแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ
มูลค่าความเสียหาย ราคารวมค่าภาษีอากรทุกประเภท 108,878,153 บาท (หนึ่งร้อยแปดล้านแปดแสนเจ็ดหมื่นแปดพันหนึ่งร้อยห้าสิบสามบาท)
โดยพฤติการสรุปว่า เมื่อช่วงปลายปี2564-ต้นเดือน2565 เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรตรวจสอบเรือเดินทางต่างประเทศชื่อ MV.CHITA สัญชาติ MONGOLIA ณ ท่าเทียบเรือ บริษัท สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ จำกัด (มหาชน) พบบุหรี่ต่างประเทศจำนวน 2,740ลัง ซึ่งไม่มีการสำแดงในบัญชีรายการสินค้าประจำเรือ มี
นายเนลินเตนชาวพม่า เป็นนายเรือ พร้อมลูกเรือ 8 คน จึงยึดสินค้าบุหรี่และจับกุมผู้ต้องหาในความผิดฐานนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งของที่ยังมีได้ผ่านพิธีการศุลกากร ฯลฯ โดยคดีนี้ กล่าวหาว่า ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุ ผู้ต้องหาที่ 1 นำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งของที่ยังไม่ได้ผ่านพิธีการศุลกากร และนำหรือยอมให้ผู้อื่นนำของต้องกำกัด หรือของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากรขึ้นบรรทุกยานพาหนะ, ผู้ต้องหาที่ 2-11สนับสนุนในการที่ผู้ต้องหาที่ 1 นำเข้ามาในราชอาณาจักรซี่งของที่ยังไม่ได้ผ่านพิธีการศุลกากร, ผู้ต้องหาที่ 11 ใช้เอกสารและเอกสารสิทธิปลอม แจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน และแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ
โดยคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษมีความเห็นควรสั่งฟ้อง ผู้ต้องหาที่ 1 ในความผิดฐานนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากรตามมาตรา 242แห่ง พรบ.ศุลกากร พ.ศ. 2560จำนวน 1 กรรม
ผู้ต้องหาที่ 10-11 ในความผิดฐานสนับสนุนในการที่ผู้ต้องหาที่ 1นำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร ตามมาตรา 245 ประกอบมาตรา 242 แห่ง พรบ.ศุลกากร พ.ศ. 2560จำนวน 1 กรรม
ผู้ต้องหาที่ 11 ในความผิดฐานใช้เอกสารและเอกสารสิทธิปลอมตามมาตรา 268 ประกอบมาตรา 264 ,265 แห่งประมวลกฎหมายอาญา จำนวน 2 กรรม, ความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน และแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ ตามมาตรา 137และมาตรา 267 แห่งประมวลกฎหมายอาญา จำนวน 1 กรรม
เเต่เห็นควรสั่งไม่ฟ้อง ผู้ต้องหาที่ 1 ในความผิดฐานนำหรือยอมให้ผู้อื่นนำของต้องกำกัด หรือของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร ขึ้นบรรทุกยานพาหนะตามมาตรา 247 แห่ง พรบ.ศุลกากร พ.ศ. 2560ผู้ต้องหาที่ 29 ในความผิดฐานสนับสนุนในการที่ผู้ต้องหาที่ 1 นำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่ง
ของที่ยังไม่ได้ผ่านพิธีการศุลกากรตามมาตรา 245ประกอบมาตรา 242 แห่ง พรบ.ศุลกากร พ.ศ.2560
โดยมีรายงานข่าวว่าเมื่อได้รับการประสานเตรียมส่งสำนวนคดีพร้อมความเห็นจากกรมสอบสวนคดีพิเศษเเล้วซึ่งคดีลักษณะนี้ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษเเละอัยการสำนักงานคดีพิเศษโดยนายวิรุฬห์ ฉันท์ธนนันท์ได้มีการประสานงานเนื่องจากอัยการสำนักงานคดีพิเศษเเละรักษาการณ์อธิบดีดีเอสไอให้ความสำคัญมานานกับเรื่องดังกล่าว เนื่องจากได้เล็งเห็นว่าคดีลักษณะนี้กระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจทางการคลังของประเทศ ทำให้ประเทศขาดรายได้ที่ควรจะได้จากต่างประเทศเเละเป็นความผิดมูลฐานการฟอกเงิน จึงได้เตรียมความพร้อมในการตั้งคณะทำงานรับพิจารณาสำนวนคดีที่จะเข้ามาในสัปดาห์นี้เพื่อมีคำสั่งทางคดีต่อไป
