พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม แถลงภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ผ่านระบบวีดิโอคอนเฟอเร้นซ์ ว่า ที่ประชุมมีมติให้ประกาศใช้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหาราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 เพื่อยกระดับการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยจะประกาศใช้วันที่ 26 มี.ค. นี้ เมื่อประกาศแล้วจะจัดตั้งคณะกรรมการที่รับผิดชอบต่อไป
พล.อ.ประยุทธ์ ระบุว่า ขณะเดียวกัน ที่ประชุม ครม.ออกมาตราการหลายอย่าง เกี่ยวกับการเยียวยาช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบโควิด-19 เพื่อให้ประชาชน มีเงินใช้จ่าย โดยขอให้ประหยัด ใช้เงินที่มีให้พอเพียง ให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย โดยมาตราการต่างๆ จะทยอยมาตามลำดับ เพราะไม่ทราบว่า การแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 จะยาวนานเท่าไร ซึ่งวันนี้จากการที่กระทรวงสาธารณสุขชี้แจง มีผู้เสียชีวิตอีก 3 ราย โดยเป็นผู้ป่วยติดเชื้อที่สูงอายุ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้แถลงสาเหตุการเสียชีวิตแล้ว และเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ที่จะต้องมีงบประมาณรองรับ จะต้องมีการเงินกู้ เพราะงบประมาณปี 2563 ค่อนข้างที่จะจำกัด งบกลางมีการใช้จ่ายไปแล้วเหลือน้อยมาก จำเป็นต้องหาเงินมาเข้าระบบให้มากขึ้น จึงจะต้องมีการออก พ.ร.ก.กู้เงิน เพื่อเตรียมรองรับมาตราการระยะที่ 3 และ 4 ในการดูแลประชาชน และผู้ประกอบการให้เกิดสภาพคล่องทางการเงิน การคลัง และภาษี และวันนี้ที่ประชุม ครม.ได้เห็นชอบ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มาบังคับใช้ มีผลวันที่ 26 มีนาคม ถึง 26 เมษายน ระยะเวลา 1 เดือน ทั่วประเทศ
จ่อตั้ง ศอฉ.โควิด วอนประชาชนอย่ากลับภูมิลำเนาไม่อยากให้เดือดร้อน
และเพื่อให้การทำงานคล่องตัว จะมีการยกระดับ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ให้เป็น ศูนย์บริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศูนย์ ศอฉ.โควิด โดยมีการตั้งคณะกรรมการที่รับผิดชอบ โดยมีปลัดกระทรวงแต่ละกระทรวง เป็นหัวหน้าส่วนงานรับผิดชอบ ซึ่งประกาศเดิมจะมีกานปรับปรุงแก้ไข โดยอำนาจต่างๆ จะมาอยู่ที่นายกรัฐมนตรี ในการบูรณาการ ซึ่งจะมีผลเริ่มวันที่ 26 มี.ค.นี้ ที่จะมีการประชุม ในเวลา 09.30น. ของทุกวัน เพื่อให้แต่ละหน่วยงาน รายงานสถานการณ์ พร้อมทั้งออกมาตราการ ก่อนที่จะมีการประกาศคำสั่งออกไป
ซึ่งหลังตั้งศูนย์ ศอฉ.โควิด สามารถที่จะออกประกาศคำสั่งได้ตลอดเวลา โดยเบื้องต้นจะเป็นการประกาศขอความร่วมมือ เพื่อลดการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 และอาจจะมีบังคับเป็นบางเรื่อง จากนั้นจะมีมาตราการที่เข้มข้นในการเปิด-ปิด พื้นที่ต่างๆ ซึ่งอยู่ที่ความร่วมมือของประชาชน ยืนยัน ไม่อยากให้ใครเดือดร้อน แต่สถานการณ์ปัจจุบันมีความจำเป็นในการดูแลสุขภาพ รัฐบาลมุ่งมั่นเต็มที่ในการดูแลสุขภาพประชาชน ให้ได้มากที่สุด จึงขอความร่วมมืออย่าเพิ่งเดินทางกลับภูมิเนา ถึงกลับจะต้องเจอมาตราการต่างๆ ในการคัดกรองตรวจสอบระหว่างทาง เหมือนที่ทำมาโดยตลอด และจะให้เวลาประชาชนในการปรับตัว
ทั้งนี้สาระสำคัญของพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหาราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน มีรายละเอียดดังนี้