สำหรับนายวิรุฬห์ อธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ ซึ่งเป็นสำนักงานสำคัญของสำนักงานอัยการสูงสุดซึ่งรับพิจารณาสำนวนคดีของกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ และคดีป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ ปปง. ซึ่งจะต้องเป็นคดีที่มีมูลค่าทรัพย์ความเสียหายจำนวนมาก มีอิทธิพลเข้ามาในคดี รวมถึงคดีการเมืองและการชุมนุมของม็อบการเมืองต่างๆ อีกทั้งก่อนหน้านี้ยังเคยเป็นอธิบดีอัยการสำนักงานเศรษฐกิจเเละทรัพยากร ซึ่งเป็นสำนักงานสำคัญอีกเเห่งที่รับคดีเศรษฐกิจที่มีความยุ่งยากซับซ้อน ตัวนายวิรุฬห์จึงถือเป็นอัยการที่ผ่านงานสำคัญมาเป็นจำนวนมากจนมีความเชี่ยวชาญงานคดีเป็นลำดับต้นๆ โดยผลงานคดีสำคัญหลายคดีอาทิเช่น คดีสหกรณ์เมืองเลย,คดีฟ้องเหมืองทองอัครารุกที่ป่า,คดีรถหรูเลี่ยงภาษี คดีประสิทธิ์ เจียวก๊กร่วมกันฟอกเงิน,คดียูฟัน ร่วมกันฟอกเงิน ,คดีเมฆ รามา สามีดาราชื่อดัง ทำเว็บเพนันฯ ร่วมกันฟอกเงิน ,คดีดีเจแมน และใบเตยร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนเเชร์ Forex-3D
,คดีเว็บพนันบอสตาล,คดีหุ้นสตาร์คในส่วนอาญาเเละส่วนเเพ่ง ที่ร้องขอให้ทรัพย์ตกเป็นของเเผ่นดิน คดีหมูเถื่อน ,เเละคดีเเก็งคอลเซนเตอร์จีนเทาต่างๆ ซึ่งล้วนเป็นคดีสำคัญที่ประชาชนให้ความสนใจและสื่อมวลชนเสนอเป็นข่าวใหญ่มีผลกระทบต่อประชาชนเป็นคดีที่มีผู้เสียหายและผู้ต้องหาจำนวนมากซึ่งได้คัดเลือกผู้ตรวจสำนวนและคณะทำงานให้เหมาะสม และสั่งคดีไปในทิศทางที่อำนวยความยุติธรรมและ ให้ความเป็นธรรม ความถูกต้องบนพื้นฐานของพยานหลักฐานทำให้การพิจารณาตรวจสำนวนและสั่งคดีในหลายคดีเสร็จสิ้นไปได้ด้วยดี
นอกจากนี้นายวิรุฬห์ยังมีบทบาทในการยื่นคำร้องขอให้ทรัพย์ตกเป็นของเเผ่นดิน ซึ่งตั้งเเต่ปี2560 เป็นต้นมาอัยการคดีพิเศษได้ยื่นคำร้องขอศาลให้ตกเป็นของเเผ่นดินจำนวนกว่า 4หมื่นล้านบาทเศษ
เเต่เฉพาะในช่วงที่นายวิรุฬห์ดำรงตำแหน่งอธิบดีสำนักงานคดีพิเศษมาประมาณ1ปีกว่าๆก็ยึดทรัพย์ตกเข้าคลังเเผ่นดินได้ถึงกว่า 1หมื่นล้านบาท ถือว่ามีผลงานด้านนี้เป็นที่โดดเด่นเป็นที่ประจักษ์
นอกจากนี้ในสังคมอัยการ นายวิรุฬห์ยังได้รับเลือกเป็นประธานรุ่นหลักสูตรอธิบดีอัยการรุ่น 12 เเละในการเลือกตั้งคณะกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิที่ผ่านมาทั้งในการเลือกตั้งซ่อม เเละเลือกตั้งรอบจริง ก็ได้รับเลือกเข้ามาเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 2 ครั้ง เเสดงถึงความนิยมในหมู่อัยการรวมถึงมีบทบาทในเรื่องสุขภาพพลานามัยในการจัดส่งเสริมกีฬาเเข่งฟุตบอลมีส่วนจัดตั้งทีมฟุตบอลอัยการเเละการประสานหาวัคซีนป้องกันโควิด19 ในช่วงโรคระบาดเพื่อฉีดให้กับข้าราชการลูกจ้างของสำนักงานอัยการสูงสุดจนได้รับคำขอบคุณจากคนในสำนักงานอัยการสูงสุดจำนวนมาก
โดยในวันที่ 31 พ.ค.นายวิรุฬห์ จะเข้าเเสดงวิสัยทัศน์ในการสรรหา กรรมการ ป.ป.ช.แทน พลเอก บุณยวัจน์ เครือหงส์ กรรมการ ซึ่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากอายุครบ70 ปีบริบูรณ์ตามมาตรา 14 วรรคสอง จึงเป็นที่น่าจับตามองเนื่องจากที่ผ่านมา ภายหลังนายณัฐจักร ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา อดีตอธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญาที่พ้นตำเเหน่ง ปปช.เนื่องจากอายุครบ 70 ปีไปเมื่อปี2566 ก็ไม่มี ผู้สมัครปปช.จากสายอัยการได้เข้ามาดำรงตำเเหน่ง ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าในคณะกรรมการ ปปช.ควรจะมีอัยการเข้ามาเป็นกรรมการ ปปช.ด้วยเนื่องจากเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องการทำสำนวนคดี ซึ่งนายวิรุฬห์เองก็มีบทบาทโดดเด่นในเรื่องนี้
สำหรับรายชื่อผู้สมัครกรรมการ ปปช.ทั้ง 18 คน ประกอบด้วย 1.นายธัญญา เนติธรรมกุล อายุ 61ปี อดีตอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และอดีตอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล 2.ว่าที่ร.ต.อำนวย อุปถัมภ์ อายุ 60 ปี ทนายความอิสระ 3.นายวิฑูลรย์ ศิริวิโรจน์ อายุ 58 ปี ทนายความ 4.นายประภาศ คงเอียด อายุ 62 ปี อดีตอธิบดีกรมบัญชีกลาง และอดีตอธิบดีกรมธนารักษ์5.น.ส.รื่นวดี สุวรรณมงคล อายุ 59 ปี อดีตอธิบดีกรมคุมประพฤติ และอดีตอธิบดีกรมบังคับคดี 6.นายชำนาญ รวิวรรณพงษ์ อายุ 69 ปี อดีตประธานแผนกคดีล้มละลายในศาลฎีกา 7.นายอาคม รุ่งแจ้ง อายุ 65 ปี ประธานแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจในศาลฎีกา 8. นายวิรุฬห์ ฉันท์ธนนันท์ อายุ 64 ปี อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด 9.นายประจวบ ตันตินนท์ อายุ 65 ปี อดีตผู้บริหารบริษัทมหาชน และผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
10. นายยุทธพงษ์ อภิรัตนรังสี อายุ 65 ปี อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด 11. ผศ.ภูมิศิษฐ์ มหาเวสน์ศิริ อายุ 61 ปี อดีตผู้บริหารระดับสูง บริษัทมหาชน 12. นายปรีชา พงษ์พานิช อายุ 66 ปี อดีตอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลสูงภาค 1 สำนักงานอัยการสูงสุด 13. นายวันชัย คงเกษม อายุ 60 ปี ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี 14. นายดำรงศักดิ์ เครือแก้ว อายุ 53 ปี ทนายความ และหัวหน้าสำนักกฎหมายดำรงศักดิ์ เครือแก้ว 15.นายประหยัด เสนวิรัช อายุ 66 ปี ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายประหยัดทนายความ และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ประจำคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริต ประพฤติมิชอบและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา
16.นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา อายุ 59 ปีอดีต ผอ. โรงพยาบาลชุมชน สำนักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุข และอดีตกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ 17.นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อายุ 59 ปีเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และ18.นายสาธิต อุไรเวโรจนากร อายุ 59 ปี ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และอดีตกรรมการกองทุนพัฒนาพรรคการเมือง